Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17733
Title: บทบาทของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน
Other Titles: Role of southern teachers college in providing community educational services
Authors: ศิริชัย อิสสระโชติ
Advisors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sukanya.K@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาลัยครู -- ไทย (ภาคใต้)
การศึกษากับสังคม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนนำเสนอรูปแบบการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้ วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่อาจารย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในวิทยาลัยครู 5 แห่งภาคใต้ คือ วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช วิทยาลัยครูภูเก็ต วิทยาลัยครูสงขลา วิทยาลัยครูยะลา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คิดเป็นร้อยละ 34.37 ของประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจ โครงการการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน แบบสอบถามได้แจกไปทั้งสิ้น 262 ฉบับ ได้แบบสอบถามคืนมา 219 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.42 สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน จำนวน 16 ท่านและวิเคราะห์โครงการการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนทั้งสิ้น 155 โครงการ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีผลสรุปได้ดังนี้ 1. เนื้อหาในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน จากการวิจัยพบว่า เนื้อหาด้าน การศึกษาวิทยาลัยครูได้ให้บริการมากที่สุด รองลงไปคือด้านการเกษตร ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านอนามัย และชีวิตครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและด้านการเมืองการปกครอง 2. วิธีดำเนินการในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน วิทยาลัยครูใช้ภาควิชาเป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการชุมขนมากที่สุด รองลงไปใช้คณะวิชา และวิทยาลัย ส่วนวิทยาลัยครูร่วมกับหน่วยงานอื่นยังมีน้อย การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนของวิทยาลัยครูยังไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงาน ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ข้อค้นพบที่เสริมข้อมูลดังกล่าวคือ อาจารย์วิทยาลัยครูมีความเห็นว่า ควรมีศูนย์หรือคณะกรรมการรับผิดชอบ ทำหน้าที่ประสานงานในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน วิทยาลัยครูควรมีเป้าหมายในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือตนเองได้ มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม และตระหนักในความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรนำอาจารย์ไปสู่ชนบทมากขึ้น โดยที่โครงการการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนที่เป็นอยู่พบว่า วิทยาลัยให้บริการอยู่ภายในมากกว่าภายนอกสถาบัน 3. ลักษณะการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน จากการวิจัยพบว่า วิทยาลัยครูใช้วิธีฝึกอบรมหรือประชุมปฏิบัติการ การสาธิต ทดลอง และการเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนอาจารย์วิทยาลัยครูได้ปฏิบัติมาก ส่วนการบรรยายปฏิบัติในระดับปานกลาง 4. ผู้ให้บริการ จากการวิจัยพบว่า อาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ให้บริการทางวิชาการมากที่สุด รองลงไปคือกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันให้บริการ ส่วนกลุ่มอาจารย์บริการร่วมกับบุคคลอื่นยังมีน้อย ในด้านของผู้รับบริการ จากการวิจัยพบว่า กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ ครูประจำการ และบุคลากรทางการศึกษา รองลงไปเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และกลุ่มเกษตรกร ส่วนกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจและกรรมกรผู้ใช้แรงงานยังได้รับบริการจากวิทยาลัยครูน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน จากการวิจัยพบว่างบประมาณเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอันดับที่ 1 ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน นั่นคืองบประมาณที่ได้จากทางราชการ จากผู้รับบริการ และผู้บริจาค ซึ่งมีจำกัดมาก ทำให้ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคอันดับที่ 2 คือ ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นสาเหตุทำให้การทำงานซ้ำซ้อน และขาดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานจึงเกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากร ปัญหาและอุปสรรคอันดับที่ 3 ผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนเท่าทีควร บางครั้งขาดการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร ทำให้กลุ่มผู้บริการขาดขวัญและกำลังใจ 6. รูปแบบในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน จากการวิจัยพบว่า วิทยาลัยครูควรเป็นศูนย์กลางในด้านวิชาการของชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาศึกษาหาความรู้และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทั่วไปแก่ประชาชนข้อเสนอแนะ 1. วิทยาลัยครูกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนโดยจัดเป็นศูนย์กลางทางวิชาการแก่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และช่วยแก้ปัญหาสังคม นอกจากนั้น วิทยาลัยครูควรหาวิธีดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว 2. ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนควรเน้นการปฏิบัติจริงให้มากขึ้น โดยใช้วิธีการฝึกอบรม หรือประชุมปฏิบัติการ สาธิต หรือทดลอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3. ควรจัดตั้งองค์กรกลางขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ และเป็นแหล่งข้อมูลในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานด้านนี้มีประสิทธิภาพนั่นคือ ลดความซ้ำซ้อน ใช้ทรัพยากรได้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้สามารถบริการตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
Other Abstract: Purpose of the research The purpose of this research was to study roles in providing community educational services, procedures, problems and difficulties encountered and to propose a model of providing such services. Procedures The sample of this study was selected by random sampling from among instructors teaching in 5 teachers colleges in the South, i.e. Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Phuket, Songkhla and Yala, which represented 34.37 percent of the population surveyed. The researcher gathered data through questionaires, interviews, and surveys. Two hundred and sixty-two questionaires were distributed, but only 84.42 percent (or 219) of the questionaires were completed and returned. Sixteen persons involved in Community Educational Services were interviewed and 155 projects were analyzed. Data were analyzed by computing percentages, arithmetic means, standard deviations and content analysis. Research Findings The results of the analysis are: 1. Services provided by the colleges to the community were first of all educational, then they were agricultural, social and cultural, health and family life, economical and lastly political and governmental. 2. On the matter of delivery of services, actual implementation was carried first at the departmental level, then at the faculty level and finally at the college level; there was little cooperation between the college and other agencies. There is still no coordinating agency for services provided either within or outside the colleges. It was found that in the opinions of the teaching staff there should be a central agency responsible for the coordination of services provided to the community. The college should formulate objectives for the delivery of services to the community as follow: the communities should be self-reliant, improve their living conditions, solve social problems and be aware of the importance of the natural environment. Most of the teaching staff thought that they should become more involved with the communities setting up projects to serve the communities. As it is now, services are offered more within the colleges than outside. 3. The type of services offered by the colleges included mostly training, workshops, demonstrations, experiments and extension work though mass media. There were also lectures, but used less frequently. 4. In terms of personnel, services were provided mostly by the teaching staff alone, next came services given jointly by the teaching staff and the college students. There were few instances involving the teaching staff with outside people. Target groups were first of all regular teachers and educational personnel and farmers, for people in business and labourers they were affected by the services of the colleges less than the other target groups. 5. Problems encountered in providing services to the community were first of all in the area of funds for expenditures. Funds came from the government recipients of services and donors. Those funds were limited and funds proved to be insufficient for implementation. The second problem was the lack of coordination between agencies concerned, resulting in confusion and lack of coordination with the ensuing waste of resources. The third problem was that administrators did not attach as much importance as they should to the services provided to the communities: sometimes, they was a lack of material support resulting in low morale and discouragement among those providing the services. 6. As for structures in the delivery of services to the community, findings indicate that the colleges should constitute the centers for services, offering to the people the opportunity to acquire knowledge and take full advantage of the opportunities and then diffusing this information to the communities. Recommendations 1. The colleges should specify clear objectives for the delivery of sercices to the community, being centers of learning for the people, so that they become self-reliant, improve their living conditions and contribute to the solution of social problems. The colleges should seek ways of implementing such objectives. 2. In providing services to the communities greater emphasis should be given to actual practices using training, workshops, demonstrations and experimentation in order to meet specified objectives. 3. A central body should be established for coordination and for public relations; this body should be a source of informations on services to the community. Thus, there should be greater efficiency, less confusion, more economic and valuable use of resources in order to provide services according to the established goal.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17733
ISBN: 9745631698
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirichai_Is_front.pdf356.14 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_ch1.pdf288.36 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_ch2.pdf761.05 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_ch3.pdf253.45 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_ch4.pdf537.68 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_ch5.pdf596.09 kBAdobe PDFView/Open
Sirichai_Is_back.pdf479.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.