Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16898
Title: กระบวนการสร้างความหมายและความเป็นจริงทางสังคมในตรรกะการบริโภคในเพลงไทยลูกทุ่งยอดนิยม
Other Titles: The signification and social construction of reality logics of consumption in Thai country songs
Authors: พิมพ์ชญา ฟักเปี่ยม
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: เพลงลูกทุ่ง
เพลงพื้นเมืองไทย
เพลงไทย
วจนะวิเคราะห์
ผู้บริโภค
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมายและความหมายในตรรกะการบริโภค ของชนชั้นล่าง นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างความหมายและความจริงทางสังคมใน ตรรกะการบริโภค โดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดตรรกะการบริโภค แนวคิดสัญวิทยา แนวคิด การสร้างความเป็นจริงทางสังคม โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสารเพลงลูกทุ่งจำนวน 48 เพลง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตและการสนทนากลุ่มผู้ฟังเพลง ผลการวิจัยพบว่า ตรรกะมูลค่าใช้สอยเป็นตรรกะที่พบมากที่สุดเป็นอับดับแรก พบ ความหมายในเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุด ส่วนตรรกะมูลค่าการแลกเปลี่ยนเป็นตรรกะที่ พบรองลงมา พบความหมายเรื่องการทำงานแลกเปลี่ยนเป็นเงินมากที่สุด ตรรกะมูลค่าเชิงสัญญะ เป็นตรรกะที่พบรองลงมาเป็นอันดับที่ 3 พบความหมายในเรื่องการแต่งกาย และการรับประทาน อาหารมากที่สุด ตรรกะที่พบน้อยที่สุดคือตรรกะมูลค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ พบ ความหมายในเรื่องการใช้สัญลักษณ์แทนความรวยและความจน คือ สัญลักษณ์รถยนต์กับรถ มอเตอร์ไซค์มากที่สุด นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่ามีการผสมผสานตรรกะการบริโภคอีกด้วย ส่วนเรื่อง ความหมายในตรรกะการบริโภคของชนชั้นล่างระดับบน และชนชนั้ ล่างระดับล่างนั้นผู้วิจัยพบว่า ชนชั้นล่างทั้ง 2 ระดับ มีตรรกะมูลค่าใช้สอยมากที่สุด แต่ชนชั้นล่างระดับบนพบตรรกะมูลค่า เชิงสัญญะมากกว่าชนชั้นล่าง ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการสร้างความหมาย และความเป็นจริงทางสังคม มี 3 ส่วน โดย องค์ประกอบแรกคือผู้ผลิต โดยใช้พันธมิตรทางธุรกิจหรือการตลาดแบบพึ่งพาในการผลิตเพลง ศิลปิน และมิวสิควิดีโอเพลงโดยการแทรกโฆษณาสินค้าลงไปในเนื้อหาเพื่อประกอบสร้าง และ ความหมายและความเป็นจริง และผู้ผลิตใช้ทัศนคติเพื่อสะท้อนบุคลิกของศิลปินให้ตรงกับ ผู้บริโภค ส่วนที่สองก็คือส่วนของผู้บริโภค โดยสะท้อนความหมายและความเป็นจริงในเรื่องวิถี ชีวิต ส่วนที่3 องค์กรของรัฐควบคุมการประกอบสร้างความหมายและความจริงของผู้ผลิต
Other Abstract: This research aims to study the meaning of logics of consumption in Thai country songs and to analyze the signification process and construction of reality on logics of consumption. The analytical frameworks are based on narrative, logics of consumption, semiotics and the social construction of reality. The research employs qualitative methods with textual analysis of 48 Thai country songs, in-depth interviews and focus groups. The findings show that the logic of use value is the most often found value in Thai country songs, followed by logic of exchange value, logic of sign value and logic of symbolic exchange value respectively. According to the meanings of logics of consumption in Thai songs, logic of use value is usually involved with the use of mobile phones, while the logic of exchange value is always concerned with earning a living. Furthermore, logic of sign value usually refers to costumes and eating habits, and logic of symbolic exchange value is often represented through symbols of wealth such as a car or motorcycle. It was also discovered that there was a clear integration among these four logics of consumption and that the logic of use value is most often found among the upper lower class and lower lower class. However, the upper lower class does relate more to the logic of sign value more than the lower lower class. In addition, the results show that the signification process and the construction of reality are comprised of three factors. First is the music creator, who forms business partnerships for dependent marketing in the meaning construction to create a sense of similarities in lifestyles and personalities between artists and audiences. Second is the audience. Their personalities and lifestyles will be reflected in the music videos. Third is the government sector which controls the construction of meaning and reality for the creators.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16898
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.13
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.13
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimchaya_fu.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.