Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17631
Title: วิธีการวัดผลที่ใช้สำหรับวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ในระดับปริญญาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Other Titles: Methods of measurement for library science at undergraduate level in universities in Thailand
Authors: ลำปาง แม่นมาตย์
Advisors: จ้อย นันทิวัชรินทร์, ม.ล.
สุรเดช ถาวรพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: บรรณารักษศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2527
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงวิธีการวัดผลที่ผู้สอนใช้สำหรับวิชาบรรณารักษศาสตร์ ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางด้านการวัดผลของผู้สอนและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งคาดว่าผลของการวิจัยเป็นข้อมูลนำเสนอต่อผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการวัดผลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีการวิจัยโดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต 42 ชุด และนักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคต้นปีการศึกษา 2526 จำนวน 108 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจากผู้สอน 34 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80.95 และจากนักศึกษา 77 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.29 จากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละค่ามัธยฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยค่า x^2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้สอนและของนักศึกษาเกี่ยวกับการวัดผลด้านต่างๆ โดยใช้ Median test และในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเนื้อหาและกลุ่มทักษะ ผลของการวิจัยโดยสรุปเป็นดังนี้สภาพโดยทั่วไปของการวัดผลวิชาบรรณารักษศาสตร์ในมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ผู้สอนจำนวนมากได้จัดทำหัวข้อวิชา และได้ระบุการวัดผลลงในหัวข้อวิชาแต่ส่วนใหญ่จะระบุอย่างกว้างๆ เฉพาะการแบ่งคะแนน ผู้สอนส่วนมากได้ชี้แจงการวัดผลในวิชานั้นๆ ให้ผู้เรียนทราบโดยผู้สอนจำนวนมากที่สุดชี้แจงในชั่วโมงแรกของการเรียน สำหรับช่วงเวลาในการวัดผลที่ผู้สอนกำหนดมักเป็นกลางเทอมและปลายเทอม ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว แต่ผู้สอนเห็นว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นการวัดตลอดเวลาในขณะที่เรียน พฤติกรรมที่ต้องการวัดและวิธีการวัด ทั้งผู้สอนและนักศึกษาเห็นว่าพฤติกรรมที่ผู้สอนต้องการวัดมากที่สุดในกลุ่มเนื้อหาวิชาคือ ความรู้ความจำในวิชาที่เรียนและความสามารถในการนำไปใช้ ในกลุ่มทักษะ พฤติกรรมที่ผู้สอนต้องการวัดมากที่สุดคือ ความสามรถในการนำไปใช้ และทักษะของผู้เรียนในวิชานั้นๆ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่ต้องการวัด และเนื้อหาวิชา พบว่าในการกำหนดพฤติกรรมนั้นผู้สอนได้พิจารณาจากเนื้อหาวิชาเป็นหลัก และในการวัดพฤติกรรมต่างๆ ในแต่ละกลุ่มวิชา โดยส่วนใหญ่แล้วทั้งผู้สอนและนักศึกษาเห็นว่าวัดได้เหมาะสมในระดับปานกลาง วิธีการวัดผลที่ผู้สอนใช้มากที่สุดในกลุ่มเนื้อหาคือการทดสอบ และการค้นคว้าทำรายงาน สำหรับกลุ่มทักษะนั้นวิธีการวัดผลที่ผู้สอนใช้มากที่สุดคือ การทดสอบและการให้ปฏิบัติจริง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการวัดผลและเนื้อหาวิชาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ แสดงว่าในการเลือกวิธีการวัดผลนั้นผู้สอน ไม่ได้พิจารณาจากเนื้อหาวิชาเพียงอย่างเดียว ซึ่งองค์ประกอบที่ผู้สอนนำมาพิจารณาประกอบร่วมกับเนื้อหาวิชามากที่สุดคือจุดประสงค์หลักของวิชา และวิธีการสอน นักศึกษาเห็นว่าวิธีการวัดผลที่ผู้สอนใช้ในแต่ละวิชานั้นยังต้องแก้ไขปรับปรุง ในระดับปานกลางถึงมาก แต่ผู้สอนเห็นว่ายังต้องแก้ไขปรับปรุงในระดับน้อย ลักษณะแบบทดสอบที่ผู้สอนใช้มากที่สุดทั้งสองกลุ่มวิชาคือ อัตนัยแบบตอบขยายความใช้น้อยที่สุดคือ ปรนัยแบบจับคู่ ทั้งผู้สอนและนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการแก้ไขปรับปรุงแบบทดสอบในลักษณะต่างๆ ในระดับปานกลาง การแบ่งคะแนน การแบ่งคะแนนระหว่างเทอมและปลายเทอมที่ผู้สอนใช้อยู่เป็น 40-60 ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมดีแล้วแต่นักศึกษาเห็นว่ายังต้องแก้ไขปรับปรุง โดยเห็นว่าการแบ่งคะแนนที่เหมาะสมที่ควรเป็น 50-50 และ 70-30 การแบ่งคะแนนระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่ผู้สอนใช้จริงเป็น 60-40 และ 50-50 ซึ่งเหมาะสมดีแล้ว แต่นักศึกษาเห็นว่า การแบ่งคะแนนที่เหมาะสมควรเป็น 40-60 ผู้สอนส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการวัดผลเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ และวัดทักษะในด้านต่างๆ ของผู้เรียนในระดับมากสำหรับจุดมุ่งหมายในด้านอื่นๆ นั้นมุ่งวัดในระดับปานกลาง ซึ่งนักศึกษาเห็นว่าผู้สอนควรแก้ไขปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการวัดผลในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในระดับมาก ปัญหาทางด้านการวัดผล ผู้สอนส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการเลือกวิธีการวัดผลให้เหมาะสมกับวิชาที่สอน โอกาสในการวัดผลมีน้อยเวลาจำกัดเนื้อหามีมาก การวัดพฤติกรรมด้านต่างๆ ของผู้เรียนและการใช้วิธีการวัดผลแบบต่างๆ ในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาที่นักศึกษาประสบมากคือ การวัดผลผู้สอนเน้นการสอบมากกว่าวิธีการอื่นๆ และผู้สอนมุ่งวัดความจำมากกว่าพฤติกรรมอื่นๆ ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถามเป็นดังนี้ ผู้สอนควรมีความรู้เรื่องการวัดผล แบบทดสอบ และการตัดเกรดเป็นอย่างดี กำหนดจุดมุ่งหมายได้แน่นอน และทำความเข้าใจกับจุดมุ่งหมายอย่างแจ่มชัด พร้อมทั้งแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วย พฤติกรรมที่ต้องการวัด ควรวัดความสามารถทางการปฏิบัติมากกว่าความจำ ไม่ควรใช้ข้อสอบเพียงอย่างเดียว ควรใช้วิธีการวัดผลหลายๆ วิธีร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการวัดผลด้วย
Other Abstract: The purpose of this study was to examine methods of measure¬ment in library science courses; to determine opinions and problems of measurement of the faculty and students in 5 institutions, namely Chulalongkorn University, Thammasart University, Chiangmai University, Khon Kaen University, and Prince of Songkhla University at Pattani Campus; and to submit recommendations to the faculty for the improvement of measurement in library science courses. In this study, the questionnaires were sent to 42 faculty teaching undergraduate library science courses and to 108 fourth-year library science students during the first semester of the academic year of 1983. Thirty-four questionnaires (80.95 %) were returned by the faculty, and seventy-seven questionnaires (71.29 %) were returned by the library science students. The collected data were then analyzed by percentile and median. The correlation of variables was tested by x^2 and a median test was used in analyzing the variance of the faculty's and students' opinions on the measurement of library science courses. In addition, the library science courses of 5 universities were divided into 2 groups : theoretical content group, and skills group. The results of the study were summarized as follows : Most faculty of these 5 universities prepared course outlines which include grades roughly assigned to students' works. Most faculty explained a method of the course measurement in the first class hour and gave 2 tests : a mid-semester test, and a final test, which were agreed upon by the majority of students. Yet, many teaching members expressed that test should be administered regularly thoughout the Courses. Both faculty and students agreed that, for the theoretical content courses in most cases, the faculty aimed at measuring students' memorization and applications of theories. For each skills course, the faculty aimed at measuring an application of rules to actual works and attainable skills. Analysis of data on the correlation of behavior desired, measured with the course contents, revealed that a faculty based what he wanted to measure upon the contents of the course. In most cases, the faculty and students agreed that measurement of both, theoretical content and skills courses was carried out in a medium appropriate degree. Written examinations and writing term papers were most used in evaluation of theoretical content courses, and written and practical assignments were most used in evaluation of skills courses. Statistically, there was no significant correlation of a course measurement with course contents. This signified that a method of measurement the faculty used was not only based upon only the contents of a course, but also based on the objectives and a method of teaching. The students indicated that a method of measuring each course should be improved from a medium to a high degree, while the faculty expressed that a method of measuring each course should be improve to a minimum degree. The type of written examination which was most used by the faculty was a subjective test, and a matching objective test was least used. Both faculty and students ¬agreed to improved different types of tests to a medium degree. For an apportion of test scores of each course, in most cases, a faculty apportioned 40-60 for a mid semester test and a final examina¬tion. The faculty felt that this apportion of test scores was relatively appropriate, while the students expressed that an appropriate apportion of test scores should be 50-50 or 70-30. In an apportion of scores for theoretical parts and practical parts, most faculty apportioned 60-40 and 50-50. The faculty Seemed to agree that this apportion was the most appropriate, while the students believed that the most appropriate apportion of scores should be 40-60. In measurement of library science courses, most faculty aimed at evaluating students' apprehension and various skills. Other objective: of a course were evaluated in a medium degree. The students asserted that the faculty should improve the objectives of a course evaluation to a high degree. Problems of evaluation experienced by mast faculty were a selection of a method of measurement appropriate to a course, limited amount of time, and excessive contents of a course. The problems of Measuring students' behavior and using various types of tests occured to a medium degree. The problem of evaluation which the students experienced most was that the faculty aimed at testing memorization rather than other achievements. Recomendations. The faculty should :- - familiarize themselves with a method of measurement, a construction of tests, and a grading system. - set clear-cut objectives which to give to the students. - emphasize on practical ability rather than memorization. - utilize not only written tests but also other methods of evaluation. - let the students make comments on their method of measurement of library science courses.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17631
ISBN: 9745635111
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lampang_Ma_front.pdf389.35 kBAdobe PDFView/Open
Lampang_Ma_ch1.pdf381.51 kBAdobe PDFView/Open
Lampang_Ma_ch2.pdf741.64 kBAdobe PDFView/Open
Lampang_Ma_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Lampang_Ma_ch4.pdf521.16 kBAdobe PDFView/Open
Lampang_Ma_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.