Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17149
Title: เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องคาร์บอนเครดิต
Other Titles: Political economy of carbon credit
Authors: กิตติวัฒน์ เมณฑกา
Advisors: สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: sittidaj.p @chula.ac.th
Subjects: เศรษฐศาสตร์การเมือง
ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
นโยบายสาธารณะ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศจากกระทำของมนุษย์ และพิธีสารเกียวโตได้ กำหนดเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นชื่อเรียกหน่วยนับของจำนวน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้จากการทำกิจกรรมของมนุษย์ ตามโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดต้นทุนในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ พัฒนาแล้วและจูงใจให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ ผ่านทาง กลไกการค้าระหว่างประเทศตามแนวคิดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ดังนั้นการซื้อขายคาร์บอน เครดิตในตลาดโลกภายใต้พิธีสารเกียวโตน่าจะเป็นโอกาสของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศ ไทยในการนำรายได้เข้าประเทศพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและ ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองซึ่งเน้นเรื่องปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจโดยใช้ตัวแบบนโยบายสาธารณะกลุ่มผลประโยชน์พบว่า คาร์บอนเครดิตกลับถูกใช้ให้เป็น เครื่องมือของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อกดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยเสียเปรียบอย่างมากไม่ ว่าจะเป็น ปัญหาการลดระดับก๊าซเรือนกระจก ปัญหาความชอบธรรมในการทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างถูกกฎหมายที่ซื้อหาได้ ปัญหาการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนสูงมายังไทย ปัญหาเครื่องมือกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาการพึ่งพิงทางเทคโนโลยี และปัญหาการ พัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ทำให้คาร์บอนเครดิตไม่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง
Other Abstract: The Kyoto Protocol is the consensus among the united nations to solve global warming situation which is the result of skyrocketing increase in the amount of greenhouse gases into the atmosphere from human activities. The Protocol has stipulated an economic tool called <Carbon Credit=, that is the measuring unit of carbon dioxide gas which can be reduced in relation to the <Clean Development Mechanism=. The objective of carbon credit is to offset the cost in the reduction of carbon dioxide of the developed countries as well as to stimulate the attempt of other countries to reduce the gas through International trading of Comparative Advantage. Therefore, carbon credit trading in the world according to Kyoto should have been an opportunity for developing countries such as Thailand to bring in revenue, to protect the environment, to transfer technology and to have sustainable development. However, in the view of Political Economists which focus on relational power by using public policy of interest groups, reveals that carbon credit is used by developed countries to take advantages of developing countries in greenhouse gas reduction, legally justified environment destruction, relocation of high emission industries to Thailand, international trade barrier, technological dependency and unsustainable development. These render carbon credit useless to really solve global warming issues
Description: วิทยนิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17149
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.178
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.178
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittiwat_ma.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.