Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17779
Title: การจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในวิทยาลัยเกษตรกรรม
Other Titles: Management of physical education programs in agricultural colleges
Authors: ไพฑูรย์ ทองหอม
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
พลศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในวิทยาลัยเกษตรกรรม ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามให้ตรวจคำตอบ มาตราส่วนประเมินค่า แบบเลือกคำตอบและแบบปลายเปิด โดยแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ส่งไปยังผู้ช่วยผู้อำนวยการลักษณะงานกิจการนักศึกษา อาจารย์หัวหน้าหมวดวิชาพลศึกษา และอาจารย์พลศึกษา ชุดที่ 2 ส่งไปยังนักศึกษาในวิทยาลัยเกษตรกรรม 22 แห่ง ได้รับแบบสอบถามชุดที่ 1 คืนมาร้อยละ 86.15 ชุดที่ 2 ร้อยละ 86.36 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าที (t-test) แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมมีการจัดโปรแกรมพลศึกษาประกอบด้วยโครงการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน โครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายในวิทยาลัย โครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายนอกวิทยาลัย โครงการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัยหรือสถาบัน โครงการจัดกรรมเพื่อสันทนาการ ส่วนโครงการการบรรดิการทางพลศึกษาไม่ได้มีการจัดขึ้นเลย วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการจัดและดำเนินการโครงการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน คือ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะพื้นฐานทางกีฬา และออกกำลังกายด้วยกิจกรรมพลศึกษา วิชาบังคับตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2524 ประเภทวิชาเกษตรกรรม ที่จัดสอนมากที่สุด คือ แฮนด์บอล วิชาที่จัดเป็นวิชาเลือกมากที่สุด คือ ตะกร้อ วิชาที่สอนเป็นวิชาบังคับตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2520 แผนกวิชาเกษตรกรรม ที่จัดสอนมากที่สุด คือ วอลเลย์บอล การสอนเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใช้ขั้นตอนการสอนครบทุกขั้นตอน วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการจัดและดำเนินการโครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายในวิทยาลัย คือ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมพลศึกษา กีฬาที่จัดมากที่สุดในโครงการนี้ คือ ฟุตบอล จัดภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ใช้เวลา 3 วัน มีการแข่งขันตลอดทั้งวัน วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการจัดและดำเนินการโครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายนอกวิทยาลัย คือ เพื่อปลูกฝังทัศนคติในด้านการกีฬาตามอุดมคติ อาทิ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ความสามัคคีระหว่างสถาบัน กีฬาที่จัดมากที่สุด คือ ฟุตบอล วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการจัดและดำเนินการโครงการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย หรือสถาบัน คือ เพื่อปลูกฝังทัศนคติในด้านการกีฬาตามอุดมคติ อาทิ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ความสามัคคีระหว่างสถาบัน กิจกรรมที่นิยมจัดมากที่สุด คือฟุตบอล รองลงมาได้แก่ บาสเกตบอล ใช้วิธีการคัดเลือกกีฬาจากนักศึกษาที่สนใจมาสมัครเป็นนักกีฬา การจัดโครงการนี้ใช้เงินบำรุงการศึกษา วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการจัดและดำเนินการโครงการจัดกิจกรรมเพื่อสันทนาการ คือ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมที่นิยมจัดในโครงการนี้ได้แก่ ฟุตบอล โดยนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจของตนเอง ช่วงเวลาจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จัดในตอนเย็น จัดโดยใช้เงินบำรุงการศึกษา การวัดและประเมินผลโครงการใช้การดูจากการเข้าร่วมกิจกรรม การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ช่วยผู้อำนวยการลักษณะงานกิจการนักศึกษา อาจารย์หัวหน้าหมวดวิชาพลศึกษา และอาจารย์พลศึกษากับนักศึกษา เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษา ปรากฏดังนี้ โครงการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน การให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นกีฬา กรีฑาประเภทต่าง ๆ การให้มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษา โครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายในวิทยาลัย พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน เช่น การปลูกฝังให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา การพัฒนาความเชื่อมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรม โครงการแข่งขันกีฬาภายนอกวิทยาลัย พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน เช่น การเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมพลศึกษา การปลูกฝังทัศนคติให้เกิดความรักและนิยมพฤติกรรมของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาที่ดี โครงการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัยหรือสถาบัน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน เช่น การส่งเสริมนักศึกษาที่มีทักษะทางกีฬาดี เข้าแข่งขันในสถานการณ์เล่นจริง การปลูกฝังให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา โครงการจัดกิจกรรมเพื่อสันทนาการ พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน เช่น การส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การให้นักศึกษามีทักษะในการเล่นกีฬาและจัดกรรมสันทนาการ การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ปรากฏผลดังนี้ โครงการสอนพลศึกษาในชั้นเรียน พบว่า ส่วนมากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่น การขาดความร่วมมือของอาจารย์อื่น ๆ ในวิทยาลัย ขาดการส่งเสริมในด้านการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ โครงการแข่งขันกีฬาภายในวิทยาลัย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 หลายด้าน เช่น ปัญหานักศึกษามีเวลาฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ปัญหาการประชาสัมพันธ์ในการจัดการแข่งขัน โครงการแข่งขันกีฬาภายนอกวิทยาลัย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในด้านการขาดการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร การขาดความร่วมมือของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม ปัญหานักศึกษามีเวลาฝึกซ้อมไม่เพียงพอ โครงการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย พบว่า ส่วนมากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่น การขาดความร่วมมือของนักศึกษาในการเข้าร่วม ปัญหาการบาดเจ็บของนักกีฬา โครงการจัดกิจกรรมเพื่อสันทนาการ พบว่า ส่วนมากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่น ปัญหางบประมาณที่ใช้ไม่เพียงพอ และปัญหาการขาดวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกรรมเพื่อสันทนาการ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the management of the physical education programs in agricultural colleges. Questionnaires were devided into two sets. The first set was sent to the assistant directors of the student affairs, heads of physical education department and physical education instructors. The second set was sent to the student of 22 colleges. The returned questionnaires of the first set accounted 86.15 percent, and the second set accounted for 86.36 percent. The obtained data were, then, analyzed into percentages and means. A t-test was also employed to determine the significant difference. The results were found that agricultural colleges had arranged the physical education program consisted of the physical education instruction program, the intramural sport program, the extramural sport program, the intercollegiate sport program, and the recreation program. However, the adapted physical education program was not established. The significant objective of management of the physical education instruction program was to establish fundamental sport skills and exercise with physical education activities. Of the professional certificate curriculum of B.E. 2524 of agricultural section the required course mostly offered was handball, while the elective course was takraw. For the high professional certificate curriculum of B.E. 2520 of agriculture department, the required course mostly offered was volleyball. The teaching was emphasized both the theories and practices, and employed all of necessary steps. The significant objective of management of the of the intramural sport program was to provide opportunity for students participating in physical activities. The sport mostly provided was soccer which held once for a semester. The tournament carried out for the three consecutive days. The significant objective of the extramural sport program was to cultivate attitudes of ideal sport playing, such as the relationship between institutes. The sport mostly provided was soccer. The significant objective of management of the intercollegiate sport program was to cultivate attitudes related to ideal sport playing such as the relationship between institutes. The most popular sport was soccer, and second popular sport was basketball. The players were selected from volunteered students, and the budget came from a part of tuition fees. The significant objective of management of the recreation program was to promote students to use leisure time wisely. The most popular activity was soccer. Students volrunteeredly participated in activities offered. The best times were scheduled in the evenings, and budget was allocated from tuition fees. The program evaluation was made through observations. For the comparison between opinions of the assistant directors of the student affairs, heads of physical education department, and students, in relation to objectives of the management of physical program, it was indicated as the followings : There was a significant difference for the physical education instruction program at .01 level, as to providing knowledge and understanding of sport playing and track and field. There was a significant difference for the intramural sport program at .01 level in cultivating sportsmanship and self-confidence in participating the program. There was a significant difference for the extramural sport program at the .01 level such as, providing opportunity for students to participate in physical education activities, cultivating attitudes of good players and on-lookers. There was a significant difference for the intercollegiate sport program at the .01 level, such as the promotion students to possess good skills, to participate in the real competitive situations, and to cultivate sportsmanship. There was a significant difference for the recreation program at the .01 level, such as the promotion students to use leisure time wisely and to sufficiently acquire skills for participating in sports and recreational activities. For the comparison the opinions in relation to problems of the management, the results indicated as follows : There was a significant difference for the physical education instruction program at the .01 level, such as the lacking of teacher cooperation and the lacking of improving academic programs for teachers. There was a significant difference for the intramural sport program at the .01 level, such as the problems in insufficient time for practice of students, and problems related to public relation of the program. There was a significant difference for the extramural sport program at .01 level, such as the lacking of support from administrative levels, cooperation of students, and time for training. There was a significant difference for the intercollegiate sport program at .01 level, such as the lacking of student cooperation and the problems of athlete’s injuries. There was a significant difference for the recreation program at .01 level, such as, the problems of insufficient budget and equipments and facilities for recreational activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17779
ISBN: 9745647659
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phaithoon_Th_front.pdf883.51 kBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_ch1.pdf692.86 kBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_ch2.pdf880.73 kBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_ch3.pdf398.29 kBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_ch4.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_ch5.pdf763.02 kBAdobe PDFView/Open
Phaithoon_Th_back.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.