Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ปิลันธน์โอวาท-
dc.contributor.authorธนิดา ปัทมพรพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-11T16:28:33Z-
dc.date.available2012-02-11T16:28:33Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16823-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดัดแปลงเนื้อหา รวมไปถึงการเปรียบเทียบระหว่างมิลินทปัญหาฉบับหอสมุดแห่งชาติ และฉบับการ์ตูนแอนิเมชันซึ่งผลิตโดยบริษัทแอพพริฌิเอด เอนเตอร์เทนเมนท์ และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสหวิธี ได้แก่ การวิจัยเอกสาร(Documentary research) ซึ่งจะศึกษาในลักษณะการวิเคราะห์วิจัยเนื้อหา(Content/Textual Analysis) ของมิลินทปัญหา และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจบางส่วน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การ์ตูนแอนิเมชันเรื่องมิลินทปัญหามีการเรียงลำดับเนื้อหาสาระตามตัวเล่มฉบับหอสมุดแห่งชาติแล้วเพิ่มเหตุการณ์แทรกระหว่าง การปุจฉา-วิสัชนาของตัวละคร ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์หลัก โดยเหตุการณ์ที่เพิ่มเติมลงไปในการ์ตูนส่วนใหญ่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาการปุจฉา-วิสัชนา นอกจากนี้มีการเพิ่มตัวละคร ฉาก และ เหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัยเดียวกับพระเจ้ามิลินท์ ซึ่งเหล่านี้ใช้ความสัมพันธ์เชิงเวลา และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มาประกอบกันสร้างเป็นเหตุการณ์รองซึ่งเพิ่มเติมเข้ามาในเนื้อเรื่องฉบับการ์ตูน กลุ่มผู้รับสารในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มบุคคลทั่วไปผู้รับการ์ตูนมิลินทปัญหา มีความเข้าใจเนื้อเรื่องของการ์ตูน แต่กลุ่มตัวอย่างบางส่วนยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง บุคคลที่สามารถเข้าใจได้ เป็นผู้ที่เคยอ่านหนังสือมิลินทปัญหามาก่อน หรือมีความรู้เรื่องธรรมะมาก่อน กลุ่มที่สองจากการสัมภาษณ์กลุ่ม Focus group interview ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดสามารถจดจำเนื้อเรื่องการ์ตูน และตัวละครต่าง ๆ ได้ และสามารถนำข้อคิดหรือแนวปฏิบัติตนของตัวละครในเรื่องไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม แต่ในด้านความเข้าใจกลับพบว่าไม่ได้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สำหรับด้านเทคนิคแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม มีความชอบและประทับใจด้านเทคนิค การออกแบบแอนิเมชันทำได้สวยงาม เหมาะสมลงตัว แต่บทเรื่องมิลินทปัญหา พบว่า ผู้เขียนบทยึดตัวบทต้นฉบับเอาไว้ ทำให้ยากแก่การเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างผู้รับสารที่ไม่เคยศึกษาเรื่องมิลินทปัญหา หรือมีความรู้เรื่องธรรมะมาก่อนen
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to investigate the detail or content as adapted from the National Library version of Milinda-Panha into the animated version which had been broadcasted on channel 7 and produced by the Appreciate Entertainment Co.,Ltd. As for methodology of this research, the researcher used qualitative method multiple methods consisting of documentary research, content/textual analysis of Milinda-Panha and the focus group interview The research result indicated that the animated version of Milinda-Panha followed the sequence of substance based on the National Library edition and inserted minor along with the rational question-answer of the characters regarded as the main event. Most of added events in the cartoon were not related with the substance of the rational question-answer. Moreover, the cartoon added the characters, settings, and events that occurred in the same era of the King Milinda. The narration used the temporal relations and history information supporting each other as subordinate events which had modified the animate cartoon edition. Regarding the audience of this research, the first group was the people who watched Milinda-Panha And understood the story. Anyway, there were some of them who still did not understand it deeply.The people who were able to understand it were those had read Milinda-Panha. The second group was those who were in the group interview which comprised Mathayomsuksa 3 students. It was found that all of them could remember the story and the characters. They could bring ideas or practice of the characters to apply with their daily lives. However, the research revealed that they did not understand the story deeply, for the animation techniques, both two sample groups have were impressed by the techniques of beautiful and proper animation designing. Regarding the screenplay, the dramatist still adhered to the original screenplay which made it hard for the receivers sample groups who had never studied the story or had prior dharma knowledge to understanden
dc.format.extent2504792 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1476-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการ์ตูนโทรทัศน์en
dc.subjectรายการโทรทัศน์en
dc.subjectการเล่าเรื่องen
dc.subjectมิลินทปัญหาen
dc.subjectการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์en
dc.titleวาทวิเคราะห์เรื่องมิลินทปัญหาen
dc.title.alternativeRhetorical analysis of Milinda-Panhaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOrawan.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1476-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanida_pa.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.