Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18719
Title: | การพัฒนามาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | Development of a computer-based metacognition scale for grade six students |
Authors: | คมกริบ ธีรานุรักษ์ |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.k@chula.ac.th Penpilai.R@chula.ac.th |
Subjects: | เมตาคอคนิชัน การศึกษา -- แบบทดสอบ การวัดผลทางการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Metacognition Educational tests and measurements |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากรอบแนวคิดและโมเดลการวัดเมตาคอคนิชั่น 2) พัฒนามาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้กระดาษสอบ (PPMs) และมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CBMs) 3) สร้างเกณฑ์ปกติของเมตาคอคนิชั่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินเมตาคอคนิชั่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และ สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีการศึกษา 2552 จำนวน 626 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้กระดาษสอบและมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่เป็นมาตรวัดแบบไม่อิงเนื้อหาวิชา โดยใช้กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหา กระตุ้นให้ผู้ถูกวัดแสดงพฤติกรรมทางการคิดออกมา แล้ววัดด้วยข้อคำถามเชิงเมตาคอคนิชั่น วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยค่าความเที่ยง และความตรงตามสภาพด้วยโปรแกรม SPSS และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนากรอบแนวคิด และโมเดลการวัดเมตาคอคนิชั่น พบว่าได้มาตรวัดเมตาคอคนิชั่นแบบข้อคำถามปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ และ กิจกรรมการวัดจำนวน 6 กิจกรรม คะแนนแต่ละข้อมีน้ำหนัก 3, 2, 1 และ 0 คะแนน โดยวัดใน 7 องค์ประกอบของเมตาคอคนิชั่น คือ 1) ความรู้เชิงกลยุทธ์ 2) ความรู้เกี่ยวกับงานด้านพุทธิปัญญา 3) การรู้ตน 4) การประเมินเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น 5) การวางแผน 6) การกำกับตนเอง และ 7) การประเมินผลลัพธ์ 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้กระดาษสอบ และมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ พบว่ามาตรทั้ง 2 ฉบับมีค่าความเที่ยงในระดับปานกลาง คือมีค่าเท่ากับ .64 และ .69 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้ง 2 โมเดล (X²[subscript PPMS] = 173.819, df[subscript PPMS] = 154, p[subscript PPMS] = .133 / X²[subscript CBMS] = 113.412, df[subscript CBMS] = 92, p[subscript CBMS] = .064) โดยมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้กระดาษสอบทั้งทางสถิติและการปฏิบัติ 3. คะแนนปกติวิสัยของเมตาคอคนิชั่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่วัดจากมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในช่วงเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 0 ถึง 99 และมีช่วงคะแนนทีตั้งแต่ 19 ถึง 82 4. ผลการประเมินเมตาคอคนิชั่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งการประเมินแบบอิงกลุ่มใช้คะแนนปกติวิสัยเป็นเกณฑ์ตัดสิน และการประเมินแบบอิงเกณฑ์ ใช้ค่าร้อยละเป็นเกณฑ์ตัดสิน พบว่าให้ผลสอดคล้องกันคือ นักเรียนส่วนใหญ่มีเมตาคอคนิชั่นอยู่ในระดับปานกลาง ผลผลิตของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ มาตรวัดเมตาคอคนิชั่นแบบรายบุคคล มาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้กระดาษสอบ และ มาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่เป็นมาตรวัดเมตาคอคนิชั่นแบบออนไลน์ [www.cued-cbms.com/chula/index.thml] พร้อมคู่มือการใช้มาตรวัดทั้ง 3 มาตร (IAMs, PPMs และ CBMs) |
Other Abstract: | The purposes of this research were (1) to develop a conceptual framework and scale of metacognition, (2) to develop a Paper and Pencil Metacognition Scale (PPMs) and a Computer-Based Metacognition Scale (CBMs), (3) to construct a norm for grade six students and (4) to assess metacognition of grade six students in Bangkok and its vicinity. The sample consisted of 626 grade six students at four school jurisdictions as follows: Office of the Private Education Commission, Office of The Basic Education Commission, Department of Education Bangkok Metropolitan Administration and Department of Local Administration in academic year 2009. The research instruments are PPMs and CBMs, which is content free and task oriented test in multiple choice format. Cronbach’s alpha internal consistencies were estimated for the reliability of the scales. Pearson’s product moment correlation coefficients were examined to determine the concurrent validity. Confirmatory factor analysis was performed to determine the construct validity through LISREL. Major results of the study were as follow: (1) The developing of metacogition scale for grade six students is 15 multiple choice items and 6 tasks. Measuring in seven factors of metacognition consisted of (a) strategic knowledge, (b) cognitive task, (c) self knowledge, (d) provaluation, (e) planning, (f) monitoring and (g) evaluation. (2) The internal consistency reliability of the PPMs and CBMs are .64 and .69, respectively. The PPMs and CBMs were consistent to the empirical data. (X²[subscript PPMS] = 173.819, df[subscript PPMS] = 154, p[subscript PPMS] = .133 / X²[subscript CBMS] = 113.412, df[subscript CBMS] = 92, p[subscript CBMS] = .064) and CBMs seem to be more efficient than PPMs statistically and practically. (3) The norms of grade six students in Bangkok and its vicinity that calculate from CBMs were starting from percentile range 0 to 99 and Normal-T value ranged from 19 to 82. (4) The overall metacognition score of grade six students in Bangkok and its vicinity, by using both norm and absolute criteria, indicates a moderate level of metacognition. The products of this study were: an Individually Administered Metacogition Scale, a Paper and Pencil Metacognition Scale, a Computer-Based Metacognition Scale’s website [www.cued-cbms.com/chula/index.html] and the test manual of those three matacognition scales (IAMs, PPMs and CBMs) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18719 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.534 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.534 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
komkrib_te.pdf | 10.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.