Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16914
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Other Titles: The development of a causal model of virtue and morality of high school students : a multi-group analysis
Authors: มาลัยพร นนท์แก้ว
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.b@chula.ac.th
Subjects: ความดี
จริยธรรม
นักเรียน
นักเรียนมัธยมศึกษา
ลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองและกลุ่มโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 769 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 3 ตัว คือ ความมีคุณธรรมจริยธรรม ปัจจัยภายในตัวบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 10 ตัว เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 6 ตอน มีความเที่ยงในการวัดตัวแปรแต่ละตัวตั้งแต่ 0.67 ถึง 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และวิเคราะห์กลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย 1. โมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. โมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า chi[superscript 2] = 5.173 df = 9, p = .819, GFI = .999, AGFI = .992 และ RMR = .0085 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความมีคุณธรรมจริยธรรมได้ร้อยละ 49.7 3. โมเดลเชิงสาเหตุความมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายไม่มีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนนอกเมือง โดยมีค่า chi[superscript 2] = 7.842, df = 16, p = .953, GFI = .999, NFI = .997, RFI = .984 และ RMR = .034 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรภายนอกแฝง และค่าพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรภายในแฝง
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the causal model of virtue and morality of high school students 2) to examine the goodness of fitting of the model to the empirical data and 3) to test the model invariance among 2 different locations of school. The research samples consisted of 769 students. Variables consisted of one endogenous latent variable: virtue and morality and two exogenous latent variables: personal factor and environment factor. These latent variables were measured by 10 observed variables. Data were collected by questionnaires having reliability for each variable ranging from 0.67 – 0.76 and analysed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, LISREL analysis and multiple group structural equation model analysis. The major findings were as follows: 1. Environment factor has direct effect to virtue and morality of high school students. 2. The causal model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 5.173, df = 9, p = .819, GFI = .999, AGFI = .992 and RMR = .0085. The model accounted for 49.7% of variance in virtue and morality. 3. The causal model indicated invariance of model form between two different locations of school. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 7.842, df = 16, p = .953, GFI = .999, NFI = .997, RFI = .984 and RMR = .034. However, the parameters of the regression coefficient of observed variable on exogenous latent variable and endogenous latent variable were variance across two school groups
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16914
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.440
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.440
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Malaiporn_no.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.