Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.advisorศรีสมวงศ์ วรรณศิลปิน-
dc.contributor.authorธิดา จิวถนอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T03:19:15Z-
dc.date.available2012-03-24T03:19:15Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745639222-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18479-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลกุมารเวช ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลกุมารเวช รวมทั้งศึกษาลำดับความสำคัญของลักษณะที่จำเป็นของพยาบาลกุมารเวชตามความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารการพยาบาล จำนวน 80 คน อาจารย์พยาบาล จำนวน 80 คนและพยาบาลกุมารเวช จำนวน 140 คน จากโรงพยาบาลของรัฐและองค์การเอกชน ซึ่งมีสถาบันการศึกษาพยาบาลที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการประมาณขนาดตัวอย่างประชากรตามตารางการสุ่มตัวอย่างของ มอร์แกน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง หาความตรงตามเนื้อหาโดยอาศัยการตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน ซึ่งเนื้อหาของแบบสอบถามครอบคลุมลักษณะของพยาบาลกุมารเวช 3 ด้าน คือด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ และด้านจรรยาบรรณ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่า อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ภายหลังทดสอบความแปรปรวน โดยการทดสอบวิธีของตูกี (บี) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวชมีความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลกุมารเวชในด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านบุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ และด้านจรรยาบรรณอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกกลุ่ม โดยอาจารย์พยาบาล มีความคิดเห็นด้วยในระดับสูงกว่าผู้บริหารการพยาบาล และพยาบาลกุมารเวชทั้ง 3 ด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง ความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลกุมารเวชมีดังนี้ 2.1 ความคิดเห็นด้านการปฏิบัติการพยาบาลของทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมุติฐานในข้อที่ 1 เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างผู้บริหารการพยาบาลกับอาจารย์พยาบาล และอาจารย์พยาบาลกับพยาบาลกุมารเวช ส่วนผู้บริหารการพยาบาล กับพยาบาลกุมารเวช มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 ความคิดเห็นด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ของทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่สนองสมมุติฐานในข้อที่ 2 เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่าผู้บริหารการพยาบาลกับอาจารย์พยาบาล และผู้บริหารการพยาบาลกับพยาบาลกุมารเวช มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่อาจารย์พยาบาลกับพยาบาลกุมารเวช มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01. 2.3 ความคิดเห็นด้านจรรยาบรรณของทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่สนองสมมุติฐานในข้อที่ 3 เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่าผู้บริหารการพยาบาลและพยาบาลกุมารเวช มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่อาจารย์พยาบาล มีความคิดเห็นด้วยในระดับสูงแตกต่างจากผู้บริหารการพยาบาล และพยาบาลกุมารเวช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ. 3. การจัดลำดับความสำคัญของลักษณะที่จำเป็นของพยาบาลกุมารเวชตามความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช ทั้ง 3 กลุ่ม ให้ความสำคัญในระดับมาก 5 ลำดับแรกคือ 1. มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรม และอาการเปลี่ยนแปลงของเด็กป่วยเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที 2. มีความรู้และความเข้าใจถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของเด็กได้อย่างครบถ้วนจากข้อมูลที่รวบรวมได้ 4. รักและศรัทธาในวิชาชีพพยาบาล และการพยาบาลกุมารเวช 5. มีความคล่องตัว กระฉับกระเฉง ว่องไวและตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis were to study concerning desirable characteristics of Pediatric nurses and compare the opinions concerning desirable characteristics of nursing administrators, nursing instructors and Pediatric nurses, and to study the sequence of the essential characteristics of Pediatric nurses. The research samples consisted of 80 nursing administrators, 80 nursing instructors and 140 Pediatric nurses, selected by simple random sampling from the population in the government and private hospitals in Bangkok Metropolis, these hospitals must closely related to the nursing schools. The questionnaires used in this study was developed by the researcher and had been validity for its by 10 experts. The content of the questionnaires was about nursing practice, personality and human relation and professional ethics. Percentage, Arithmetic mean, standard deviation, one way analysis of variance, and Tukey (b)’ Method were statistical procedures used to analyze data in this study. The major findings were as follows: 1. The opinions of nursing administrators, nursing instructors and Pediatric nurses concerning desirable characteristics of pediatric nurse indicated in the questionnaire were at the strongly agree level in every aspects i.e. nursing practice, personality and human relation and professional ethics. 2. The comparison of the means of nursing administrators’ nursing instructors’ and pediatric nurses’ opinions concerning the desirable characteristics of Pediatric nurses showed that; 2.1 The means of the opinions concerning the characteristics related to nursing practice aspects of the 3 research sample groups were statistically different at the .01 level. Thus, the first research hypothesis was accepted. When comparing between each two groups, there was significant difference between the means of the nursing administrators’ and nursing instructors’ opinions, and the means of nursing instructors’ and Pediatric nurses’ opinions. There wasn’t significant difference between the means of nursing administrators’ and Pediatric nurses’ opinions. 2.2 There was significant difference between the means of the opinions of personality and human relation of nursing administrators, nursing instructors and Pediatric nurses. Thus, the second research hypothesis was rejected. When comparing between each groups, there was significant difference between the means of nursing instructors and Pediatric nurses opinions at the .01 level. There wasn’t significant difference between nursing administrators’ and nursing instructors’ opinions, and nursing administrators’ and Pediatric nurses’ opinions. 2.3 The mean of the opinions concerning the characteristics related to professional ethics aspects of the 3 research sample groups were statistically different at the .01 level. Thus, the third research hypothesis was rejected. When Comparing between each two groups, there wasn’t significant difference between the means of nursing administrators’ and Pediatric nurses’ opinions, There were significant difference between the means of nursing instructors’ and nursing administrator’ opinions at the .05 level, and the means of nursing instructors’ and pediatric nurses’ opinions at the .01 level. 3. The opinions of nursing administrators, nursing instructors and Pediatric nurses concerning the sequence of essential characteristics of Pediatric nurses were: 1. possessing the observation skill, the skill in recognizing the ever changing signs and symptoms of sick children and able to give nursing care immediately. 2. Knowing and understanding the physical and psychological growth and development of children. 3. Able to analyze the collected data in order to find the child’s problems and needs. 4. Hold the positive attitude and value the nursing profession. 5. Active and able to make appropriate decision at the appropriate time.-
dc.format.extent381039 bytes-
dc.format.extent455100 bytes-
dc.format.extent897174 bytes-
dc.format.extent381342 bytes-
dc.format.extent652383 bytes-
dc.format.extent726763 bytes-
dc.format.extent654493 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en
dc.subjectพยาบาลen
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์พยาบาล และพยาบาลกุมารเวช เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของพยาบาลกุมารเวชen
dc.title.alternativeOpinions of nursing administrators, nursing instructors and pediatric nurses concerning desirable characteristics of pediatric nursesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tida_Ji_front.pdf372.11 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_ch1.pdf444.43 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_ch2.pdf876.15 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_ch3.pdf372.4 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_ch4.pdf637.09 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_ch5.pdf709.73 kBAdobe PDFView/Open
Tida_Ji_back.pdf639.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.