Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18437
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลวิชาสังคมศึกษา วิชาวิธีสอนสังคมศึกษากับการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: Relationships among achievement in social studies courses, method of teaching social studies and practice teaching social studies of Ramkhamheang University student teachers
Authors: นพพร พานิชสุข
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฝึกสอน
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลวิชาสังคมศึกษา วิชาวิธีสอนสังคมศึกษากับการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ทำการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาเอก และศึกษาปัญหาและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสังคมศึกษา วิชาวิธีสอนสังคมศึกษาและการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้นำคะแนนวิชาสังคมศึกษา วิชาวิธีสอนสังคมศึกษาและการฝึกสอนสังคมศึกษาจากระเบียบสะสมของกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 62 คน ที่ออกฝึกสอนในปีการศึกษา 2521 มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าร้อยละ และแสดงในตารางแบบสองทางและได้ให้กลุ่มตัวอย่างประชากรตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องระหว่างการเรียนวิชาสังคมศึกษา วิชาวิธีสอนสังคมศึกษาและการฝึกสอน กับปัญหาในการเรียนวิชาเหล่านี้ของกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองและเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบเติมคำหรือข้อความแล้วได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยคำตอบ (x¯) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วนำเสนอในรูปตารางผสมความเรียง ผลการวิจัย 1) ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชาสังคมศึกษากับคะแนนการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษา ปรากฏว่า นักศึกษาที่ได้คะแนน P ในวิชาสังคมศึกษาและในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาด้วย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 84.48 ในขณะที่มีนักศึกษาได้คะแนน G ในวิชาสังคมศึกษาและในการฝึกสอนด้วย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 14.52 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษากับคะแนนการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษา ปรากฏว่ามีนักศึกษาได้คะแนน P ในวิชาวิธีสอนสังคมศึกษาและในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาด้วยคิดเป็นจำนวนร้อยละ 82.26 ขณะที่นักศึกษาได้คะแนน P ในวิชาวิธีสอนสังคมศึกษาแต่ได้คะแนน G ในการฝึกสอนคิดเป็นจำนวนร้อยละ 14.00 กับนักศึกษาวิชาได้คะแนน G ในวิชาวิธีสอนสังคมศึกษาและการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาคิดเป็นจำนวนร้อยละ 3.23 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องของการเรียนหมวดวิชาสังคมศึกษากับการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษานั้น นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า วิชาสังคมศึกษาที่นำมาใช้ในการฝึกสอนสังคมศึกษาอยู่ในระดับปานกลางมีจำนวน 7 วิชา เช่น วิชาภูมิศาสตร์กายภาพ, ภูมิศาสตร์ประเทศไทย, หลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นต้น วิชาสังคมศึกษาที่นักศึกษานำมาใช้ในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาอยู่ในระดับน้อย มีจำนวน 14 วิชา เช่น วิชาประวัติศาสตร์ไทย, ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ พัฒนาชุมชน เป็นต้น และวิชาสังคมศึกษาที่นักศึกษานำมาใช้ในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด มีจำนวน 4 วิชา ได้แก่ วิชาวิเคราะห์เหตุการณ์ปัจจุบันของโลก, ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกสมัยใหม่, ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยปัจจุบัน, ประวัติศาสตร์สหรัฐในศตวรรษที่ 20 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องของการเรียนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษากับการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษานั้น นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การเรียนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษา นักศึกษานำมาใช้ในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัญหาการเรียนหมวดวิชาสังคมศึกษาในส่วนที่สัมพันธ์กับการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษา คือ การเรียนวิชาเนื้อหาต่างๆในหมวดวิชาสังคมศึกษายังไม่ลึกซึ้งเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการฝึกสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) ปัญหาการเรียนวิชาวิธีสอนสังคมศึกษา คือความรู้ในเรื่องการเรียนวิธีสอนแบบต่างๆ ตลอดจนการใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อนำไปใช้ในการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษายังไม่ลึกซึ้งเพียงพอ 7) ปัญหาด้านการฝึกสอนวิชาสังคมศึกษา คือ นักเรียนบางคนยังขาดความตั้งใจและสนใจในการเรียนวิชาสังคมศึกษา
Other Abstract: Purposes: The purposes of this research were to study the relationships among achievement in Social Studies Courses, Method of Teaching Social Studies, and the Practice of Teaching Social Studies of Ramkhamheang University Student Teachers, and to study problems concerning the instruction of Social Studies Courses and Method of Teaching Social Studies, and the Practice of Teaching Social Studies of Ramkhamheang University. Procedures: Achievement grade in Social Studies Courses, Method of Teaching Social Studies, and Practice of Teaching Social Studies of 62 Ramkhamheang social studies student teachers of 1978 academic year were collected from the cumulative records, analyzed statistically by percentage and presented in two-way tables in order to determine the relationships among those grades. Then a questionnaire constructed by the researcher was administered to the sampled student teachers to identify their opinions concerning the relationships among these grades. The data obtained was analyzed by percentage, arithmetic, standard deviation, and presented descriptively. Findings: 1. 84.48% of Ramkhamheang University social studies student teachers got passing grades (P or Pass) in Social Studies Courses as well as in the Practice of Teaching Social Studies while 14.52% of them got above passing grades (G or Good) in both areas. 2. 82.26% of Ramkhamheang University social studies student teachers got passing grades (P) in Method of Teaching Social Studies and in Practice of Teaching Social Studies as well, while 14.00% of them got passing grades (P or Pass) in Method of Teaching Social Studies but got above passing grades (G or Good) in Practice of Teaching Social Studies. The other 3.23% of them got above passing grades (G or Good) in both areas. 3. The samples social studies student teachers opined that the applicability of 7 social studies courses in their practice of teaching was moderate, the 24 courses was low and the last 4 courses was lowest. On the other hand, they opined that the applicability of method of teaching course in the practice of teaching was moderate. 4. The social studies student teachers encountered the following problems concerning the study of Social Studies Courses, Method of Teaching Social Studies, and the Practice of Teaching: 4.1 the contents of Social Studies Courses did not correspond with that of the lessons to be practiced during their student teaching. 4.2 the social studies student teachers had not learned enough from Method of Teaching Social Studies about various methods of teaching and use of instructional media so that they could apply in their practice of teaching. 4.3 the pupils in classes that the student teachers practiced teaching were not interested in social studies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18437
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopporn_Pa_front.pdf382 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_ch1.pdf490.28 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_ch2.pdf660.28 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_ch3.pdf281.59 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_ch4.pdf536.09 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_ch5.pdf898.19 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_Pa_back.pdf590.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.