Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18942
Title: | ความขัดแย้งในการบริหารงานเทศบาลระหว่างคณะเทศมนตรี กับพนักงานเทศบาล : ศึกษาถึงบุคลิกภาพทางการบริหาร ของนายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาล |
Other Titles: | Conflicts in municipal administration between executive committees and municipal officials : a study of mayor's and under-secretary of the municipality's administrative personalities |
Authors: | สมเจตน์ พันธุโฆษิต |
Advisors: | พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เทศบาล -- การบริหาร พนักงานเทศบาล |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ด้วยปรากฏว่าความขัดแย้งในการบริหารงานเทศบาลระหว่างคณะเทศมนตรีซึ่งเป็นเสมือนข้าราชการการเมืองกับพนักงานเทศบาล ซึ่งเป็นข้าราชการประจำได้เกิดมีขึ้นเนือง ๆ เป็นปัญหาบั่นทอนประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลและเป็นตัวเหนี่ยวรั้งมิให้การปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อหาทางขจัดปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการวิจัยถึงสาเหตุและลักษณะความขัดแย้ง ในการบริหารงานเทศบาลนี้ขึ้น จากการสำรวจวรรณกรรมและบทวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของเทศบาลพบว่าส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานเทศบาล และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากความแตกต่างทางด้านบุคลิกภาพของผู้บริหารเทศบาล ซึ่งได้แก่นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาล เนื่องจากในส่วนแรกมีผู้ให้ความสนใจศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว การวิจัยนี้จึงได้มุ่งศึกษาในอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของผู้บริหารเทศบาล โดยเหตุที่นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลต่างก็เป็นบุคคลสำคัญในระดับผู้บริหาร เทศบาลที่มีอิทธิพลต่อคณะเทศมนตรีและพนักงานเทศบาลในแต่ละฝ่าย ดังนั้น จึงได้ใช้นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลทั่วประเทศเป็นประชากรการวิจัยโดยใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพการบริหารของศาสตราจารย์ William J. Reddin จำนวน 64 ข้อ ซึ่งทางวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง ได้แปลถ่ายทอดเป็นภาษาไทย ใช้วัดบุคลิกภาพหลัก 8 ประเภทคือ ผู้หลีกหนี ผู้นิยมอำนาจ ผู้เคร่งระเบียบ นักบุญ นักประนีประนอม นักเผด็จการมีศิลป์ นักพัฒนาและนักบริหาร โดยวิธีการจัดส่งแบบทดสอบทางไปรษณีย์ ได้รับแบบทดสอบกลับคืนจากนายกเทศมนตรีจำนวน 69 ฉบับ และจากปลัดเทศบาลจำนวน 85 ฉบับ ผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่าบุคลิกภาพทางการบริหารของนายกเทศมนตรีมีลักษณะเด่นแบบ “ผู้นิยมอำนาจ” ส่วนปลัดเทศบาล มีลักษณะเด่นแบบ “ผู้เคร่งระเบียบ” หลังจากที่แยกพิจารณาตามลักษณะตัวแปรประเภทต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพเดิม และระดับการศึกษาแล้ว พบว่าลักษณะดังกล่าวยังคงเป็นลักษณะเด่นของผู้บริหารเทศบาล การวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิดจากบุคลิกภาพทางการบริหารที่ต่างกันพบว่าความสัมพันธ์ทางบุคลิกภาพของผู้บริหารเทศบาลมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในการบริหารงาน เนื่องจากความสัมพันธ์ทางบุคลิกภาพเป็นแบบ “ลบ-ลบ” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายที่สุดเมื่อวิเคราะห์บุคลิกภาพการบริหารของผู้บริหารเทศบาลโดยเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางบุคลิกภาพของนายกเทศมนตรี และปลัดเทศบาลในแต่ละเทศบาลแล้ว พบว่า การบริหารงานของเทศบาลส่วนมากเป็นแบบ “แบ่งแยก” ทำให้เกิดความระแวงซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องยึดระเบียบในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะถูกโจมตีจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ลักษณะเช่นนี้เป็นความขัดแย้งทางการบริหารที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางบุคลิกภาพ ผู้วิจัยหวังว่าการศึกษาเรื่องนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในการบริหารงานเทศบาลได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการบริหารเทศบาลในแง่จิตวิทยา ซึ่งมีคนให้ความสนใจศึกษาน้อยมาก นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารเทศบาลแล้ว การศึกษาเรื่องนี้จะเป็นการเสนอแนะแนวทางให้มีการศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้บริหารเทศบาลของไทย เปรียบเทียบกับพฤติกรรมนักบริหารที่ปรากฏในวรรณกรรมการวิจัยของนักวิชาการตะวันตกอีกด้วย |
Other Abstract: | Conflicts in many municipalities especially between the elected and the appointed officials has always occurred such situation means administrative inefficiency of the municipality and slowdown local government to meet its end. This thesis is an attempt to find the cause of that conflicts and their solutions. According to the literature surveyed, one factor of the conflicts derived from loopholes of the laws concerned with municipal administration. The other caused by personality incompatible among the municipal administrators, these are mayor and under-secretary of the municipality. Since the first factor had widely been interested. So, this thesis is intended to study the later. Since mayor and under-secretary of the municipality are the key men of municipality and each has influence on executive committees and municipal officials in his side, so, research population consist of mayors and under-secretaries of the municipality throughout the country, a sum of 118 municipalities. This research had applied professor William J. Reddin’s administrative personality test which later had been developed for Thai officials by the Academy For All Local Administration. The test consists of 64 items to measure 8 traits of administrative personalities which are deserter, autocrat, bureaucrat, missionary, compromiser, benevolent autocrat, developer and executor. By mailing, 69 from under-secretaries of the municipality and 85 from mayors had returned. The test showed that mayor’s administrative personality is “autocrat” and under-secretary’s administrative personality is “bureaucrat,” as the dominant styles. Each of independent variables, for example, ages, post career, and education had been considered. Then found that the municipal administrator style still a constant one. Analizing the conflicts caused by administrative personalities differences found that administrative personalities correlation of the municipal administrators tend to be the cause of the conflicts. Since the correlation is (- -) pattern, hence, it is the most uncompatible one. Considering administrative personality correlation in each municipality found that municipal administration are mostly “separated”. That explain why they feel untrusted and hostility between those who run the municipalities. Such conflict is realized as the personality conflict. The author hopes that, this study would maximize the understanding in municipal administration. Especially, the problems of municipal administration in term of psychological approach, which is less interested and studied by students of local polities. This thesis could be the issues to reorganize the municipal administrative, besides, it would advise and suggest to study this issue in term of Thai’s administrative personalities comparing with Western administrator’s. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18942 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somjet_Ph_front.pdf | 556.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_ch1.pdf | 647.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_ch2.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_ch3.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_ch4.pdf | 888.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_ch5.pdf | 781.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somjet_Ph_back.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.