Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18246
Title: การส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีความผิดเกี่ยวกับอากาศยาน
Other Titles: Extradition in case of offences relating to aircraft
Authors: เฉลิม นพเก้า
Advisors: สุผานิต มั่นศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2500
ส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ผู้ร้ายข้ามแดน
ความผิดเกี่ยวกับอากาศยาน
เขตอำนาจศาล (กฎหมายระหว่างประเทศ)
จี้เครื่องบิน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานและชีวิตของเจ้าหน้าที่ในอากาศยานตลอดจนผู้โดยสารเท่านั้น แต่เป็นภยันตรายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือนทั่วๆ ไปด้วยโดยเฉพาะความผิดฐานจี้อากาศยานนั้น เป็นความผิดต่อมหาชนทั่วไป ผู้กระทำความผิดถือเป็นศัตรูต่อมนุษยชาติ ลักษณะของการกระทำความผิดนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายนานาชาติ ซึ่งโดยหลักมูลฐานของความผิดประเภทนี้ ทำให้รัฐบาลทุกรัฐมีข้อผูกมัดที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดได้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานในปัจจุบันนี้ปรากฏในอนุสัญญาในความผิดเกี่ยวกับอากาศยาน 3 ฉบับได้แก่ 1. อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและกระทำอื่นๆ บางประการที่กระทำบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 2. อนุสัญญา เพื่อการปราบปรามการยึดอากาศยานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค.ศ. 1970 3. อนุสัญญาเพื่อการปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน ค.ศ. 1971ในอนุสัญญาแหล่านี้ได้กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับอากาศยานไว้ ซึ่งมีหลายประเกท เช่น การจี้อากาศยาน การยึดครองอากาศยาน การก่อวินาศกรรม และการโจมตีทางภาคพื้นดิน การกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานนั้น สามารถกระทำได้ทั้งในขณะที่อากาศยานจอดอยู่ที่พื้นดิน และขณะที่อากาศยานกำลังทำการบินอยู่ มูลเหตุจูงใจของผู้กระทำความผิดมีทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว และวัตถุประสงค์ในทางการเมืองแอบแฝงอยู่ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานเป็นความผิดในทางการเมืองหรือไม่ แต่เนื่องด้วยลักษณะของความผิดประเภทนี้ผู้กระทำความผิดสามารถหลบหนีจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้โดยง่าย จึงเกิดปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของการกระทำความผิดนี้ฐานนี้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจะไม่ทำการส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันในความผิดทางการเมือง และความผิดในทางการเมืองนั้นหลายประเทศยึดถือหลักเกณฑ์แตกต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานอ้างว่าได้กระทำความผิดในทางการเมือง เพื่อได้รับการคุ้มครองในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในการกระทำความผิดฐานนี้ ลักษณะของความผิดเกิดขึ้นและเกี่ยวเนื่องกันหลายรัฐตั้งแต่เกิดการกระทำความผิดจนสิ้นสุดการกระทำความผิด รัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงอ้างเขตอำนาจศาลเหนือการกระทำความผิดนั้น โดยอ้างถึงเขตอำนาจศาลเหนืออาณาเขตเขตอำนาจศาลเหนือบุคคล และเขตอำนาจศาลสากล เป็นเหตุให้รัฐมากกว่าหนึ่งรัฐมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานนี้ ก่อให้เกิดปัญหาว่ารัฐใดควรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีก่อน ดังนี้ในการพิจารณาจึงต้องพิจารณาถึงรัฐใดที่เสียหายและเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดใกล้ชิดที่สุดความผิดที่กระทำกับอากาศยานถือเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันลงโทษผู้กระทำความผิดโดยอาศัยหลักการลงโทษสากล เช่นเดียวกับ ความผิดฐานโจรสลัด ถ้าผู้กระทำความผิดหลบหนีไปยังรัฐใดๆ ก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของรัฐนั้นจะต้องพิจารณาพิพากษาลงโทษได้ แต่ถ้ารัฐใดที่มีความเสียหายประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดและร้องขอให้รัฐที่ผู้กระทำความผิดปรากฏตัวอยู่ส่งผู้ร้ายแดนไปให้ก็มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้ แต่ในการส่งคนร้ายข้ามแดนให้แก่กันนั้นโดยหลักทั่วไปแล้วจะพิจารณาถึงสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันนั้นจะปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในกรณีที่เกิดความผิดในทางอาญาประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันได้ เช่น ความผิดฐานจี้อากาศยานเป็นต้น การกำหนดเงื่อนไขในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ควรจะกำหนดอัตราโทษแทนที่จะกำหนดลักษณะความผิด จึงจะเป็นการเหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน อนุสัญญาการกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานทั้ง 3 ฉบับ มีเจตนารมณ์ที่จะให้มีการาส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันในความผิดเกี่ยวกับอากาศยาน โดยเฉพาะในอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1970 และอนุสัญญากรุงม่อนทรีล ค.ศ. 1971 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้ง ดังนั้นประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว ต้องบัญญัติกฎหมายภายในรองรับเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเหล่านั้น ในส่วนของประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 แต่ไม่ได้บัญญัติกฎหมายไว้แจ้งชัดว่าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ ในการพิจารณาส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเทศไทยนั้น เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ได้ทำไว้กับประเทศต่างๆ ถ้าไม่มีสนธิสัญญาต่อกันก็พิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 การกระทำความผิดเกี่ยวกับอากาศยานนั้นไม่มี อนุสัญญาฉบับใดที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศ ว่าให้เป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ คงมีแต่ความผิดฐานยึดอากาศยานที่ปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่ประเทศไทยทำกับประเทศฟิลิปปินส์ ได้บัญญัติว่าเป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ประเทศไทยได้ทำกับประเทศอังกฤษ อเมริกา เบลเยี่ยม และอินโดนีเซียโดยบัญญัติอัตราโทษไว้เป็นเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กรณีเช่นนี้สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้กับประเทศต่างๆ ได้ เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับอากาศยานได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วนความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 แล้ว และความผิดทุกประเภทในพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดอัตราโทษไว้แล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี
Other Abstract: The offences relating to aircraft not only endanger the safety of the plane and the lives of its crew and passengers, but also the safety of civil aviation generally. Especially aircraft hijacking constitutes a crime against humanity. As such hijackers are enemies of mankind, "hostes humani generis". The crime consti-tutes an offence against a juridical value, human and universal, which characterizes the crime, "Juris gentium", above any individual interest. And the fundamental characteristic of every offence "Juris gentium" is the obligatory punishment of the offender by all states, where ever the offence is committed. At the present time, the international conventions which deal with international offences relating to aircraft are to be founded in 3 conventions. 1. Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on board Aircraft 1963. 2. Convention for the Suppression of Unlawful Seizure of Aircraft 1970. 3. Convention for the Suppression of Unlawful Acts Against the Safety of Civil Aviation 1971. The above conventions provide for offences relating to aircraft, such as aircraft hijacking, seizure, sabotage and ground attack. The offences cover both aircraft in flight and on the ground. The motive of the offender may be for private profit or political aim. It is dificult to identify whether it is a political crime or not. However in this case offenders can easily escape from one to another state and this gives rise to an extradition problem. The general principle of extradition is that there should be no surrender of those involved in poli¬tical crimes, although each state provides different rules. Offenders can, therefore, argue that their act is a political crime for exemption from extradition. This offence raises many transnational problems, such as state jurisdiction, territorial jurisdiction, personal jurisdiction and universal jurisdiction. The foremost consideration for prosecution of the offender should be the state which has the closest links with the act. Offences relating to aircraft are international crimes for which every state must cooperate based upon the belief that piracy gives rise to universal jurisdiction. If offenders escape to another state, that state must punish them. And in the case where the offender appears in any state, another state can request extradition. An extradition has to take into account treaties, agreements, customs and reciprocity. Extraditable offences tend to appear in conventions of extradition. A problem arises concerning new offences which are not extraditable, e.g. aircraft hijacking. One should fix penal sentences rather than categories crimes. The three con¬ventions relating to aircraft are intended to extradite the offender, especialy the Hague convention and the Motreal con¬vention. As a result, Thailand, as a state party of those conventions has enacted a law relating to aircrafts offences in B.E. 2521 (1978), but it is not clear on matters of extradition. Generally, Thai extradition depends upon treaties which Thai government agrees with other states. If there are no treaties, we consider using the extradition Law 1929. None of the Thai extradition treaties cover the crime relating to aircraft except the treaty with the Philippines which includes seizure of aircraft as part of extradition. We should review the extradition treaties which we have with Great Britian Kingdom, United States of America, Belgium and Republic of Indonesia. In such cases we should legislate on the sentences for extradition, because it is already stipulated in the law relating to offences concerning aircrafts that sentences of not less than one year can be imposed.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18246
ISBN: 9745666173
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalerm_No_front.pdf375.08 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch1.pdf542.44 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch2.pdf767.27 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch3.pdf843.67 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch5.pdf555.04 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_ch6.pdf340.99 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_No_back.pdf652.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.