Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17919
Title: | การเกิดและผลบังคับของสัญญาประกันชีวิต |
Other Titles: | Formation and Effect of Life Insurance |
Authors: | วารุณี อินทนปสาธน์ |
Advisors: | พิเศษ เสตเสถียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ประกันชีวิต ประกันภัย กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ประกันชีวิต |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธุรกิจประกันชีวิต มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย เป็นแหล่งระดมเงินทุนจากประชาชนมาเสริมสร้างการขยายหัวของระบบเศรษฐกิจในภาคกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม หรือ อุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีระยะเวลาในการชดใช้คืนนานกว่าแหล่งเงินทุนประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ ธุรกิจประกันชีวิตยังมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะการประกันชีวิตเป็นการออมทรัพย์บังเกิดผลแน่นอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออมทรัพย์ โดยการประกันชีวิตได้รับประโยชน์ในวัยชรา หรือช่วยให้ครอบครัวของผู้ทำสัญญาประกันภัยไม่ต้องเดือดร้อน เมื่อผู้นั้นถึงแก่มรณกรรม นอกจากนี้ การประกันชีวิตยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสนใจในสุขภาพอนามัยของคนมากขึ้น และยังให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งต้องเสี่ยงต่อภาวะการขาดทุนอีกด้วย สัญญาประกันชีวิตเป็นเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะแตกต่างจากเอกเทศสัญญาอื่นทั่วไป ทั้งในด้านวิธีดำเนินธุรกิจ และในด้านกฎหมายที่ใช้บังคับ กล่าวคือ ในการติดต่อดำเนินธุรกิจประกันชีวิตนั้น โดยทั่วไปตัวแทนประกันชีวิตจะเป็นผู้ชักชวนให้บุคคลใดเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับผู้รับประกันภัย โดยกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยจัดเตรียมไว้ และเมื่อคู่สัญญาได้ทำสัญญาประกันชีวิตแล้วผู้รับประกันภัยจะออกเอกสารที่เรียกว่ากรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในกรมธรรม์ประกันภัยจะปรากฏข้อความต่างๆ มากมาย รวมทั้งข้อความที่เป็นเงื่อนไขจำกัดความรับผิดและปฏิเสธความรับผิดของผู้รับประกันภัยด้วย ส่วนกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาประกันชีวิตนั้น ต้องพิจารณาทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในลักษณะที่ 20 เรื่องประกันภัยประกอบกับหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องพิจารณาพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ที่ตราขึ้นเพื่อควบคุมการดำเนินธุรกิจการประกันชีวิตให้มีมาตรฐานที่ดีและควบคุมบริษัทประกันชีวิตมิให้ดำเนินการไปใช้ในทางที่เสี่ยงภัย นอกจากนี้ ยังต้องพิจาณาถึงหลักกฎหมายสำคัญที่ใช้ในการประกันชีวิตโดยเฉพาะ ได้แก่ หลักเกี่ยวกับส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ และหลักเกี่ยวความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งของคู่สัญญา ซึ่งแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะยอมรับหลักกฎหมายดังกล่าว โดยนำมาบัญญัติไว้ในลักษณะที่ 20 เรื่องประกันภัยด้วยก็ตาม แต่ก็มิได้บัญญัติในรายละเอียดไว้เท่าที่ควร จากเหตุที่วิธีดำเนินธุรกิจและกฎหมายที่ใช้บังคับในสัญญาประกันชีวิต มีลักษณะที่แตกต่างจากเอกเทศสัญญาอื่นดังกล่าวแล้ว ส่งผลให้เกิดปัญหาคือ การเกิดและผลบังคับของสัญญาประกันชีวิตแตกต่างจากสัญญาอื่นๆ ในบางกรณี ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันชีวิตได้รับความเสียหายซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนจะชี้ในเห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในประเทศไทย โดยใช้หลักกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของต่างประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันชีวิต และท้ายสุดคือ เพื่อให้ธุรกิจการประกันชีวิตเจริญรุดหน้าต่อไป |
Other Abstract: | Life insurance business plays a vital role in the economic development of the country. Because its term of repayment is longer than that of other capital resources, it mobilizes funds of the public to help effectively expand various activities of the economic system, be it agricultural or industrial. In addition, it significantly affects the day-to-day living of the public because life insurance is a defini¬tely effective saving which enables a saver to benefit from it in his aold age or protects the insured's family against difficulties when the insured dies. Life insurance also encourages the general public to pay more attention to their health and assures business operators who risk losses. A life insurance contract is a specific contract. It differs from other specific contracts in both business operations and appli¬cable laws. In other words, as regards a general life insurance transaction an agent will persuade a prospective insured to enter into a life insurance contract with the insurer and on behalf of such insured completes the document which the insurer has prepared. Once both the insurer and the insured have executed a life insurance contract the insurer will issue an insurance policy to the insured for the latter's evidence.' The policy contains a large number of statements, including conditions restricting and waiving the insurer's liabilities. Regarding the laws applicable to a life insurance contract, the following should be considered : the provisions of the Civil and Commercial Code dealing with definitions, characters, rights and duties of contracting Parties as 'contained in Chapter 20 (Insurance) and in other, relevant chapters; Life Insurance Act, B.E. 2510, which is a special law enacted so as to control life insurance operations in a good standard and to prevent life insurance Companies from engaging in risky operations; and essen¬tial legal principles specifically applicable to life insurance, viz. insurable interest and utmost good faith, the latter which although the Civil and Commercial Code recognizes and applies as were provided for in Chapter 20 ( Insurance), the provisions in this respect are not sufficiently elaborated. The differences in business operations and applicable laws of life insurance contracts from that of other specific contracts create the differences in the formation and effect of a life insurance contract from that of other specific contracts create the differences in the formation and effect of a life insurance contract from that of other specific contracts. Thus, the parties pertaining to the contract probably sustain damages. The author of this thesis indicated not only numerous problems which have arisen but also approaches to resolutions appropriate for the circumstances in Thailand by means of comparing legal principles of Thailand with those of foreign countries in the hope that justice will be done to parties pertaining to life insurance contracts and, eventually, that the business of life insurance will prosper. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17919 |
ISBN: | 9745636452 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Varunee_In_front.pdf | 484.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varunee_In_ch1.pdf | 855.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varunee_In_ch2.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varunee_In_ch3.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varunee_In_ch4.pdf | 373.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varunee_In_back.pdf | 290.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.