Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18828
Title: การศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาลศิริราช
Other Titles: A study on personnel management of Siriraj Hospital
Authors: ทัศนีย์ ตัณฑประศาสน์
Advisors: วีกิจ วีรานุรัตติ์
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาลศิริราช -- การบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล
Issue Date: 2529
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการวิธีการตลอดจนปัญ หาในการบริหารงานบุคคลของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบางของรัฐบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการศึกษาและวิจัยตามสมมติฐานพบว่า 1. การวางแผนกำลังคนไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ เพราะไม่มีงบประมาณในการว่าจ้างอัตรากำลังคนตามแผนที่จัดทำขึ้น 2. พนักงานในโรงพยาบาลได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง เพราะได้รับการฝึกอบรมถึงร้อยละ 71.3 และจากรายละเอียดที่ได้พบว่า ทุกแผนกได้รับการฝึกอบรม ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้3. การจัดการด้านสวัสดิการของโรงพยาบาล ไม่สามารถสนองตามความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากมีสวัสดิการบางประเภทยังมีข้อบกพร่องในการจัด ตลอดจนความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ สถานที่ ซึ่งทำให้ไม่สามารถสนองตามความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึง จากการวิจัยสามารถสรุปข้อเสนอแนะได้ดังนี้ 1. ผู้บริหารระดับสูงควรเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน และควรวางแผนกำลังคนระยะยาว เพื่อรองรับคนไข้ที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี หากไม่สามารถของงบประมาณในการว่าจ้างอัตรากำลังคน เพื่อให้เป็นไปตามแผนก็ควรจัดหาเงินด้านอื่นมาจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้ างชั่วคราวขึ้นแทน เช่น อาจจะนำเงินรายได้ของโรงพยาบาลมาทำการว่าจ้างดังกล่าว ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่ขาดแคลนบุคลากรในอนาคต 2. การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการควรจะมีการปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ข่า วการรับสมัครงานให้กว้างขวางและทั่วถึงกันเพื่อให้ได้บุคคลที่จะมาสมัครจ ากแหล่งต่างๆ 3. การคัดเลือก งานด้านการคัดเลือกควรเป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลโดยตรง และควรจะให้ผู้บังคับบัญชาตามสายงานเข้าร่วมในการคัดเลือก เพื่อจะได้พนักงานตามคุณสมบัติที่หน่วยงานนั้นๆต้องการ การปฐมนิเทศ โรงพยาบาลควรให้ความสำคัญในการปฐมนิเทศ โดยให้พนักงานใหม่ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศ เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์ในการทำงานและการประสานงานมากขึ้น การปฐมนิเทศควรให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงสิ่งที่พนักงานจำเป็นต้องทราบทั้ งหมดเพื่อจะทำงานได้อย่างดี 5. การฝึกอบรม ผู้บริหารระดับสูงควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเห็นถึงความสำคัญข องงานฝึกอบรม ให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณ อัตรากำลัง ควรมีการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อพิจารณาวางโครงการและหลักสูตรในการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับคว ามจำเป็น นอกจากนี้ควรวางแผนงานฝึกอบรมทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อให้การบริหารงานฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ การเลื่อนขั้นเงินเดือนและตำแหน่ง จากการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่ามีความยุติธรรมและเหมาะสมแล้ว ดังนั้นควรใช้แบบฟอร์มในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีอยู่ และควรปรับปรุงให้มีหลักเกณฑ์มากขึ้นตามความจำเป็นและควรแจ้งให้พ นักงานทราบถึงหลักเกณฑ์นั้นๆ ผู้ประเมินควรมีมากว่า 1 คน คือ ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกประเมิน สวัสดิการ โรงพยาบาลจัดสวัสดิการไม่พอกับความต้องการ สวัสดิการที่ต้องการให้มีเพิ่มคือ รถรับ-ส่งบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาล 4. 6. 7.
Other Abstract: The purpose of this thesis is study the principles of the personnel management at Siriraj Hospital, a government hospital which is under control of Mahidol University. According to the results of this research project, the following fundamental problems were discovered :- 1. Due to the lack of budgets, the hospital has not been able to hire enough qualified personnel to fill up the positions as planned. 2. About 71.3% of all the hospital staff received some training. There is training going on in all department, contrary to the supposition. The hospital cannot provide all the necessary welfare for their staff due to the small allocated budget, and lack of suitable facilities available. The results of the research suggest that :- a) The executive administrators should put more emphasis on personnel planning, both immediately and in the long run, in order to be able to cope with the increasing number of patients annually. If there is not a sufficient budget from the government, then funds should be raised from other sources, to employ temporary staff so that the project of manpower preparation can go ahead as planned. b) We should have a much larger recruitment campaign in order to find necessary qualified personnel from different sources. The hospital itself should take sole responsibility in the selection of personnel. The authority in line and the personnel section of each hospital should work together in the selection process in order to select the right man to match the requirement of each working unit. d) All new employees should be orientated. This should thoroughly acquaint them with their work and encourage co-operation among employees. e) Regarding to the training, the executives should recognize and strongly support the training programs, both in terms of finance and manpower. Surveys should be carried out to find out the training needs which necessitated training programs and curriculum establishment. Moreover, training programs must be arranged both for short term and long term to achieve full efficiency. f) As for the promotions and position allocations, according to the research c) the existing process is absolutely continue to be used. With some improvement, so that the evaluation can be more specific. The staff should be informed about evaluation procedure. The evaluation should be made by more than one person, for example, immediate supervisor, co-worker and an employee under his supervision g) Regarding to the welfare, there is not yet enough welfare to meet the staffs’ needs. The immediate need is the transportation to and from work for the hospital staff who do not live near the hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18828
ISBN: 9745664448
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tasanee_Ta_front.pdf306.7 kBAdobe PDFView/Open
Tasanee_Ta_ch1.pdf244.73 kBAdobe PDFView/Open
Tasanee_Ta_ch2.pdf481.45 kBAdobe PDFView/Open
Tasanee_Ta_ch3.pdf819.95 kBAdobe PDFView/Open
Tasanee_Ta_ch4.pdf389.76 kBAdobe PDFView/Open
Tasanee_Ta_back.pdf426.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.