Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16926
Title: การบริหารจัดการน้ำที่มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยัง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
Other Titles: Integrated water management for natural resources and environment : case study The Royal-Intiated Lamphayang River Basin (upper part) Development Project Khao Wong district, Kalasin province
Authors: วัชรินทร์ เจตนานนท์
Advisors: ทวีวงศ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sthavivo@chula.ac.th
Subjects: การจัดการน้ำ -- ไทย -- กาฬสินธุ์
การจัดการสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- กาฬสินธุ์
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- กาฬสินธุ์
ลุ่มน้ำลำพะยัง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงลึกด้านการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางทฤษฏีใหม่โดยใช้หลักการทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำและประชากร (LWPM Concept) เพื่อประยุกต์ใช้ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยัง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำในพื้นที่ทั้งอดีต ปัจจุบันและการคาดการณ์การใช้น้ำในอนาคต และการเสนอแนะแนวทางที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ทรัพยากรดิน เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบรูณ์ต่ำ จะต้องมีการปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (2) ทรัพยากรน้ำ คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำพะยังเป็นน้ำมีคุณภาพดี มีความเหมาะสมในการเกษตรกรรม ปริมาณการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำสูงสุด 4,000,000 ลบ.ม. ระหว่างปี พ.ศ.2545-2551 มีปริมาณการเก็บกักน้ำเฉลี่ย 3,030,831 ลบ.ม./ปี ปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อการเพาะปลูกตามฤดูกาล 4,600 ไร่ ปริมาณความต้องการใช้น้ำเท่ากับ 3,889,844 ลบ.ม./ฤดูกาล และพื้นที่เพาะปลูกนอกฤดูกาลจำนวน 376 ไร่ ปริมาณการใช้น้ำเท่ากับ 637,642 ลบ.ม./ฤดูกาล ผลการวิเคราะห์พบว่าปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตรกรรมโดยเฉพาะในช่วงแล้ง (3) ประชากร จากการคาดการณ์สำหรับอนาคตจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะไม่มีผลกระทบในอนาคตอันใกล้ จากการศึกษาพบว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาหลักของพื้นที่ สามารถปรับปรุงได้โดยนำหลักการทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มาประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูกทุกแปลง สามารถแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่ศึกษาได้ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาใกล้เคียงกันได้
Other Abstract: This study is in-depth analysis of water management in the way of new theory by using the principle of land resources, water resources and population management concept (LWPM Concept) for applying in the area of the Royal-initiated Lamphayang River Basin (upper part) Development Project, Khao Wong District, Kalasin Province. The objectives were to study water management including water utilization in the past, present and expected water use in the future and recommend appropriate guidance for the area. The results show that: (1) Land resources; soil is sandy loam, has low fertility and needs to improve suitably for agricultural land (2) Water resources; water quality in the Lamphayang reservoir is still suitable for agricultural practices which the highest volume of water storage is 4,000,000 cubic meters. During the year 2002-2008, the average volume of water storage is 3,030,831 cubic meters. The water requirement in the area for planting season of 4,600 rais was 3,889,844 cubic meters. The dry season of 376 rais, crop water requirement was 637,642 cubic meters. The study result showed that volume of water does not enough for agricultural practices, especially during the dry season. (3) Population; the estimates of future population will be increased but are not affected the uses of agricultural land in the near future. The study has found that major problem in the area was inadequate water for agricultural practices. The new theory according to His Majesty the King was applied to every agricultural plot. The results showed that the new theory can solved most of the problems within the study area. This measure can be recommended to apply to similar situation in the other agriculture lands
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16926
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.321
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.321
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharin_Ch.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.