Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18813
Title: ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: An ability in English listening for communication of prathom suksa six students in schools under the jurisdiction of The Office of Prachuap Khiri Khan Provincial Primary Education
Authors: นิตยา รุ่งนาค
Advisors: พิตรวัลย์ โกวิทวที
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฟัง
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสื่อทางภาษา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 176 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการตอบคำถาม ด้านการเขียนตามคำบอก ด้านการปฏิบัติตามคำสั่ง และด้านการสนทนาโต้ตอบ หลังจากนำเครื่องมือไปทดลองใช้แล้วได้ปรับปรุงเป็นแบบทดสอบฉบับสมบูรณ์และนำไปทดลองนักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากร นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และทดสอบค่า F ตามวิธีการของเซฟเฟ ผลการวิจัย 1.ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 40.17 ซึ่งตรงกับระดับผลการเรียนตามเกณฑ์การวัดผลของกรมวิชาการระดับ 1 (พอใช้) 2.ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพบว่า 2.1นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางมีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ขนาดใหญ่และขนาดกลางมีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: Purposes The purposes of this research were: 1.To study an ability in English Listening for Communication of Prathom Suksa Six students in schools under the jurisdiction of the office of Prachuap Khiri Khan Privincial Primary Education. 2.To compare an ability in English Listening for Communication of Prathom Suksa Six students in the large size schools, the middle size schools and the small size schools under the jurisdiction of the office of Prachuap Khiri Khan Provincial Primary Education. Procedures The samples of this research were 176 Prathom Suksa Six students studying in the third semester of academic year 1985 in the large size schools, the middle size schools and the small size schools under the jurisdiction of the office of Prachuap Khiri Khan Provincial Primary Education. The samples were selected by means of Multi-Stage Sampling . The instrument used in this research was a set of an ability in English Listening for Communication tests which comprised of the answering questions ability test, the dictation ability test, the practicing according to the instruction ability test and the conversation ability test. After they were tried out and improved, they were used with the samples. The data were statistically analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, mean of percentage, percentage, one-way analysis of variance and Scheffe test. Results 1.The mean of percentage of students’ ability in English Listening for Communication were 40.17 which is equivalent to the learning achievement level 1 of evaluation standard of the Educational Technique Department. 2.There was significant difference of ability in English Listening for Communication between the students in the large size schools, the middle size schools and the small size schools at the .05 level, and it was indicated that 2.1 The ability in English Listening for Communication of the students in the large size schools and the middle size schools were higher than the students in the small size schools at the .05 level. 2.2 The ability in English Listening for Communication of the students in the large size schools and the middle size schools were not significant difference at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18813
ISBN: 9745673765
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya_Run_front.pdf337.73 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_ch1.pdf359.15 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_ch2.pdf575.41 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_ch3.pdf533.31 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_ch4.pdf328.86 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_ch5.pdf403.93 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Run_back.pdf678.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.