Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17582
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประคอง กรรณสูต-
dc.contributor.advisorจาระไน แกลโกศล-
dc.contributor.authorนรินทร์ บุญชู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-10-
dc.date.available2012-03-10-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17582-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาลักษณะการอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน ความสนใจเนื้อหาประเภทต่างๆในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือพิมพ์รายวัน ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการหนังสือพิมพ์รายวันของหอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะต่างๆในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังนิสิตระดับปริญญาตรีทุกคณะ ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 1,400 ชุด ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2519 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2519 ได้รับแบบสอบถามสมบูรณ์รวมทั้งสิ้น 1,271 ชุด ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม ได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.จำนวนสูงสุดของนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ร้อยละ 68.8 อ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 87.8 อ่านที่บ้านหรือที่หอพัก ร้อยละ 45.9 อ่านหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับโอกาสและเวลาว่าง ร้อยละ 40.2 และ 40.4 อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 1 ฉบับ และใช้เวลาอ่านไม่เกิน 30 นาที ร้อยละ 85.9 ให้เหตุผลในการอ่านว่า เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ร้อยละ 60.3 อ่านเรื่องที่สนใจก่อนแล้วค่อยอ่านเรื่องอื่นๆ ร้อยละ 43.6 ไม่เคยจดบันทึกย่อเลย ร้อยละ 39.4 และ 39.1 มีความเชื่อเกินครึ่ง และเชื่อเพียงครึ่งเดียวในสิ่งที่หนังสือพิมพ์เสนอ และร้อยละ 52.9 มีความรู้สึกว่าเหมือนขาดอะไรไปอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ 2. หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ร้อยละ 62.1, 42.9, 41.5 และ 37.1 อ่านตามลำดับ คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ประชาชาติ เดลินิวส์ และหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย นิสิตจำนวนสูงสุดและรองลงมา ร้อยละ 48.8 และ 26.8 ให้เหตุผลในการอ่านหนังสือพิมพ์ดังกล่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีบทความ บทวิจารณ์ และความคิดเห็นดี และเสนอข่าวรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ 3.หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจำนวนมากร้อยละ 30.6 และ 20.9 อ่าน คือ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post และหนังสือพิมพ์ The Voice of the Nation นิสิตจำนวนสูงสุด ร้อยละ 28.2 ของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ระบุเหตุผลในการอ่านว่า เพื่อปรับปรุงด้านการใช้ภาษาอังกฤษ 4. นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สนใจเรื่องการเมืองมาก ทั้งในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาประเภทอื่นที่นิสิตสนใจรองลงมาตามลำดับ คือ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการศึกษา เรื่องประเภทราชการ เรื่องประเภทกีฬา เรื่องประเภทอาชญากรรม เรื่องประเภทผู้หญิงและเด็ก เรื่องประเภทสาระบันเทิงและมหรสพ และเรื่องประเภทบริการ 5. นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จำนวนสูงสุดร้อยละ 84.3 เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้กว้างขวางและทันสมัย และนิสิตจำนวนสูงสุดร้อยละ 80.6 เห็นว่าหนังสือพิมพ์ควรปรับปรุงด้านการเสนอข่าวให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้อง และเป็นความจริง 6. นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จำนวนสูงสุดร้อยละ 34.1 มีความเห็นว่า ห้องสมุดคณะควรเพิ่มหนังสือพิมพ์รายวันบางชื่อที่มีอยู่แล้วให้มีหลายฉบับ-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research were to study the reading interests and the opinions of Chulalongkorn university students towards newspaper services given by the central library and faculty libraries. The subjects were the undergraduates from 14 faculties. One thousand and four hundred questionnaires were sent out and 1,271 were obtained. The analysis of data based on percentage, mean and standard deviation. The major findings were: 1. The majority of students (68.8%) daily read newspapers. Most of them (87.8%) read at home or in the dormitory and did only when time was available (45.9%). Forty percent read a copy a day and among those who read, a period of thirty minute was spent. The majority (85.9%) mentioned that the reason for reading was to make themselves become up-to-date. Sixty percent read the topic they were interested in first. Forty three percent said they never took note on what they read. The percentage of the students mostly and partially believed in the contents of the newspapers was equal (39.4% and 39.1%). 2. The students (62.1%, 42.9%, 41.5% and 37.1%) respectively read Thai Rath, Prachachat, Daily News and Prachathipathai. The majority percentage (48.8% and 26.8% respectively) of the students read newspapers because of well-written articles, critiques and opinions as well as the most recent news. 3. The Bangkok Post and the Voice of Nation were the English daily newspapers which most students read (20.9% and 10.8% respectively). A number of students mentioned that they read English daily newspapers to improve their English. 4. For the contents presented in both Thai and English daily newspapers the students were respectively interested in politics, economic, education, government affairs, sports, crimes, woman and child articles, entertainment and public service etc. 5. The highest percentage of students (84.3%) thought that daily newspapers gave them much more utilities and up-to-date knowledge. The majority of them (80.6%) suggested that the newspapers contents, especially, the news report should be improved in accuracy and immediacy. 6. For library improvement, the highest percentage of students (34.1%) suggested the faculty libraries to provide much more copies of certain newspapers.-
dc.format.extent394263 bytes-
dc.format.extent731353 bytes-
dc.format.extent1087197 bytes-
dc.format.extent3485787 bytes-
dc.format.extent1319178 bytes-
dc.format.extent862245 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหนังสือพิมพ์และการอ่าน-
dc.titleการศึกษาความสนใจในการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeA study of reading interests of Chulalongkorn University students in Thai and English daily newspapersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narin_Bo_front.pdf385.02 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Bo_ch1.pdf714.21 kBAdobe PDFView/Open
Narin_Bo_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Narin_Bo_ch3.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Narin_Bo_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Narin_Bo_back.pdf842.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.