Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16734
Title: แนวทางการออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับจุดเปลี่ยนระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลชน บริเวณสถานีเตาปูน เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The development guidelines for the mass transit interchange at Tao Poon station, Bang Sue, Bangkok
Authors: สุเชาว์ ทุมมากรณ์
Advisors: พนิต ภู่จินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pujinda@gmail.com
Subjects: การพัฒนาชุมชนเมือง
การขนส่งมวลชน
การพัฒนาเชิงการขนส่ง
บางซื่อ (กรุงเทพฯ)
สถานีเตาปูน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยองค์การขนส่งรถไฟฟ้ามวลชนร่วมกับภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางกับโครงข่ายรถไฟใต้ดินที่มีอยู่ในปัจจุบัน (สายเฉลิมรัชมงคล) ที่ปัจจุบันสิ้นสุดปลายทางที่สถานีบางซื่อไปยังสถานีปลายทางที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมีการลงนามสัญญาการก่อสร้างและดำเนินการเมื่อปลายปี 2551 โดยลักษณะของรูปแบบสถานีเป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมด โดยมีสถานีเตาปูนเป็นสถานีหลักที่รถไฟฟ้าทั้งสองสายมาเชื่อมกัน โดยมีการคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้ประมาณ 177,000 คนต่อวัน สถานีรถไฟฟ้าเตาปูนตั้งอยู่บริเวณสามแยกเตาปูน เขตบางซื่อ พื้นที่โดยรอบส่วนมากเป็นที่พักอาศัยแบบบ้านเดี่ยวและอาคารพาณิชย์สูง 3-4 ชั้น ตามแนวถนนสายหลักมีแหล่งงานประเภทอุตสาหกรรมไม้ในรูปแบบโรงงานและโกดังขนาดใหญ่ โดยในพื้นที่มีโครงข่ายคมนาคมระบบรางเป็นปัจจัยหลักที่ผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ อาทิ ที่พักอาศัย กิจกรรมการค้าและแหล่งงาน เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนพื้นที่ ให้กลายเป็นศูนย์กลางรองที่มีความต้องการใช้ที่ดินในประเภทการค้า พาณิชยกรรม ศูนย์กลางธุรกิจและแหล่งงาน ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุปัน จึงทำให้เกิดการศึกษาลักษณะของโครงการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใช้ประโยน์ที่ดิน และพื้นที่สาธารณะรวมถึงระบบของโครงข่ายการคมนาคม ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางใหม่ โดยมีรูปแบบและวิธีการศึกษาดังนี้ ขั้นตอนที่หนึ่ง ศึกษาลักษณะและสภาพทั่วไปของพื้นที่ศึกษา ทั้งวิวัฒนาการทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ขั้นตอนที่สอง ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นและวิเคราะห์ผลกระทบ ขั้นตอนที่สาม นำผลที่ได้จากการศึกษานำมาคาดการณ์ผลกระทบที่จะ เกิดขึ้น เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เพื่อการวางแผนการออกแบบพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ขั้นตอนที่สี่ วางแผนเพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ศึกษาในอนาคต ผลจากการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนารูปแบบการขนส่งสาธารณะระบบราง ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นในพื้นที่โดยรอบนั้นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ พื้นที่โดยรอบสถานีตามรูปแบบของทฤษฎี Transit oriented development ที่มีการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาคารพักอาศัย รวมถึงกิจกรรมและรูปแบบของการค้าการสัญจรในพื้นที่มากที่สุด ดังนั้นในการวิจัยได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่เดิม กิจกรรม และระบบการขนส่งมวลชนระบบรางโดยใช้หลักการออกแบบตามทฤษฎี Transit oriented development ดังนี้ 1) วางผังแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกันระหว่างระบบรางสาธารณะกับพื้นที่โดยรอบ 2) วางผังแนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะและกิจกรรมทั้งระดับพื้นดิน ระดับชั้นสองหรือระดับที่สูงขึ้นไป 3) วางผังแนวทางการออกแบบโครงข่ายการสัญจร เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการขนส่งสาธารณะระบบราง ในการวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนวทางในการปฏิบัติเพื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนา ตลอดจนข้อเสนอแนะสำหรับพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกันต่อไป
Other Abstract: Tao Poon Station will be an important northern Sub-Center of Bangkok Metropolitan Area in the future. This station has been planned to be the intersection of BTS Purple Line (Bang Sue-Bang Yai) and MRT Blue Line (Bang Sue-Hua Lam Pong).There will be around 177,000 passengers a day coming to and from this station. Therefore, this study is aimed to analyze and synthesize the development direction of the station and, finally, provide development guidelines for the station and its surroundings. Being a sub-center in the northern part of BMA, new activities, such as commercial, business, retail and supporting activities will be added to this area. The current land-use and buildings, like detached houses, commercial row houses, and storages have to be re-developed. Since Tao Poon area has been the center of wood furniture manufacturing for a long time, the redevelopment project will put this issue into the account. The study started with surveying and analyzing the study area. Then, literature review was processed and the planning framework was formulated. In the next step, planning vision and program were suggested. Finally, development guidelines and design were purposed. “Transit-oriented development - TOD” was selected as a concept for designing the study area. The station will be the focal point of the sub-center in the future. Passengers come to change their transportation mode, such as van, bus, motorcycle and walking. However, the concept of TOD has to be adapted to fit with the Bangkok’s climate and context. Passengers should be able to move around in the buildings or under cover way to avoid the hot and humid weather. Distance between activities and nodes have to be reduced to facilitate the movement. Also, vertical circulation will play a more important role in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16734
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.889
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.889
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchoaw_to.pdf13.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.