Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18079
Title: การใช้ค่าดัชนีพืชพรรณที่ได้จากเทคนิคการสำรวจระยะไกลแบบไฮเปอร์สเปกตรัลเพื่อศึกษาตัวแปรทางชีววิทยาของป่าชายเลน
Other Titles: Hyperspectral-derived vegetation indices for studying mangrove forest biophysical parameters
Authors: ธันวา สัจจาพิทักษ์วงศ์
Advisors: บรรเจิด พละการ
ชัยโชค ไวภาษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Banjerd.P@chula.ac.th
Chaichoke.V@Chula.ac.th
Subjects: ป่าชายเลน -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
ดัชนีพื้นที่ใบ
ป่าชายเลน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Mangrove forests -- Thailand
Mangrove forests -- Remote sensing
Remote sensing
Leaf area index
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาศักยภาพของข้อมูลที่ได้จากเทคนิคการสำรวจระยะไกลแบบไฮเปอร์สเปกตรัลในการแก้ปัญหาจุดอิ่มตัวของสัญญาณที่จะพบได้ในแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างค่าตัวแปรทางชีววิทยาของป่าที่มีพรรณไม้หนาแน่นกับค่าดัชนี พืชพรรณ โดยใช้ข้อมูลค่ามวลชีวภาพ(Biomass) และค่าดัชนีพื้นที่ผิวใบ(Leaf Area Index) ที่ได้จากพื้นที่ศึกษาป่าชายเลนที่มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นบริเวณแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ Hyperion และ ALI มาทำการทดลองและใช้ค่าดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์แมลไลซ์(Normalized Difference Vegetation Index),ค่าดัชนีสัดส่วนธรรมดา(Simple Ratio) และค่าดัชนีตำแหน่ง Red Edge,(Red Edge Positioning) ผลการทดลองที่ได้น่าสนใจเป็นอย่างมากเมื่อพบว่าค่าดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์แมลไลซ์ และค่าดัชนีสัดส่วนธรรมดาที่ได้จากข้อมูลไฮเปอร์สเปกตรัลและข้อมูล มัลติสเปกตรัลที่ศึกษาเปรียบเทียบกันนั้นไม่เกิดปัญหาจุดอิ่มตัวของสัญญาณทั้งคู่ โดยยืนยันด้วยผลการทดสอบทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ขณะที่ค่าดัชนีตำแหน่ง Red Edge นั้น ไม่สามารถเอาชนะปัญหาจุดอิ่มตัวของสัญญาณได้ จากผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าข้อมูลมัลติสเปกตรัลก็มีศักยภาพที่ใกล้เคียงกับข้อมูลไฮเปอร์สเปกตรัลในการใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรทางชีววิทยาของ ป่าชายเลนกับค่าดัชนีพืชพรรณ แต่ข้อมูลมัลติสเปกตรัลนั้นมีราคาถูกกว่ามาก อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาในเรื่องนี้อีกครั้งเพื่อยืนยันผลการค้นพบนี้
Other Abstract: This study investigates the capability of hyperspectral remote sensing in mitigating the signal saturation problem that normally found when creating linear regression models between biophysical parameters of dense forests and vegetation indices.The study area is densely vegetated area of the Lam Talumpuk mangrove, Amphoe Pak Phanang, Nakorn Sri Thammarat Province. The data in use are satellite images captured by Hyperion and ALI. The Vegetation Indices under investigation are Normalized Difference Vegetation Index(NDVI), Simple Ratio(SR), and Red Edge Positioning(REP).It is unexpectedly found that the results of hyperspectral data is comparable to the results of multispectral data as both of them did not face the saturation problem as the statistical test confirmed this result at a 0.05 significant level, Nevertheless, However, REP could not overcome the saturation problem. Our final outcome suggested that mutispectral data is cost-effectively than hyperspectral data for building mathematical relationships between forest biophysical parameters of mangrove forests and vegetation indices. However, repeat studies should be conducted to confirm our findings.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18079
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanwa_sa.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.