Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18540
Title: การเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตเมืองกับโรงเรียนเขตชนบทในจังหวัดเชียงราย
Other Titles: A comparison of group working behaviors of prathom suksa six students in urban and rural schools in Changwat Chiang Rai
Authors: ทิพย์วัลย์ สมแดง
Advisors: ทิศนา แขมมณี
น้อมศรี เคท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tisana.K@chula.ac.th
Normsri.C@Chula.ac.th
Subjects: การทำงานเป็นทีม
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตเมืองกับโรงเรียนเขตชนบทในจังหวัดเชียงราย ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2528 จำนวน 58 กลุ่ม เป็นนักเรียนในโรงเรียนเขตเมือง จำนวน 29 กลุ่ม ในโรงเรียนเขตชนบท จำนวน 29 กลุ่ม ครูผู้สอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 58 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกตและแบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน รวมทั้งแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการศึกษาสถานการณ์จริงในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สัมภาษณ์นักเรียนและสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนในชั้นเรียนที่ทำการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าไคสแควร์ (X2) และหาค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มนักเรียนทั้งในโรงเรียนเขตเมืองและเขตชนบท ทำงานกลุ่มในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเป็นส่วนใหญ่ ใช้เวลาในการทำงานกลุ่ม ส่วนใหญ่ 11-20 นาทีและจำนวนสมาชิกกลุ่มในโรงเรียนเขตเมืองส่วนใหญ่มี 6-8 คน แต่ในโรงเรียนเขตชนบทส่วนใหญ่มี 3-5 คน 2. กลุ่มนักเรียนทั้งในโรงเรียนเขตเมืองและเขตชนบท แสดงพฤติกรรมการทำงานกลุ่มสูงสุด 24 รายการ ต่ำสุด 11 รายการ จาก 30 รายการ เฉลี่ยแล้วมีการแสดงพฤติกรรม 18 รายการ ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไปในการทำงานกลุ่ม กลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งในโรงเรียนเขตเมืองและเขตชนบท แสดงออกในระดับ ดี 3. เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มระหว่างกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเขตเมืองกับเขตชนบท จากจำนวน 30 รายการพบว่า พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อยู่เพียงรายการเดียวคือ พฤติกรรมการให้ความเห็นเพื่อเป็นการสรุป และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไปในการทำงานกลุ่ม ระหว่างกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเขตเมืองกับเขตชนบทจำนวน 7 รายการ พบว่าพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนทั้งสองเขต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 อยู่ 1 รายการคือ พฤติกรรมการปฏิบัติอย่างกระตือรือร้น คล่องแคล่วว่องไว 4. จากการสัมภาษณ์นักเรียนพบว่า นักเรียนได้ทำงานกลุ่มในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมากที่สุด บ่อยที่สุด รวมทั้งชอบทำงานกลุ่มมากที่สุดในกลุ่มประสบการณ์ ในการทำงานกลุ่ม ส่วนใหญ่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดการกลุ่มให้นักเรียนและนักเรียนชอบการจัดกลุ่มวิธีนี้ ซึ่งครูจะจัดให้มีทั้งหญิงและชายในกลุ่ม นักเรียนส่วนใหญ่ เคยเป็นหัวหน้ากลุ่ม และมักจะเลือกหัวหน้ากลุ่มกันเอง นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานกลุ่ม และชอบทำงานกลุ่ม ปัญหาในการทำงานกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับวิธีทำงานกลุ่ม เพื่อนร่วมกลุ่ม และเวลาในการทำงาน 5. จากการตอบแบบสอบถามของครูพบว่า ครูจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มเป็นประจำ แหล่งความรู้ที่ครูนำมาใช้ในการจัดการสอนได้จากเอกสารหลักสูตร สภาพปัญหาที่ครูพบในการจัดการสอนแบบกลุ่มในระดับมากมี 8 รายการ ใน 10 รายการ และปัญหาที่ครูต้องการแก้ไขในระดับมากมี 6 รายการใน 18 รายการ
Other Abstract: The purposes of this research were to study group working behaviors of Prathom Suksa six students in Changwat Chiang Rai and to compare group working behaviors of Prathom Suksa six students in urban and rural schools in Changwat Chiang Rai. The subjects were 58 groups of Prathom Suksa six students in the academic year 1985, in the schools under the jurisdiction of Chiang Rai provincial primary Education Office. The subjects were composed of 29 groups of students in urban schools and 29 groups of students in rural schools, and the 58 teachers who taught those 58 groups of students. The subjects were selected by using the multistage random sampling technique. The research instruments were the Check list of Group working Behaviors, The Student Interview Form and The Questionnaires for Teachers. Existing status in group working behaviors of Prathom Suksa six students were observed. Students were interviewed by using the Students Interview Form, and the data from the teachers were collected by using the questionnaires. The data were statistically analyzed by using frequency, percentage, chi-square test, and mean. Results : 1. Students in urban and rural schools worked in groups most in the Area of Life Experience in the school curriculum. Group working time lasted 11-20 minutes. In the urban schools the size of group was 6-8 students, but in the rural schools the size was 3-5 students. 2. From the list of 30 items of group working behaviors, both groups of students in urban and rural schools demonstrated 24 groups working behaviors at the most, 11 group working behaviors at the least, and the average number of group working behaviors was 18. 3. There was a significant difference at the .05 level in 1 item out of 30 items of group working behaviors between the students in urban and rural schools, that was behavior concerning with group conclusion . And there was a significant difference at the .05 level in 1 item out of 7 items of the general characteristics in group working behaviors between both groups of students, that was behavior concerning with active participation in working. 4. From the interviews, most students worked in group in The Area of Life Experience. They also enjoyed working in this subject area. Normally groups were set up by teachers and were composed of boys and girls, which satisfied the students. Most students have had the opportunity in being leaders before and they were allowed to choose their own leaders. They had positive attitude toward group work, and they liked to work in groups. Some of the problems in group working were concerned with processes in group work, members of the groups and the working time allowed. 5. From the questionnaires responded by the teachers, it was found that teachers regularly used group work in teaching. The major source of knowledge the teachers acquired was from curriculum materials. According to the teachers’ opinions, there were 8 problems out of 10 problems which the teachers found in teaching and there were 6 problems out of 18 problems with needed to be solved most.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18540
ISBN: 9745660396
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tipwan_So_front.pdf522.91 kBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_ch1.pdf449.05 kBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_ch2.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_ch3.pdf452.78 kBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_ch4.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_ch5.pdf965.17 kBAdobe PDFView/Open
Tipwan_So_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.