Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18337
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชนี เชยจรรยา | - |
dc.contributor.author | พฤกษา เกษมสารคุณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ลำปาง | - |
dc.coverage.spatial | แม่เมาะ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-21T14:22:19Z | - |
dc.date.available | 2012-03-21T14:22:19Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18337 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ (2) ศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ ทัศนคติและการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะของชุมชน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ ทัศนคติและการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะของชุมชน การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ที่ได้จากเอกสาร บทความและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง “การรับรู้ ทัศนคติ และการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะของชุมชน” ใช้การวิจัย 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบจัดกลุ่มสนทนาผู้นำทางความคิดของชุมชน และ การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบ กฟผ.แม่เมาะ 400 คน และนำผลการวิจัยทั้ง 2 ส่วน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความสอดคล้องกัน ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะนั้น พบว่ามีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้เพื่อปรับทัศนคติและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน สามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ได้ 2 ประเภท คือ (1) กลยุทธ์เกี่ยวกับการใช้สื่อ (2) กลยุทธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ ผลการศึกษาในส่วนของการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะของชุมชน พบว่าการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะของกลุ่มผู้นำทางความคิดและกลุ่มตัวอย่างมีความสอดคล้องกัน (1) ชุมชนมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะในระดับต่ำ โดยรับรู้จากสื่อบุคคลและป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดต่างๆมากที่สุด (2) ชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อ กฟผ.แม่เมาะ โดยมีทัศนคติที่ดีต่อกฟผ.แม่เมาะที่ทำให้ อ.แม่เมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้กับชุมชน และ เป็นแหล่งจ้างงานทำให้คนในชุมชนมีงานทำ (3) ชุมชนมีการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะอยู่ในระดับปานกลาง (4) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติที่มีต่อ กฟผ.แม่เมาะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมากถึงระดับปานกลางแตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (5) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมากถึงระดับปานกลางแตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (6) ทัศนคติที่มีต่อ กฟผ.แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับ กฟผ.แม่เมาะ | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research aimed to study (1) the corporate social responsibility strategies of EGAT in Mae Moh community (2) the community perceptions, and attitudes and acceptances towards the corporate social responsibility activities of EGAT in Mae Moh community (3) the relationship between the community perceptions, and attitudes and acceptances towards the corporate social responsibility activities of EGAT in Mae Moh community. This research was divided in two parts which comprised qualitative and quantitative research. The first part is qualitative research. Data were collected from in-depth interviews with EGAT staffs in Mae Moh community and from documentary research. The second part is quantitative research which applied a survey research method by collecting data from 400 questionnaires which took the opinions of a sampling group in Mae Moh community and used community leader group discussion process. After that, the results of both researches were compared and analyzed. The research results revealed two strategies of the corporate social responsibility of EGAT in Mae Moh community which were mass media strategy and public relation strategy. The result of the community perceptions, and attitudes and acceptances towards the corporate social responsibility activities of EGAT in Mae Moh community revealed people in the community get the EGAT corporate social responsibility activities information through a wide range of media at a low level. However, the highest level of mass media which people always received information were from public relation staffs and poster. The result also showed that people in the community had positive attitudes towards EGAT in Mae Moh because of income from tourists, a sense of pride in their community and employment in EGAT. Moreover, EGAT has a medium level of community acceptance. Similarly to knowledge perception of corporate social responsibility activities of EGAT in Mae Moh, the level of the attitudes of people in the community towards EGAT was low to medium depends on each media. Moreover, the low to medium level of knowledge perception of corporate social responsibility activities of EGAT in Mae Moh was similar to the EGAT acceptance of people in community depends on each media. Finally the attitudes towards EGAT in Mah Moh were in medium level in line with the EGAT acceptance. | en |
dc.format.extent | 3863889 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.426 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | - |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ | - |
dc.subject | Electricity Generating Authority of Thailand | - |
dc.subject | Social responsibility of business | - |
dc.title | การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | en |
dc.title.alternative | The use of corporate social resonsibility concept by egat in Mae Moh community, Lampang province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Patchanee.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.426 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phrugsa_ga.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.