Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19102
Title: พฤติกรรมของคนไข้ในการเสาะแสวงหาสารสนเทศ เพื่อรับบริการด้านทันตสุขภาพ และทันตสุขศึกษาจากทันตแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Information-seeking behavior of patients for dental care and preventive dental health required form dentists in the Bangkok Metropolis
Authors: สุดารัตน์ ควรสถาพรทวี
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
ทันตสุขศึกษา -- บริการสารสนเทศ
ทันตแพทย์กับผู้ป่วย
พฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือ -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมของคนไข้ในการเสาะแสวงหาสารสนเทศเพื่อรับบริการด้านทันตสุขภาพและทันตสุขศึกษาจากทันตแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเสาะแสวงหาสารสนเทศเกี่ยวกับการรับบริการด้านทันตสุขภาพของคนไข้ก่อนที่จะมาพบกับทันตแพทย์และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาของคนไข้จากทันตแพทย์ในสถานบริการทันตกรรมทั้งของรัฐและเอกชน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสัมภาษณ์คนไข้และการให้ทันตแพทย์เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ในสถานบริการทันตกรรม เฉพาะที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 96 แห่ง ขนาดตัวอย่างที่เป็นคนไข้ 192 ราย โดยเจาะจงให้เป็นคนไข้ของทันตแพทย์ที่เป็นตัวอย่าง 96 ราย ผลการวิจัยพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่มีการเสาะหาสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพการบำบัดรักษา ของสถานบริหารทันตกรรมก่อนตัดสินใจเลือกรับบริการ โดยการเสาะหานี้เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลในหมู่ญาติเป็นส่วนใหญ่ และในส่วนของผู้ที่ไม่ได้เสาะหาสารสนเทศนี้ ซึ่งเป็นส่วนน้อย พบว่า เหตุผลด้านความสะดวกเป็นเหตุจูงใจให้ตัดสินใจเลือกรับบริการ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้สารสนเทศกับคนไข้นี้พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างจำนวนผู้ให้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์แบบสนิทสนม กับผู้ให้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์แบบผิวเผิน ผลการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาของคนไข้ จากการได้พบกับทันตแพทย์โดยการทดสอบค่าทางสถิติพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการบำบัดรักษาที่คนไข้ได้รับ ปริมาณงานการรักษาของทันตแพทย์ อายุของทันตแพทย์ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาที่คนไข้ได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกล่าวคือ ปริมาณสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาที่คนไข้ได้รับจากทันตแพทย์จะแตกต่างกันตามความแตกต่างของวิธีการบำบัดรักษาที่คนไข้ได้รับ และทันตแพทย์ที่มีปริมาณงานการรักษาน้อยกว่าหรือมีอายุน้อยกว่าจะให้สารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาแก่คนไข้ในปริมาณที่มากกว่าทันตแพทย์ที่มีอายุหรือประสบการณ์การทำงานมากกว่า และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสถานบริการทันตกรรมของรัฐและเอกชนแล้ว พบว่า ปริมาณสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาที่คนไข้ได้รับจากทันตแพทย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อศึกษาถึงแหล่งสารต่างๆ ที่คนไข้ได้รับสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษา พบว่า คนไข้ส่วนใหญ่ได้รับจากสื่อมวลชน รองลงมาคือได้รับจากครู ส่วนปริมาณสารสนเทศด้านทันตสุขศึกษาโดยเฉลี่ยที่คนไข้ได้รับจากทันตแพทย์ในการศึกษาครั้งนี้นับว่าน้อยมาก และคนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคในช่องปากที่ถูกต้องครบถ้วน
Other Abstract: The first purpose of this study was to study the information-seeking behavior of patients for dental care. When people have dental problem, how they find and obtain the information about dentists and dental care. How about the relationship of patients and dental informants. The second purpose was to study the factors which affect the amount of preventive dental health information a patient received from their dentists. The sample of 96 dental care clinics and 192 patients in the Bangkok Metropolis were selected. Data were collected by questionaire for dentists and interview the patients. The results of the study : Most patients sought the information about quality of dental care and cost of dental treatment before visiting dentists. They received this information from their cousins and friends. The result of the study showed that there were no different of number of dental informants who had both strong or weak-tie relationship with the patients According to the results of the study, the amount of preventive dental health information showed statistically significant with the follows: 1. Different types of treatment given to the patients. 2. Dentists’ working conditions. 3. Dentists’ ages 4. Types of dental clinics. (Private or Government owned) The study also revealed that there were other medias provided the preventive dental health information, these media were mass media and personal communication.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19102
ISBN: 9745669512
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_Ku_front.pdf428.86 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_ch1.pdf652.85 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_ch2.pdf608.66 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_ch3.pdf503.75 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_ch4.pdf741.47 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_ch5.pdf358.81 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_Ku_back.pdf479.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.