Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18776
Title: วาทกรรมเพลงเพื่อชีวิตในบริบทการเมืองไทย (พ.ศ. 2525-2550)
Other Titles: The discourse of song for life in Thai political context (1982-2007 AD.)
Authors: ณัฏฐณิชา นันตา
Advisors: นฤมล ทับจุมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Naruemon.T@Chula.ac.th
Subjects: เพลงเพื่อชีวิต -- ประวัติและวิจารณ์
เพลง -- แง่การเมือง -- ไทย
ไทย -- ภาวะสังคม
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2525-2550
Songs -- Political aspects -- Thailand
Thailand -- Social conditions
Thailand -- Politics and government -- 1982-2007
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลงเพื่อชีวิตหมายถึง บทเพลงที่นำเสนอแนวคิดเพื่อชีวิตและสังคมที่ดีกว่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมที่ปรากฏในบทเพลงเพื่อชีวิต ภายใต้บริบททางการเมืองไทยในยุคประชาธิปไตยแบบทุนนิยม และเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเพลงเพื่อชีวิตในการถ่ายทอดแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองช่วง พ.ศ. 2525-2550 โดยเลือกศึกษาเนื้อหาของบทเพลงเพื่อชีวิตจากวงดนตรีเพลงเพื่อชีวิตระดับประเทศ 4 วง คือ วงคาราวาน วงคาราบาว พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตของวงดนตรีในระดับภูมิภาคอีก 3 ภูมิภาค ได้แก่ จรัล มโนเพ็ชร จากภาคเหนือ วงสะเลเต จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวงแฮมเมอร์ จากภาคใต้ ทั้งนี้แบ่งช่วงเวลาในการศึกษาตามบริบททางการเมืองออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ (2525-2530) ช่วงประชาธิปไตยเต็มใบแบบเศรษฐกิจเฟื่องฟู (2531-2539) ช่วงประชาธิปไตยเต็มใบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (2540-2543) และช่วงประชาธิปไตยเต็มใบแบบเศรษฐกิจประชานิยม (2544-2550) ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมหลักและแนวคิดทางการเมืองของเพลงเพื่อชีวิตคือ การเรียกร้องประชาธิปไตยที่มีความเท่าเทียมและความยุติธรรม โดยคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่ศิลปินเพื่อชีวิตเรียกร้องนั้น เป็นไปในสองแนวทาง กล่าวคือ แนวทางแรก ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง และแนวทางที่สอง ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีการดำรงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องชนชั้น เชื้อชาติ และเศรษฐกิจ ซึ่งประชาธิปไตยในความหมายทั้งสองแนวทางมีความเกี่ยวพันกันอยู่มาก ทั้งนี้รายละเอียดของวาทกรรมการเรียกร้องประชาธิปไตย ได้แตกต่างไปตามบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในช่วงเวลาต่างๆ สำหรับความแตกต่างในรายละเอียดระหว่างวงดนตรีเพลงเพื่อชีวิตระดับประเทศและระดับท้องถิ่น พบว่าศิลปินระดับชาติมักจะแต่งเพลงที่สะท้อนปัญหาโดยมีแนวคิดมุ่งสู่การสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ส่วนระดับท้องถิ่นมักจะนำเสนอเรื่องราวปัญหาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นของตนบทเพลงเพื่อชีวิต ยังคงสื่อความถึงเพื่อชีวิตและสังคมที่ดีกว่าดังเช่นความหมายในอดีต แต่รูปแบบของการนำเสนอผ่านบทเพลงมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น จนกลายมาเป็นการเคลื่อนไหวผ่านบทเพลง (Music movement) ตามสภาพการเปลี่ยนแปลงในบริบทสังคม เศรษฐกิจและการเมือง นอกจากนั้นยังพบว่าเส้นแบ่งระหว่างสื่อสาธารณะและสื่อเชิงพาณิชย์ของเพลงเพื่อชีวิต กลายเป็นเพียงเส้นบางๆ เท่านั้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกระบวนการทางธุรกิจ โดยเฉพาะกระบวนการสร้างความหมายของเพลงเพื่อชีวิต จากภาพลักษณ์ของศิลปิน อันส่งผลให้เนื้อหาของเพลงเพื่อชีวิตเปลี่ยนไปจากเพลงเพื่อชีวิตที่มีความหมายตามรากเหง้า กล่าวคือ เป็นบทเพลงที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือและต่อสู้เพื่อสังคมหรือเพื่อรองรับการเคลื่อนไหว (Music for movement) ลดน้อยถอยลง และกลายเป็นบทเพลงที่มีเนื้อหาเป็นไปตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้วงการเพลงเพื่อชีวิตถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางลบจากสังคมเป็นวงกว้าง
Other Abstract: “Song for life” means song that presents the idea of “for better life and better social.” The objectives of this research are to analyze the discourse of songs for life and to analyze the transferred idea and ideology of their contents between 1982 and 2007. The study selected 4 national song for life’s bands: Caravan, Carabao Pongthep Kradonchamnan and Phongsit Khompee and 3 regional song for life’s bands, Jaran Manopeth from the North, Saletae from the Northeast and Hammer from the South. Moreover, 4 periods in Thai political context were separated in this research; Semi Democracy (1982 - 1987), Democracy and Bubble Economy (1988-1996), Democracy and Crisis Economy (1997-2000), Democracy and Populism (2001-2007). For analysis result, main discourse and ideology of songs for life is pretension of entirely democracy including equality and justice. The term “Democracy”, for which lyricists consist, has created for related 2 issues; Democracy as regime and Democracy as way of life. In order that, the details of discourse are difference depending on social economic and political dynamics. In addition, This research found that National song for life’s bands and regional song for life’s bands are different. National song for life’s bands reflected on construct social problem. For regional song for life’s bands presented by their local problem. The objective of song for life remains to “for better life and better social” meaning which is similar to previous definition. Due to social economic and political dynamics, the difference is that current song for life presents more variety and complexity as music movement. In addition the border between public and commercial media becomes decrease. The main reason is the commerce especially changing song for life’s production by constructed new meaning of song for life from the singer image. Thus song for life content has been changed by reducing original meaning. Originally, the content of song for life was created for Music for Movement. However, it has now become too flexible depending upon consumer’s demand. In this context, song for life has been criticized by many people.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18776
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.484
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.484
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthanicha_na.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.