Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล-
dc.contributor.authorเนาวรินทร์ ชนะทัพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-03-11T10:22:09Z-
dc.date.available2012-03-11T10:22:09Z-
dc.date.issued2522-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17766-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย : สุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นผู้บริหาร ได้แก่อาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าสายวิชาสังคมศึกษา กับตัวอย่างประชากรจำนวน 30 คน และอาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษาทุกคนจำนวน 25 คน นักเรียนจำนวน 300 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เปิดสอนวิชาประชากรศึกษาปีการศึกษา 2520 และปีการศึกษา 2521 เฉพาะในกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โรงเรียน โดยการสุ่มแบ่งเป็นพวก (Stratified Random Sampling) ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการเรียนวิชาการประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สร้างขึ้นเอง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าโคสแควร์ (Chi-aquars) เป็นรายข้อและนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง 1. เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยส่วนรวมแล้ว ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในปัญหาจำนวน 59 ข้อ จากจำนวนทั้งสิ้น 112 ข้อ 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียน สรุปได้ดังนี้ 2.1 ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาประชากรศึกษาในเกณฑ์มาก จากค่าเฉลี่ย (x̅) 2.50 ขึ้นไป และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ .05 ได้แก่ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชากรศึกษาให้แก่ชุมชน ด้านวิธีสอน ส่วนในด้านสื่อการเรียนการสอนมีปัญหาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับแหล่งสื่อการเรียนการสอนและการขอยืมสื่อการเรียนการสอนจากสถาบันอื่น ตลอดจนจำนวนและชนิดของสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน สำหรับด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ขาดความร่วมมือและสนับสนุนจากสถาบันต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการจัดตั้งชุมนุมประชากรศึกษา 2.2 ปัญหาที่ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนวิชาประชากรศึกษา และนักเรียน มีความเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ขึ้นไป ได้แก่ด้านเทคนิควิธีสอน ส่วนปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอนได้แก่ หนังสือและเอกสารที่ใช้ค้นคว้าศึกษา ความพร้อมของหนังสือคู่มือครู, บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดให้ และการผลิตสื่อการเรียนการสอน-
dc.description.abstractalternativePurposes: The purposes of this research were to investigate and compare the opinions of school administrators, teachers, and pupils concerning the teaching and learning of Population Education at the upper secondary school level in Bangkok Metropolis, and to formulate recommendations for improving the teaching-learning purposes of population education at the secondary level. Procedures : Samples, stratified randomly selected, were 30 administrators, namely principals, vice-principals for academic affairs and social studies teachers’ chairman, 25 teachers of Population Education course, and 300 pupils from the upper secondary schools that offered Population Education course during the school years 1977-1978. A questionnaire concerning problems in teaching-learning Population Education constructed by the author was administered. Means, Standard deviation and chi-square were computed. The results were presented descriptively. Results : 1. The opinions of school administrators, teachers and pupils concerning the problems of teaching and learning population education on fifty-nine items out of 112 did not differ significantly at the .05 level. 2. The opinions of school administrators, teachers, and pupils in general were as follow:- 2.1 The problems that were rated high ((x̅ >2.50) concordantly by the administrators, teachers and pupils were: extending knowledge of teaching methods, providing instructional media, loaning of instructional media among schools and related institutions, the arrangement for quantity and quality of the media and lack of proper co-curricular activities, especially the population education club. 2.2 The problems that were rated differently (P<.05) by the administrators, teachers and the pupils were problems concerning teaching technique used, availability of instructional materials, teaching facilities provided by the school, and the production of instructional media.-
dc.format.extent512669 bytes-
dc.format.extent1221832 bytes-
dc.format.extent1712632 bytes-
dc.format.extent492166 bytes-
dc.format.extent1993287 bytes-
dc.format.extent1771111 bytes-
dc.format.extent1317294 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประชากรศึกษา -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleปัญหาการเรียนการสอนวิชาประชากรศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeProblems of teaching and learning population education at the upper secondary education level in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nouwarin_Ch_front.pdf500.65 kBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_ch1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_ch3.pdf480.63 kBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Nouwarin_Ch_back.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.