Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18949
Title: ปัญหาการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Problems in teaching Thai history in lower secondary schools in Bangkok metropolis
Authors: สิริวรรณ สุวรรณอาภา
Advisors: พาณี แสวงกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vorasak.P@Chula.ac.th
Subjects: ประวัติศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อศึกษาปัญหาสำคัญของการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเฉพาะในแง่ความเหมาะสมของหลักสูตร แบบเรียน วิธีสอน อุปกรณ์การสอน และการวัดผล ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยใช้แบบสอบถามกับระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 โรงโดยแยกเป็นครูจำนวน 57 คน และนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 480 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงสถิติโดยหาค่าร้อยละและการหาค่าเฉลี่ยของคำตอบ ผลการศึกษาครั้งนี้โดยสรุปมีดังนี้ ครูมีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ไทยมากและเวลาเรียนน้อยไม่ได้สัดส่วนกัน แต่นักเรียนมีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาในหลักสูตรเหมาะสมดีแล้ว ในแง่ประมวลการสอนซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดนั้น ครูเห็นว่าตนเองควรมีส่วนร่วมในการจัดทำประมวลการสอนด้วย ทั้งครูและนักเรียนเห็นพ้องกันว่า แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยนั้นยังไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดความกระจ่างชัดของเนื้อหาในลักษณะสำคัญ ส่วนวิธีการสอนนั้นพบว่ายังไม่สู้ได้ผล เพราะครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการบรรยายตามเนื้อหาวิชา แม้จะยกปัญหาหรือหัวข้อที่สำคัญ ๆ มาอธิบายเพิ่มเติมโดยที่นักเรียนยังไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นมากเพียงพอ นอกจากนี้การสอนยังประสบอุปสรรคด้านอุปกรณ์ซึ่งมีน้อย อันเนื่องมาจากงบประมาณและเวลาของครูผู้สอน สำหรับการจัดกิจกรรมการสอนนั้นยังมีน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ครูและนักเรียนเห็นประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการสอนมากก็ตาม และในด้านการวัดผลวิชาประวัติศาสตร์ไทยนั้น พบว่าครูผู้สอนใช้ข้อทดสอบแบบปรนัยและอัตนัยคู่กันไป แต่ทั้งครูและนักเรียนเสนอแนะว่า ควรใช้วิธีการวัดผลแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ควรเน้นในด้านความจำอย่างเดียว ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. กระทรวงศึกษาธิการควรปรับปรุงและแก้ไขหลักสูตรและแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยให้เหมาะสมโดยอาจขอความร่วมมือจากหน่วยวิชาการเฉพาะ เช่น สยามสมาคม หรือคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น 2. สถาบันฝึกหัดครูรวมทั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ควรมีบทบาทมากขึ้นในการฝึกอบรมแก่ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยทั้งก่อนและระยะปฏิบัติงานของครูโดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านวิธีสอน อุปกรณ์การสอนและการวัดผล 3. ครูสังคมศึกษาควรสร้างความรู้สึกตระหนักในความสำคัญและประโยชน์ของวิชาประวัติศาสตร์ไทยในฐานะที่จะเป็นวิถีทางของการดำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกของชาติไทยคู่กันไปกับการส่งเสริมพัฒนาการและความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียน
Other Abstract: The purpose of this study was to identify major problems of teaching Thai history in Lower Secondary Schools. Specifically, it attempted to find out the adequacies of the curriculum content, text books, teaching methods and materials, and evaluation techniques used at the present time. The questionnaires were sent to 57 social studies teachers and 480 M.S. 1-3 students in 10 Lower Secondary Schools in Bangkok. The collected data was analyzed in percentage and average percentages or mean. The results were as follows: In view of teachers, Thai history content was so long that the time was so short. The students, however, thought that the content was adequate. Since the Ministry of Education set the uniform Thai history syllabus, the teachers expressed the needs to participate in construction of Thai history syllabus to fit their own needs and localities. Both teachers and students were in agreement that Thai history textbooks were inadequate because of the lack of clarity of content and major history concept. Teaching method was also found ineffective because teachers used primarily lecture method with some modifications, namely, clarification of some difficult topics or ideas. The students still played the passive role in teaching-learning situation. Teaching aids were used at the minimal because of the lack of time and money. Activities were also found meager although both teachers and students accepted the usefulness of such activities. Both objective and essay evaluation techniques were used hand in hand. However, teachers and students made strong suggestions that a wider range of evaluation techniques should be used so that measurement was not so limited to memory only. In the study, certain recommendations were made. Firstly, the Ministry of Education should improve Thai history curriculum and textbook through the cooperation of learned agencies like Siam society and the National Committee on Thai History. Secondary, Teachers Training Department and Secondary Schools Supervisory Unit should play more actives role through the pre service and in-service training of social studies teachers with the emphasis on the Improvement of teaching method, materials and evaluation. Thirdly, social studies teachers should build an awareness of the significance of Thai history and the teaching of Thai history as the means of the preservation of Thai national heritages along with the development of oritical mindedness in students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18949
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_Su_front.pdf562.22 kBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_ch1.pdf632.05 kBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_ch2.pdf720.33 kBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_ch3.pdf319.09 kBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_ch4.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_ch5.pdf929.63 kBAdobe PDFView/Open
Siriwan_Su_back.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.