Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18895
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์ | - |
dc.contributor.author | ลภัสรดา รุ่นเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-30T06:51:01Z | - |
dc.date.available | 2012-03-30T06:51:01Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18895 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ ที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล โดยมีสมมติฐานการวิจัย 2 ประการคือ 1. นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม 2. นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม รูปแบบการวิจัย มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และในกลุ่มทดลองมีการติดตามผลภายหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ จำนวน 22 คน ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 11 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 8 ช่วง (Session) รวมระยะเวลาประมาณ 19 ชั่วโมง ผู้วิจัยเป็นผู้นำกิจกรรม สำหรับกลุ่มควบคุมผู้วิจัยไม่ได้จัดกิจกรรมใดให้ในช่วงที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ แนวทางการดำเนินกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนามาจาก โปรแกรมพัฒนาการสื่อสารของ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ (2547) และแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตที่ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากแนวคิดเรื่องความพึงพอใจในชีวิตของ Neugarten และคณะ (1961) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในชีวิต ด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ในระยะติดตามผล 3 สัปดาห์ นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิด ซาทีร์มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตไม่แตกต่างจากระยะหลังการทดลอง | en |
dc.description.abstractalternative | To study the effect of Satir’s communication development activities on life satisfaction of student nurses. The hypotheses were that the posttest scores on life satisfaction of the experimental group would be higher than its pretest scores and the posttest scores on life satisfaction of the experimental group would be higher than posttest scores of the control group. The research design was the pretest posttest control group design with experimental group follow up, 3 weeks after the experiment. The sample included 22 student nurses from Royal Thai Navy College of Nursing, Bangkok who volunteered to participate. They were assigned to an experimental group of 11 persons, and a control group of 11 persons, on the basis of their preference and availability to attend. The experimental group participated in the group facilitated by the researcher for 8 sessions over a period of 19 hours in 3 weeks. The control group was not given any treatment during the experiment. The instrument used in this study was Satir’s communication development group developed from the Congruent Communication Program of Pirapat Thawinratna (2004) and Life Satisfaction Scale, based on Neugarten, et al. (1961)’s developed by researcher. The t-test was utilized for data analysis. The results are as follow : 1. The posttest scores on life satisfaction of the experimental group are higher than the posttest scores of the control group at the .05 level of significance. 2. The posttest scores on life satisfaction of the experimental group are higher than its posttest scores at the .001 level of significance. 3. The follow-up scores (3 weeks after the experiment) on life satisfaction of the experimental group does not yield significant difference comparing with the posttest scores | en |
dc.format.extent | 1857622 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1992 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ซาทีร์, เวอจีเนีย | en |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่จิตวิทยา | en |
dc.subject | ความพอใจ | en |
dc.subject | นักศึกษาพยาบาล | en |
dc.title | ผลของกิจกรรมพัฒนาการสื่อสารตามแนวคิดซาทีร์ต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล | en |
dc.title.alternative | The effect of Satir' s comunication development activities on life satisfaction of student nurses | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kannikar.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1992 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lapasrada_ro.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.