Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพักตร์ผจง วัฒนสินธุ์-
dc.contributor.advisorอัจฉรา จันทร์ฉาย-
dc.contributor.advisorประกอบ คุปรัตน์-
dc.contributor.authorสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T08:44:02Z-
dc.date.available2012-03-24T08:44:02Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18604-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ และสร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย โดยทดสอบความสอดคล้องโมเดลสมการโครงสร้างของตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทยจำนวน 390 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL และสร้างแบบจำลองต้นไม้การตัดสินใจด้วยโปรแกรม WEKA และนำตัวบ่งชี้มาสร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทยที่ถูกเลือกแบบเจาะจงจำนวน 8 ราย รวมทั้งมีการใช้แนวคิด Technology Acceptance Model (TAM)ในการพัฒนาและทดสอบการยอมรับรูปแบบฯเชิงนวัตกรรมที่ถูกสร้างขึ้น ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยองค์ประกอบหลักทั้ง 4 องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ คือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บความรู้ และการใช้ความรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91, 0.98, 0.92 และ 0.93 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่านองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 24 องค์ประกอบ และ 80 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบย่อยความสามารถในการจัดการความรู้ทั้ง 6 ด้าน คือ เทคโนโลยี โครงสร้าง วัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญ การเรียนรู้ และสารสนเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการเมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยมีค่าความ สัมพันธ์เท่ากับ 0.506, 0.556, 0.593, 0.601, 0.591 และ 0.544 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์อิทธิพลเชิงสาเหตุขององค์ประกอบย่อยทั้ง 6 ด้าน กับความสามารถทางนวัตกรรม พบว่ามีเฉพาะ ความเชี่ยวชาญ การเรียนรู้ และสารสนเทศ เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อิทธิพลเชิงสาเหตุกับความสามารถทางนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลจากการใช้เทคนิคต้นไม้การตัดสินใจ พบว่า ความสามารถในการจัดการความรู้ด้านโครงสร้างและสารสนเทศ จะมีความสำคัญต่อการจำแนกระดับนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการ ประกอบด้วยแนวคิด หลักการ วิธีการ เครื่องมือ และแนวปฏิบัติ ได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยen
dc.description.abstractalternativeThis research aims at developing a Model of Knowledge Management Capability (KMC) of Innovative Entrepreneurs in Thailand; to use empirical data and to test the validity of the structural model of KMC indicators of innovative entrepreneurs in Thailand. The research sample consisted of 390 innovative entrepreneurs in Thailand. The purposive sampling method was used. The research data were collected by questionnaire and analyzed by descriptive statistics using SPSS, confirmatory factor analysis and second-order confirmatory factor analysis using LISREL. The KMC and innovation level evaluation were developed by decision tree model using WEKA. The indicators were used to create a model of KMC of innovative entrepreneurs in Thailand. Eight representative of innovative entrepreneurs in Thailand were objectively selected for in-depth interview. The model was developed and accepted by Technology Acceptance Model . The following conclusions were based on the finding of this research: The KMC model of innovative entrepreneurs in Thailand significantly correlated with the empirical data. The four main components of knowledge management process: Knowledge Acquisition, Knowledge Creation, Knowledge Storage and Knowledge Application, are considered to be important components of KMC of innovative entrepreneurs in Thailand. The factor loading is 0.91, 0.98, 0.92 and 0.93 consecutively. All four main components must pass through 24 minor components and 80 indicators. Besides, it is also found that through the six minor components of KMC: Technology, Structure, Culture, Expertise, Learning and Information, have positive correlation with the innovativeness of entrepreneurs judging through the Pearson Coefficient Correlation. The correlation value is equaled to 0.506, 0.556, 0.593, 0.601, 0.591 and 0.544 consecutively. However, by analyzing the impact correlation of six minor components, it is found that only Expertise, Learning and Information have positive impact with innovativeness significantly. From the decision tree model found that Structure and Information are very important to identify innovation level. The result from the in-depth interview of innovative entrepreneurs are utilized in developing the KMC model of innovative entrepreneurs in Thailand. The model comprises of concepts ,techniques, tools and methods to develop KMC through the six minor components of KMC. It is also accepted by entrepreneurs and KM experts in Thailand.en
dc.format.extent8601443 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.478-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้-
dc.titleรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทยen
dc.title.alternativeA model of knowledge management capability development of innovative entrepreneurs in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPakpachong.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAchara.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.478-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somnuk_au.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.