Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16725
Title: ผลของการใช้ความเร็วจังหวะของเสียงดนตรีประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อการรู้และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิบกพร่อง และพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง
Other Titles: Effects of using different tempo in the background music in computer-assisted instruction on English vocabulary knowledge and retention of second grade students with attention deficit hyperactivity disorder
Authors: ศรีธัญญา ตันสกุล
Advisors: จินตวีร์ มั่นสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintavee.M@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- คำศัพท์ -- การศึกษาและการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ความจำ
ดนตรีในการศึกษา
เด็กสมาธิสั้น
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบการรู้คำศัพท์ และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเนื้อหาที่มีความเร็วจังหวะของเสียงดนตรีประกอบแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่มีอาการสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 26 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จัดนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองโดยใช้การจับคู่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 13 คน โดยกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเนื้อหา ที่มีจังหวะของเสียงดนตรีประกอบช้า กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเนื้อหาที่มีจังหวะของเสียงดนตรีประกอบเร็ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนจากการทำแบบวัดการรู้คำศัพท์ก่อนเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง เมื่อเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีความเร็วจังหวะของเสียงดนตรีประกอบแตกต่างกัน มีการรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความคงทนในการจำคำศัพท์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: To compare the English vocabulary knowledge and English vocabulary retention of grade second students with attention deficit hyperactivity disorder in tutorial computer-assisted instruction lessons using different tempo of background music. The samples were 26 grade second students with attention deficit hyperactivity disorder from Kasetsart University laboratory school center for educational research and development by purposive selection. This research separates the samples into two treatment groups which contained 13 students in each group. The two groups were not statistically significant. The first group learning from the tutorial computer-assisted instruction lessons using slow tempo of background music and the second group learning from the tutorial computer-assisted instruction lessons using fast tempo of background music. The data were analyzed by the descriptive statistics and t-test at the 0.05 significant levels. The results of this study indicated that there were no significant differences at the 0.05 significant levels on the vocabulary knowledge and vocabulary retention in English vocabulary between attention deficit hyperactivity disorder students learning from the computer-assisted instruction lessons using slow and fast tempo of background music.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16725
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.618
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.618
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sritanya_ta.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.