Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.authorภัทรภร พันธุ์ภักดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-21T14:16:53Z-
dc.date.available2012-03-21T14:16:53Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18335-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการออกแบบและกิจกรรมสปามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แต่การออกแบบสปาในประเทศไทยยังไม่มีแนวทางการออกแบบอย่างเป็นรูปธรรม ร่างกายจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในสภาวะน่าสบาย ผลการศึกษากรณีตัวอย่าง 25 สปาที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร พบว่า ความผ่อนคลายเกิดจากการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะความรู้สึกของผิวกาย การรับรู้ทางสายตา และเสียง เมื่อมีเสื้อผ้าน้อยและกิจกรรมนอนราบ การศึกษาเก็บข้อมูลรายละเอียดปัจจัยสำคัญในการออกแบบจากสปากรณีศึกษา 3 แห่ง จากสปาตัวอย่าง 25 แห่ง พบว่า ปัจจัยด้านความรู้สึกของผิวกาย ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย ปัจจัยด้านการรับรู้ทางสายตา ได้แก่ ความสว่าง ความเข้มของความสว่าง การสะท้อนแสง และความเปรียบต่างของมุมมองที่เห็น และปัจจัยด้านเสียง ได้แก่ ความดังของเสียง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 25-30 คน ซึ่งพบว่าสปากรณีศึกษา 3 แห่งมีปัจจัยด้านสภาวะความสบาย ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ 23-27 องศาเซลเซียส, ความชื้นสัมพัทธ์ 47-55 % , อุณหภูมิผิวผนังเฉลี่ย 23-28 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 0.9 เมตร/วินาที และอุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ย 25-27 องศาเซลเซียส ปัจจัยด้านความสว่าง ได้แก่ ความสว่างจากผนัง 3-17 ลูเมน/ตารางเมตร, ความสว่างจากเพดาน 3-9 ลูเมน/ตารางเมตร, ความสว่างจากพื้น 2-4 ลูเมน/ตารางเมตร ปัจจัยความเข้มของความสว่าง ได้แก่ ความเข้มของความสว่างจากผนัง 1-5 แคนเดลา/ตารางเมตร, ความเข้มของความสว่างจากเพดาน 1-5 แคนเดลา/ตารางเมตร, ความเข้มของความสว่างจากพื้น 1-2 แคนเดลา/ตารางเมตร ปัจจัยด้านการสะท้อนแสงได้แก่ การสะท้อนแสงจากผนัง 26-47 %, การสะท้อนแสงจากเพดาน 34-62 %, การสะท้อนแสงจากพื้น 41-70 % ปัจจัยด้านความเปรียบต่างของรูปภาพศิลป์ 1:3 และปัจจัยด้านความดังของเสียงเพลงบรรเลง 45-58 dBA การออกแบบห้องนวดสปาต้นแบบโดยใช้ปัจจัยจากกรณีศึกษาด้านผิวกาย, ด้านสายตา และด้านหู เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 25 คน กำหนดกิจกรรม 0.8 MET ค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าที่สวมใส่ 0.2-0.25 clo-value ปัจจัยด้านผิวกายได้แก่ อุณหภูมิอากาศ 26-27 องศาเซลเซียส, ความชื้นสัมพัทธ์ 46-49 % , อุณหภูมิผิวผนังเฉลี่ย 27-28 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 0.9 -2.9 เมตร/วินาที และอุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ย 25-27 องศาเซลเซียส ปัจจัยด้านความสว่าง ได้แก่ ความสว่างจากผนัง 16-63 ลูเมน/ตารางเมตร, ความสว่างจากเพดาน 8-85 ลูเมน/ตารางเมตร, ความสว่างจากพื้น 4-7 ลูเมน/ตารางเมตร ปัจจัยความเข้มของความสว่าง ได้แก่ ความเข้มของความสว่างจากผนัง 5-52 แคนเดลา/ตารางเมตร, ความเข้มของความสว่างจากเพดาน 5-78 แคนเดลา/ตารางเมตร, ความเข้มของความสว่างจากพื้น 1-3 แคนเดลา/ตารางเมตร ปัจจัยด้านการสะท้อนแสงได้แก่ การสะท้อนแสงจากผนัง 31-82 %, การสะท้อนแสงจากเพดาน 62-92 %, การสะท้อนแสงจากพื้น 33-42 % ปัจจัยด้านความเปรียบต่างของสวนและรูปภาพศิลป์ 1:3 และปัจจัยด้านความดังของเสียงธรรมชาติและเสียงเพลงบรรเลง 51-54 dBA ผลจากการศึกษาพบว่า ร่างกายจะรู้สึกสบายจากประสาทสัมผัสโดยเฉพาะความรู้สึกของผิวกาย การรับรู้ทางสายตา และเสียง โดยที่ค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้าที่สวมใส่จำนวนน้อยชิ้น กิจกรรมที่สบายๆ 0.8 Met ที่จะทำให้ร่างกายนำไปสู่ความผ่อนคลายในที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe objective of spa is to relax people but none of knowledge would prove how to design to make people relax. It is found that if people have a good thermal comfort condition, human body would feel relax. From 25 famous spas in Bangkok, appropriate comfort for human perceptions of touch, visual, and sound, would make body relax. Only 3 selected spas were evaluated in details. It results that activity and clo-value are fixed variable. The dependent variables are 1) air temperature, relative humidity, wind speed, and mean radiant temperature (MRT) for touch, 2) illumination, intensity, reflection, and contrast for visual, and 3) sound pressure level for sound. Data were collected from 25-30 people as random selection to find out the comfort condition of each factor in 3 selected spas. It is found that 3 selected spas have: air temperature around 23 – 27 oC, relative humidity 47-55 %, and 23-28 oC of wall surface temperature, 0.9 m/s of wind speed, 25-27 oC of floor surface temperature as mean radiant temperature impact, 2) 3-17 lumen/m2 of illumination of wall, 3-9 lumen/m2 of ceiling, 2-4 lumen/m2 of floor, 1-5 cd/m2 of intensity of wall, 1-5 cd/m2 of ceiling, 1-2 cd/m2 of floor, 26-47 % of reflection of wall, 34-62 % of ceiling, 41-70 % of floor, and 1:3 of contrast for picture, and 3) 45-58 dBA of classical music. Thermal, visual, and acoustical properties were analyzed and used for a spa prototype design. Then, the spa prototype was tested by 25 people randomly. With 0.2-0.25 clo-value and 0.8 MET, the conditions of each factor are: air temperature around 26 – 27 oC, relative humidity 46-49 %, and 27-28 oC of wall surface temperature, 0.9-2.9 m/s of wind speed, 25-27 oC of floor surface temperature as mean radiant temperature impact, 2) 16-63 lumen/m2 of illumination of wall, 8-85 lumen/m2 of ceiling, 4-7 lumen/m2 of floor, 5-52 cd/m2 of intensity of wall, 5-78 cd/m2 of ceiling, 1-3 cd/m2 of floor, 31-82 % of reflection of wall, 62-92 % of ceiling, 33-42 % of floor, and 1:3 of contrast for garden, and 3) 51-54 dBA of natural sound or classical Thai music. As results, whenever body feels comfort from touch, visual, and sound with less clo-value and 0.8 MET, it would relax and enjoy spa.en
dc.format.extent22082588 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.308-
dc.subjectการตกแต่งภายใน-
dc.subjectธุรกิจสปา -- การตกแต่ง-
dc.subjectInterior decoration-
dc.subjectSpa business -- Decoration-
dc.titleปัจจัยสำคัญในการออกแบบห้องนวดสปาเพื่อความผ่อนคลายen
dc.title.alternativeMajor Relaxation Parameters Design Guideline in Spa Massage Room for Relaxingen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSoontorn.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.308-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phattaraporn_ph.pdf21.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.