Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16784
Title: | การกำหนดให้ความผิดอาญาร้ายแรง ตามอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน |
Other Titles: | Providing offense of serious crime in United Nations Conventions Against Transnational Organized Crime 2000 as a predicate offense in Money Laundering Control Act BE. 2542 |
Authors: | กมลศักดิ์ หมื่นภักดี |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Viraphong.B@Chula.ac.th |
Subjects: | การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การกระทำความผิดขององค์กรอาชญากรรมมักเป็นการกระทำความผิดที่เป็นความผิด อาญาร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมากมาย เช่นการก่อการร้าย การกรรโชก ทรัพย์ การเรียกค่าคุ้มครอง การจี้เครื่องบิน การเรียกค่าไถ่ การปล้น การบังคับขู่เข็ญ มือปืน รับจ้าง เป็นต้น ซึ่งความผิดเหล่านี้องค์กรที่กระทำความผิด จะนำเงินที่ได้จากการกระทำความผิด ไปเปลี่ยนแปลงเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น และการกระทำขององค์กรอาชญากรรมดังกล่าวเกิดขึ้น อย่างมากในประเทศไทย และยากต่อการปราบปราบเนื่องจากองค์กรดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผู้มี อิทธิพลอีกด้วย ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งใน ลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 มีการกำหนดให้ความผิดอาญาร้ายแรง เป็นความผิดตามอนุสัญญา ดังกล่าว และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของนานาอารยะประเทศมุ่งเน้นที่ระบุ ความผิดให้ครอบคลุมความผิดต่าง ๆ เพื่อเป็นไปตามอนุสัญญานี้ ด้วยเหตุนี้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย จึงควรที่จะ เปิดช่องให้สามารถบังคับใช้มีความครอบคลุมความผิด ไม่ควรเจาะจงให้บังคับใช้กฎหมายฟอก เงินได้กับกิจการขององค์กรอาชญากรรมที่เป็นความผิดเพียง 11 ความผิดมูลฐาน เท่านั้น ซึ่ง ถือว่าเป็นความคับแคบ และเป็นการปิดช่องในการดำเนินการกับองค์การอาชญากรรม โดยการ เพิ่มเติมความผิดอาญาร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ของประเทศไทย กำหนดความผิดมูลฐานไว้อย่างกว้างขวางอย่างนานาอารยประเทศ เพื่อให้ การดำเนินการกับองค์กรอาชญากรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
Other Abstract: | Commitment of criminal organization, for instance, terrorism, mugger, kidnap, highjack, rob, blackmail and hired gun etc, is a serious crime and influence in economic system. All above felonious, which is extensively emerge in Thailand, almost transfer the illegal money to be other assets. Moreover, it’s hard to reduce or suppress because they relate with influential person. Accompany with United Nations Conventions against Transnational Organized Crime 2000 has define abovementioned serious crime to be convention’s felony. As well as Money Laundering Control Law, from many countries, emphasize to define these serious crimes in to a matter of laws. There for, Thailand’s Money Laundering Control Law should regulate felony inclusively. Not only eleven basis crime, But also determined serious crime, which in many matter of laws from various nations. In order to close the door for organized crime who try to avoid it and make more efficiency suppression |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16784 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.86 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.86 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamolsak_Mu.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.