Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19025
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของอาจารย์ในสถาบันผลิตครู
Other Titles: Opinions of instructors concerning faculty performance evaluation in teacher education institutions
Authors: สุจิตรา ภักดีสงคราม
Advisors: ประกอบ คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาจารย์มหาวิทยาลัย
การประเมินผลงาน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ในสถาบันผลิตครู 2. ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกันคือ มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ มหาวิทยาลัยเน้นการศึกษา และวิทยาลัยครูที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัตงานของอาจารย์ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยสุ่มตัวอย่างจากอาจารย์ประจำที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2527 ของกลุ่มตัวแทนอาจารย์คณะครุศาสตร์-คณะศึกษาศาสตร์ ในสถาบันผลิตครู เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเน้นการศึกษา และกลุ่มอาจารย์วิทยาลัยครู และได้ทำการสุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มด้วยวิธีการกำหนดของกลุ่มตัวอย่างของเครซีและมอร์แกน (Krecie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 398 คน เมื่อแจกแบบสอบถามแล้วได้รับคืน 295 คน คิดเป็นร้อยละ 74.12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรฐานส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดสมมุติฐานเพื่อทำการทดสอบไว้ทั้งหมด 9 ข้อด้วยกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ (SPSS) เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deyiation) ค่าสถิติเอฟ-เทสต์ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบรายคู่ โดยวิธีการของเซฟเฟ (scheffe’s Method) สรุปผลการวิจัย 1. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคณาจารย์มากกว่าอาจารย์ในวิทยาลัยครู และให้ความสำคัญต่อการพิจารณาความดีความชอบน้อยกว่าอาจารย์ในวิทยาลัยครู 2. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานของปากรประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในวิทยาลัยครูให้ความสำคัญแก่งานบริหาร และงานนิเทศการสอนมากกว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ 3. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะประเมินงานสอนของอาจารย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษา และอาจารย์ในวิทยาลัยครู เห็นว่า คณบีและหัวหน้าภาควิชาเป็นบุคคลที่เหมาะสมมากกว่าบุคคลอื่น ขณะที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ เห็นว่าคณบดีและหัวหน้าภาควิชาเป็นบุคคลที่เหมาะสมน้อยกว่าบุคคลอื่น 4. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะประเมินงานวิจัยและงานเขียนตำราของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในวิทยาลัยครูเห็นว่า คณบดีเป็นบุคคลที่เหมาะสมมากกว่าบุคคลอื่น ขณะที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ เห็นว่าคณบดีเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมน้อยกว่าบุคคลอื่น 5. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะประเมินงานบริหารของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยครูเห็นว่า คณบดีเป็นบุคคลที่เหมาะสมมากกว่าบุคคลอื่น ขณะที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเห็นว่า คณบดีเป็นบุคคลที่เหมาะสมน้อยกว่าบุคคลอื่น 6. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะประเมินงานนิเทศการสอนของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษา เห็นว่าคณบดีและหัวหน้าภาควิชาเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมมาก เมื่อเทียบกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเห็นว่า คณบดีและหัวหน้าภาควิชาเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมน้อย 7. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะประเมินงานบริการทางวิชาการของอาจารย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยครูเห็นว่านิสิตนักศึกษามีความเหมาะสมมาก เมื่อเทียบกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเห็นว่านิสิตนักศึกษาเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมน้อย 8. อาจารย์ในสถาบันผลิตครูต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประเมินผลการสอนโดยผู้เรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษามีความคิดเห็นในทางบวกมากกว่าอาจารย์ในวิทยาลัยครูข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ในสถาบันผลิตครู ผลปรากฏว่าอาจารย์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญแก่วัตถุประสงค์หลักคือ การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันผลิตครู จึงควรจัดหาแนวทางที่เหมาะสมแก่ประเภท และลักษณะสถาบันของคนที่จะกำหนดรูปแบบการประเมินให้เหมาะสม การนำไปใช้ควรเน้นเพื่อการพัฒนาคณาจารย์และปรับปรุงประสิทธิภาพการสอน ขณะเดียวกันสถาบันผลิตครูควรคำนึงถึงรูปแบบการบริหารงานที่จะสามารถทำให้การทำงานด้านวิชาการของอาจารย์สอดคล้องกับงานบริหารมากขึ้น และควรเน้นให้อาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของงานนิเทศการสอน นอกจากนี้ด้านความเหมาะสมของผู้ประเมินลักษณะงานต่าง ๆ ของอาจารย์ สถาบันผลิตครูควรจะได้กำหนดรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละงานให้เด่นชัด เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็น และยอมรับรูปแบบในการประเมินซึ่งควรอาศัยรูปแบบการบริหารงาน และบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทัศนะ สำหรับการประเมินผลการสอนโดยนิสิตนั้นอาจารย์และนิสิตนักศึกษาควรตระหนักถึงความสำคัญในการประเมิน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
Other Abstract: Purposes of the study : The specific objectives of this study were: 1. To study the opinions of instructors concerning faculty performance evaluation in teacher education institutions. 2. To compare the opinions of instructors in the different teacher education institutions : comprehensive universities, education-oriented universities and teacher colleges concerning faculty performance evaluation. Methodology and procedures: This research was a descriptive research. The samples were selected from instructors of the Faculties of Education in Teacher Education Institutions, Bangkok Metropolitan, in the second semester of academic year 1984. These samples were divided into 3 groups : comprehensive universities’ instructors, education-oriented universities’ instructors and teacher colleges’ instructors. They were came from the determining sample size of Krecie and Morgan and 398 instructors were selected. 295 questionnaires were returned which were 74.12 percent of the total sample. The research instrument for this study was a rating scale questionnaire constructed by the researcher. Nine Hypotheses were tested for significant differences in opinions of instructors concerning faculty performance evaluation. The Statistical package for the Social Sciences (SPSS) was used to analyze the collected data. The statistical methods used in this research were percentages, means, standard deviation, F-test, one way analyses of variance and Scheffe pair wise comparisons. Research Findings : 1. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the purposes of faculty performance evaluation, significantly at the .05 level : the instructors of comprehensive universities value in important of faculty development more than the instructors of teacher colleges and value in important of a decision making about promotion and tenure less than the instructors of teacher colleges. 2. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the work of faculty performance evaluation, significantly at the .05 level : the instructors of teacher colleges value in important of an administrative work and a supervisory work more than the instructors of comprehensive universities. 3. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the personnel who will evaluate faculty’s teaching, significantly at the .05 level : the instructors of education-oriented universities and of teacher colleges agreed that the dean and the head of the department were much more suitable person while the instructors of comprehensive universities agreed that they were less suitable person. 4. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the personnel who will evaluate faculty’s research and faculty’s textbook significantly at the .05 level : the instructors of teacher colleges agreed that the dean was much suitable person while the instructors of comprehensive universities agreed that he was less suitable person. 5. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the personnel who will evaluate faculty’s administration significantly at the .05 level : the instructors of education oriented universities and those of teacher colleges agreed that the dean was much suitable person while the instructors of comprehensive universities agreed that he was less suitable person. 6. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the personnel who will evaluate faculty’s supervision, significantly at the .05 level : the instructors of education-oriented universities agreed that the dean and the head of the department were much suitable person while the instructors of comprehensive universities agreed that they were less suitable person. 7. The instructors in different teacher education institutions had different opinions towards the personnel who will evaluate faculty’s academic service, significantly at the .05 level : the instructors of education-oriented universities and those of teacher colleges agreed that student were much suitable person while the instructors of comprehensive universities agreed that they were less suitable person. 8. The instructors in different opinions towards the student teaching’s evaluation, significantly at the .05 level : the instructors of comprehensive universities and those of education-oriented universities had the positive opinions more than the instructors of teacher colleges. Recommendations : The result of the opinions of instructors concerning faculty performance evaluation in teacher Education institutions showed that most of instructors value in important of the main objective : the evaluation to improve an instruction. So teacher education institutions should provide the suitable methodology for their own institutes in order to perform the suitable evaluation criteria that should be emphasized on the personnel development and teaching efficiency. As the matter of facts, Teacher Institution should concentrate on the mode of administration which would help both the academic work, the administration, and also on the importance of teaching and supervision. Besides this, teacher education institutions should obviously perform the evaluation criteria for those who will evaluate the faculty work, giving an opportunity for the instructors to express their ideas and to recognize the evaluation criteria : the mode of administration, working co-operation, exchange information and attitude. The result of the student teaching’s evaluation, instructors and student should recognize the importance of the evaluation which will help them make progress in higher education development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19025
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujitra_Pa_front.pdf659.38 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_ch1.pdf539.45 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_ch2.pdf927.56 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_ch3.pdf357.33 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_ch5.pdf905.4 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Pa_back.pdf595.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.