Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17066
Title: ลักษณะโครงสร้างครอบครัวและบทบาทพ่อแม่ (ศึกษาครอบครัวของคนไข้ที่มารับรักษาแบบไม่เสียเงิน ในแผนกวิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)
Other Titles: Family structure and parents' role (a study of non-paying patients in the department of pediatrics Chulalongkorn Hospital)
Authors: เตือนใจ อินทุโสมา (ชิวภักดี)
Advisors: ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครอบครัว
บิดามารดา
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาลักษณะโครงสร้างครอบครัว และบทบาทของพ่อแม่ในครอบครัวเด็กป่วย ที่มารับการรักษาแบบไม่เสียเงิน ในแผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นการศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างครอบครัวผู้ป่วย และสถานะภาพของพ่อแม่ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งบทบาทของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูลูกการรักษาลูกก่อนมาโรงพยาบาล วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาครอบครัวเด็กป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อ และมารับการรักษาแบบไม่เสียเงิน อยู่ในตึกหลุยส์ทีเลียวโนเวนส์ ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม ถึง 3 พฤษภาคม 2517 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสนาม มีการสังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ครอบครัวผู้ป่วย การสัมภาษณ์ ๆ เฉพาะแม่ผู้ป่วย ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด 207 ครอบครัว นำมาวิเคราะห์ในทางสถิติ จากการศึกษาพบว่าครอบครัวผู้ป่วยที่ลูกมารับการรักษาแบบไม่เสียเงินเป็นครอบครัวที่มีรายได้น้อย พ่อแม่ได้รับการศึกษาต่ำ ส่วนใหญ่เรียนจบประถมปีที่ 4 แม่ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการศึกษาและอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้มีจำนวนมากกว่าพ่อ พ่อมีบทบาทและหน้าที่เป็นผู้นำและหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ส่วนแม่ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูก แม่ที่ต้องประกอบอาชีพ ญาติทางแม่จะเป็นผู้ดูแลลูกแทน ญาติทางแม่มีอิทธิพลสำคัญในการให้ความรู้แก่แม่ผู้ป่วยในเรื่องการเลี้ยงดูลูกผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เลี้ยงด้วยนมข้นหวาน และขาดการป้องกันโรคที่จำเป็นสำหรับเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และโปลิโอ ลักษณะการเลี้ยงดูลูกของแม่ผู้ป่วย และโครงสร้างทางครอบครัวมีแนวโน้มทำให้ลูกเจ็บป่วยได้การศึกษาครั้งนี้ ไม่มีความมุ่งหมายที่จะพิสูจน์สมมุติฐานใด ๆ เป็นการศึกษาที่ก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะครอบครัวในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างและลักษณะครอบครัวผู้ป่วยที่มารับการักษาแบบไม่เสียเงิน ซึ่งไม่มีใครศึกษามาก่อน นอกจากนั้นยังมีประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการศึกษาด้านสังคมวิทยาต่อไป
Other Abstract: This thesis aims at studying the family structure and the role of parents of the patients who received non-paid treatment at the department of pediatrics, Chulalongkorn hospital. This is an attempt to analyze the structure of family, the economic and social status of parents, their role in raising children and their care for the sick children before seeking help from the hospital. The sample for this study consisted of 207 families of the sick children who were admitted for free treatment of noncontagious diseases during the period of March 5, through May 3, 1974. The methods used in collecting data included clenical observation and individual interview of the mothers. The analysis of the data collected indicated that the families of the patients were in the low income category. The parents had low education, mostly at the elementary level (grade 4); the number of the illiterate mothers was larger than that of the fathers. The fathers took responsibility as family leaders and breadwinners; the mothers stayed at home to look after the children. For those mothers who had to work outside, the maternal relatives were placed in charge of such duty. These kinfolks also had considerable impact on the mothers about knowledge of children rearing. The study found that most patients were not treated with proper care, they were with condensed milk and lacked necessary prevention of Tuberculosis, Diptheria, Pertussis, Tetanus, Polio and Small-pox diseases. The way the mothers looked after the children and the relationship in the family both tended to make them fall sick. This study has no intention to prove any hypothesis. It primarily aims at profiding description of the socio-economic condition of the low income families. The structure and characteristics of the low income families, especially those of the non-paying patients have never been intensively studied before. The finding of the study contribute additional knowledge about the Thai family and provide guide line for a more intensive sociological study in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17066
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuanchai_In_front.pdf511.04 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch1.pdf506.08 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch2.pdf332.36 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch3.pdf676.81 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch4.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch5.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch6.pdf870.75 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_ch7.pdf505.74 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_In_back.pdf676.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.