Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18157
Title: การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบระยะเวลาในการใส่สายเข้าท่อน้ำดีระหว่างการตัดหูรูดท่อน้ำดีก่อนและการใช้ลวดนำสองเส้น ในผู้ป่วยที่ใส่สายเข้าท่อน้ำดีได้ยาก
Other Titles: Comparison of cannulation time between precut sphincterotomy and double guidewire in difficult-to-access biliary cannulation;prospective, randomized study
Authors: พรเทพ อังศุวัชรากร
Advisors: รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: rungsun@pol.net
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา ในผู้ป่วยที่ใส่สายเข้าท่อน้ำดีได้ยาก มักมีความจำเป็นที่ต้องตัดหูรูดท่อน้ำดีก่อน ซึ่งวิธีการนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์อย่างสูงและมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น มีรายงานการใช้ลวดนำสองเส้นในการช่วยใส่สายเข้าท่อน้ำดี หลังจากที่ไม่สามารถใส่สายได้ด้วยวิธีปกติ วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการใส่สายเข้าท่อน้ำดี, อัตราการใส่สายเข้าท่อน้ำดีได้สำเร็จ, ระดับอะไมเลสในเลือดหลังการส่องกล้อง 24 ชั่วโมง และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระหว่างกลุ่มทดลอง วิธีการวิจัย ผู้วิจัยทำการสุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการใส่สายเข้าท่อน้ำดีได้ภายในระยะเวลา 10 นาที เข้ารับการใส่สายด้วยวิธีใช้ลวดนำสองเส้น หรือตัดหูรูดท่อน้ำดีก่อน ผลการศึกษา มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษา 40 ราย รับการสุ่มเข้ากลุ่มใช้ลวดนำสองเส้น 22 ราย และกลุ่มตัดหูรูดท่อน้ำดีก่อน 18 ราย ระยะเวลาเฉลี่ยในการใส่สายเข้าท่อน้ำดี เป็น 147.5 และ 346.1 วินาที (p < 0.001), อัตราการใส่สายสำเร็จเป็นร้อยละ 72.7 และ 83.3 (p = 0.424), อัตราการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบเป็นร้อยละ 18.2 และ 5.6 (p = 0.355) และ ค่าเฉลี่ยระดับอะไมเลสในเลือดหลังการส่องกล้อง 24 ชั่วโมงเป็น 1,173.2 และ 239.2 มก./ดล. (p < 0.001) ในกลุ่มลวดนำสองเส้น และกลุ่มตัดหูรูดท่อน้ำดีก่อน ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา การใส่สายเข้าท่อน้ำดีด้วยวิธีลวดนำสองเส้นใช้ระยะเวลาสั้นกว่า ในขณะที่อัตราการใส่สายสำเร็จเท่ากับวิธีตัดหูรูดก่อน ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายเข้าท่อน้ำดีด้วยวิธีลวดนำสองเส้นมีระดับอะไมเลสในเลือดสูงกว่าวิธีตัดหูรูดก่อน แต่อัตราการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบจากทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Background: Precut sphincterotomy (PS) is usually indicated in difficult biliary cannulation. PS requires a steep learning curve and contains significant risk of complications. Double guidewire (DG) has been reported to be useful after failed standard biliary cannulation. Objective: To compare cannulation time, success rate, post-ERCP serum amylase level, and complication rate between DG and PS techniques in difficult biliary cannulation. Methods: Patients who failed biliary cannulation within 10 minutes were randomized into DG or PS groups. Patients with altered surgical anatomy, obstructed pancreatic duct, and history of pancreatitis were excluded. Results: Forty patients were randomized, 22 in DG and 18 in PS groups. The mean cannulation time are 147.5 and 346.1 seconds in DG and PS group, respectively (p < 0.001). Success rates are 72.7% in DG and 83.3% in PS group (p = 0.424). Pancreatitis occurs in 18.2% in DG and 5.6% in PS group (p = 0.355). The mean level of serum amylase at 24 hours after ERCP is 1173.2 and 239.2 mg/dL in DG and PS, respectively (p < 0.001). Conclusion: Double wire cannulation provides significant shorter duration of biliary cannulation and similar success rate as compared with precut technique. Post-ERCP serum amylase level in the double guide-wire group was significantly higher but the rate of clinically significant pancreatitis was not statistically difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18157
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phonthep_an.pdf16.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.