Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17547
Title: แนวทางพัฒนาอาคารสวัสดิการพักอาศัยข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย : กรณีศึกษาอาคาร T13 และ T14 เมืองทองธานี
Other Titles: Guides to welfare housing development for the Royal Thai Armed Forces headquarters: a case study of T13 and T14 Muang Thong Thani
Authors: พงศ์ธร รัตนประทีป
Advisors: สุปรีชา หิรัญโร
เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Supreecha.H@chula.ac.th
Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาคารสวัสดิการข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อาคาร T13 และ T14 เมืองทองธานี เป็นอาคารสวัสดิการพักอาศัยเพียงแห่งเดียวที่ทางกองบัญชาการกองทัพไทยซื้อมาจากโครงการเอกชน เพื่อนำมา ปรับปรุงให้เป็นสวัสดิการที่พักอาศัยแก่ข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร จึงนำมาสู่การศึกษาแนวทางพัฒนาอาคารสวัสดิการพักอาศัยข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กรณีศึกษาอาคาร T13 และT14 เมืองทองธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพอาคาร การใช้พื้นที่ของผู้อยู่อาศัย และปัญหาการอยู่อาศัย เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาอาคารสวัสดิการในอนาคต วิธีการในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และการบันทึกด้วยภาพถ่าย จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 82 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า กายภาพของหน่วยพักอาศัย มีทั้งสิ้น 6 รูปแบบ รูปแบบห้องพักอาศัยส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และ 1 ห้องรับแขกพร้อมส่วนรับประทานอาหาร โดยมีพื้นที่ห้องตั้งแต่ 56.80 ตารางเมตร ถึง 76.60 ตารางเมตร ทางกองบัญชาการกองทัพไทยได้ออกแบบให้ห้องนอนทุกห้องอยู่ติดหน้าต่าง โดยรูปแบบห้องพัก 3 รูปแบบจาก 6 รูปแบบ ไม่มีช่องแสงในพื้นที่ห้องรับแขกและส่วนรับประทานอาหาร และ จัดเตรียมเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นให้กับห้องพักทุกห้อง ลักษณะทางกายภาพของอาคารไม่สามารถป้องกันแดดและฝน อีกทั้งไม่มีพื้นที่ส่วนกลางให้ข้าราชการผู้อยู่อาศัยทำกิจกรรมร่วมกัน สำหรับการใช้พื้นที่ของผู้อยู่อาศัย พบว่า (1)ครอบครัวที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 2 คน จะใช้พื้นที่ห้องในลักษณะ STUDIO TYPE โดยยกเฟอร์นิเจอร์หลักๆมาใช้งาน รวมกันภายในห้องนอนใหญ่ (2)ครอบครัวที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะใช้พื้นที่ห้องนอน 2 ห้อง ส่วนห้องนอนที่เหลือถูกใช้เป็นห้องเก็บของปัญหาการอยู่อาศัย พบว่า ผู้อยู่อาศัยต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการอยู่อาศัยมากขึ้น แต่ขาดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันเหตุในกรณีฉุกเฉิน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา สภาพกายภาพ และการใช้พื้นที่อยู่อาศัยในอาคาร T13 และ T14 เมืองทองธานีเสนอแนะให้ดำเนินการดังนี้ (1)ติดตั้งกันสาดภายนอกอาคาร (2)ปรับปรุงพื้นที่ว่างกลางอาคารเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน แนวทางการพัฒนาอาคารสวัสดิการข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยในอนาคต การ ออกแบบห้องพักควรเพิ่มพื้นที่ส่วนระเบียงและห้องเก็บของ โดยเสนอให้ออกแบบห้องพักเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) ห้องพักขนาด 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำสำหรับห้องที่มีผู้อาศัยไม่เกิน 2 คน (2) ห้องพักขนาด 2ห้องนอน 2 ห้องน้ำสำหรับห้องที่มีผู้อาศัยตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
Other Abstract: T13 and T14 Muang Thong Thani are the only welfare housing projects for commissioned officers and were bought from a private investor by the Royal Thai Armed Forces Headquarters. This case study is designed to describe the physical features, space utilization, and housing difficulties in the residential units and to provide recommendations for future welfare housing development. The data collection and analyses were conducted with a total of 82 participants with field surveys, interviews, observations and photographs. Findings suggest that physical designs of the welfare housing can be classified into six categories. The majority of the housing units comprise three bedrooms, two bathrooms, and a living room with a dining space, equaling a total area of 56.80-76.60 square meters. The Royal Thai Armed Forces Headquarters had all bedrooms located where the window is placed. Three of the six categories of the housing units had the living rooms and dining areas designed with no skylight; all the units are sufficiently furnished. With respect to physical design, the units were neither built with sun and rain protection, nor any common areas for social or recreational activities. With regard to space utilization, families with no more than two members reside in a studio apartment consisting of one large bedroom with all necessary furniture and facilities. The families with more than three members, on the other hand, live in two-bedroom units, one of which is used for a storage area. The housing difficulties are that the residents need more security but lack appropriate knowledge and practice for dealing with emergencies. This research accordingly provides recommendations for better physical designs and space utilization for T13 and T14 Muang Thong Thani. It is suggested that exterior eaves be installed and the empty space in the center of the units be transformed into a common area. For future housing development projects, all units should have additional terraces and storage spaces. In addition, one-bedroom and one-bathroom units should be designed for families with no more than two members whereas two-bedroom and two-bathroom units suit those
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17547
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.134
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.134
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongtorn_Ra.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.