Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16809
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ณัฐณิชา วัฒนพานิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | ญี่ปุ่น | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-11T13:12:36Z | - |
dc.date.available | 2012-02-11T13:12:36Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16809 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับและติดตามวัฒนธรรมป๊อปจากประเทศญี่ปุ่นผ่านสื่อมวลชน และลักษณะของแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมป๊อป 6 ประเภทคือ หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูน ดนตรี ละคร นิยาย และเกมคอมพิวเตอร์ ของวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เริ่มรู้จักวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นจากภาพยนตร์แอนนิเมชั่นทางสื่อโทรทัศน์ โดยเพื่อนมีอิทธิพลต่อเนื้อหาและรูปแบบของวัฒนธรรมป๊อปที่วัยรุ่นติดตามมากที่สุด สื่อหลักที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้ในการติดตามวัฒนธรรมป๊อปจากประเทศญี่ปุ่นคือสื่ออินเทอร์เน็ต โดยการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในปี 2546 ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสในการบริโภคเนื้อหาของวัฒนธรรมป๊อปด้วยค่าใช้จ่ายที่จำกัด สำหรับแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 40 คน เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นจากแรงจูงใจสองทางคือ วัฒนธรรมป๊อปจากญี่ปุ่น และประสบการณ์ส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งก็คือแรงจูงใจเชิงเครื่องมือ (Instrumentality) จากกลุ่มตัวอย่าง 40 คนมีกลุ่มตัวอย่าง 4 คน ที่มีโอกาสเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ก่อนจากประกบการณ์ส่วนบุคคล หลังจากกลุ่มตัวอย่างเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นมีตัวแปร 4 ตัวซึ่งส่งผลให้แรงจูงใจเชิงเครื่องมือของกลุ่มตัวอย่างพัฒนาไปสู่แรงจูงใจเชิงบูรณาการ (integrativeness) และก่อให้เกิดความรู้สึกรักและสนใจในประเทศญี่ปุ่น ตัวแปรทั้ง 4 ตัวประกอบไปด้วย เพื่อน พ่อแม่ โรงเรียน และความถนัดของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากเกิดแรงจูงใจเชิงบูรณาการขึ้นกลุ่มตัวอย่างแสดงออก 2 ทางคือ การเข้าสังคม และความสนใจด้านอาชีพ กรณีตัวอย่างจำนวน 39 คนมีการแสดงออกทางสังคมในขณะที่ 23 คนมีการแสดงออกทั้งด้านสังคมและความสนใจด้านอาชีพ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน มีกลุ่มตัวอย่างเพียงคนเดียวที่ไม่เกิดแรงจูงใจเชิงบูรณาการขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study the consumption behavior of Japanese pop culture and the relationship between exposure to six Japanese popular culture, which are comic book, animation, pop music, drama, novel, and computer games and motivation to study Japanese language of 18 to 25 years old Thai teenagers who live in Bangkok and suburbs. In conducting this research, I employ qualitative methodology, i.e., document research and in-depth interview 40 samples of the teenager. The results show that an animation on television is the first type of Japanese popular culture that most of teenagers encountered, and their peers play role in influencing them in having the interest in Japanese popular culture. The main media that the teenagers use for access to the Japanese popular culture is an internet, and after 2003, the new internet technology in Thailand, broadband internet, helps them have opportunities to consume Japanese popular culture in limited budget. All of them, 40 samples, starting to learn Japanese language, which is cause by Japanese pop culture, to overcome obstacles to understanding Japanese pop culture, and their own experiences. These can be called as instrumentality. The results also show that most of them starting to learn Japanese language under the influence of Japanese music, especially, Johnny’s Junior and four of them tend to study Japanese language from the beginning without being influenced by popular culture. Then, after learning Japanese Language, there are 4 variables, which are peers, parents, school, and dexterousness made their instrumentality develop to integrativeness and have the feeling of loving Japan. Their integrativeness can be shown in two ways, which are their social behavior and career. Thirty nine samples show in their social behavior, and 23 of them show both in their social behaviro and career. In 40 samples, only one of them does not have intergrativeness | en |
dc.format.extent | 4360788 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.675 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การแพร่กระจายวัฒนธรรม | en |
dc.subject | การสื่อสารกับวัฒนธรรม | en |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en |
dc.subject | วัฒนธรรมญี่ปุ่น | en |
dc.subject | วัยรุ่น -- ไทย | en |
dc.subject | ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่น | en |
dc.title | การเปิดรับวัฒนธรรมป๊อปญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยจากสื่อมวลชนและแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น | en |
dc.title.alternative | Teeneagers' exposure to Japanese popular culture in mass media and the motivation to study Japanese language | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ubonrat.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.675 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natnicha_va.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.