Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18716
Title: การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่
Other Titles: Corporate social respondsibility communication of tobacco business
Authors: กิติยา ปรัตถจริยา
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมบุหรี่
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
การสื่อสารทางธุรกิจ
Cigarette industry
Social responsibility of business
Business communication
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์เกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารและรูปแบบของกิจกรรมเกี่ยวกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) ของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่ที่ใช้ในการสื่อสารกับสาธารณชน โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Integrated Research) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากเว็บไซต์ผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการสื่อสารเกี่ยวกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่แบ่งออกเป็น 5 แนวทาง คือ การท าให้เป็นข่าว การใช้การสื่อสารผ่านบุคคล การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้การสื่อสารผ่านสื่อเฉพาะกิจ และการใช้การสื่อสารผ่านการจัดเหตุการณ์พิเศษ โดยกลุ่มเป้าหมายในการด าเนินกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กลุ่มผู้หญิงและองค์กรสตรี กลุ่มผู้ชายหรือนักกีฬาชาย และกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะกิจกรรม 5 ประเภท ประกอบด้วย กิจกรรมด้านการศึกษา กิจกรรมด้านสังคม กิจกรรมด้านกีฬา กิจกรรมด้านสาธารณสุข และ กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม 2. รูปแบบการสื่อสารเกี่ยวกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่ประกอบด้วย 6 รูปแบบ คือ 1) การบริจาคเงินให้กับมูลนิธิหรือหน่วยงานองค์กรสาธารณกุศล 2) การเพิ่มเงินลงทุนเพื่อการแลกเปลี่ยนแนวทางการด าเนินงานของบริษัทเพื่อสังคมโดยรวม 3) การสนับสนุนให้พนักงานของบริษัทเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับชุมชน 4)การเป็นผู้สนับสนุนในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมหรือตัวองค์กร 5)การบริจาคเงินจากส่วนแบ่งการขายสินค้าหรือบริการขององค์กรภายในช่วงเวลาที่ก าหนดให้กับองค์กรต่างๆในสังคม 6)การสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม 3. กลุ่มสาธารณชนมีทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกันโดย กลุ่มนักวิชาการด้านสร้างเสริมสุขภาพมีทัศนคติเชิงลบต่อกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่ ส่วนกลุ่มสื่อมวลชนมีทัศนคติเป็นกลางต่อกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจบุหรี่ ในขณะเดียวกันกลุ่มบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจบุหรี่พบว่า มีทัศนคติเชิงบวกต่อกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการธุุรกิจบุหรี่
Other Abstract: To analyze communication approaches and types of Corporate Social Responsibility (CSR) of tobacco business entrepreneurs used to communicate among target publics. An integrated research method was applied by using documentary analysis from websites of tobacco businesses and in-depth interview techniques were conducted among involving publics. The results of the research are as follows: 1. The communication approaches, in terms of and by Corporate Social Responsibility (CSR) methods of tobacco businesses entrepreneurs can be classified into 5 approaches: news making, interpersonal communications, internet communications, special media and special events. Their target groups include children and teenagers, social disabilities, women and feminists, men or male athletes and an aging people . Furthermore, their main activities include education activities, social activities, sports activities, public health activities and art and culture activities. 2. Communication styles with Corporate Social Responsibility (CSR) of tobacco businesses entrepreneurs consist of 6 categories. They included (1) cause promotion or cause marketing, (2) cause-related marketing, (3) corporate social marketing(CSM), (4)corporate philanthropy, (5) community volunteering, (6) socially responsibility business practices. 3. Attitude of the target publics are varied. Academics have negative attitude to tobacco businesses entrepreneurs. Journalists have neutral attitude. Meanwhile, Groups of benefited recipients have positive attitude toward activities of the tobacco businesses entrepreneurs
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18716
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.436
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.436
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitiya_pr.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.