Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19129
Title: พฤติกรรมผู้นำของอธิการบดีตามทัศนะของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย
Other Titles: Rectors' leadership behavior according to administrators' university point of view
Authors: สุทธนู ศรีไสย
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Advisor's Email: dwallapa@dpu.ac.th
Subjects: ผู้นำ
อธิการบดี
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจทัศนะของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยตามวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของอธิการบดีที่เป็นจริงและควรจะเป็น 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นผู้นำของอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนกลางกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคตามที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็น 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของ รองอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าศูนย์/สถาบัน/สำนัก และหัวหน้ากองในสำนักงานอธิการบดี ที่มีต่อพฤติกรรมของอธิการบดีที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็น 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของอธิการบดีและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกับอธิการบดีที่มีต่อพฤติกรรมของอธิการบดีที่เป็นจริงและควรจะเป็น และ 5) เพื่อเสนอรูปแบบพฤติกรรมผู้นำของอธิการบดีที่ควรจะเป็น วิธีวิจัย ในการวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามการวัดพฤติกรรมผู้นำของอธิการบดีที่มีความเสี่ยง (Reliability) ทั้งฉบับในส่วนที่เป็นจริง 0.79 และในส่วนพฤติกรรมที่ควรจะจะเป็น 0.03 สอบถามประชากรที่เป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัย 10 แห่ง ซึ่งได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าศูนย์/สถาบัน/สำนัก และหัวหน้ากองในสำนักงานอธิการบดี จำนวน 222 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 167 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.23 ของประชากรทั้งหมด สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ร้อยละ (Percentage) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมผู้นำของอธิการบดีตามที่เป็นจริง พบว่ามีอธิการบดีมหาวิทยาลัย 4 แห่งใน 10 แห่งคิดเป็นร้อยละ 40.00 มีพฤติกรรมทั้งสองด้านคือด้านโครงสร้างการริเริ่ม และด้านจินตอาทรอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนอธิการบดีที่มีพฤติกรรมในด้านโครงสร้างการริเริ่มสูงแต่ด้านจินตอาทรต่ำมีเพียง 3 แห่งใน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30.00 ในทำนองเดียวกันมีอธิการบดีมหาวิทยาลัย 2 แห่งคิดเป็นร้อยละ 20.00 มีพฤติกรรมทั้งสองด้านอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีเพียง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10.00 เท่านั้นที่อธิการบดีมีพฤติกรรมด้านจินตอาทรอยู่ในเกณฑ์สูงในขณะที่ด้านโครงสร้างการริเริ่มอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2. พฤติกรรมของผู้นำของอธิการบดีตามที่ควรจะเป็นพบว่ามีมหาวิทยาลัย 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.00 ต้องการอธิการบดีที่มีพฤติกรรมทั้งสองด้านอยู่ในเกณฑ์สูง มีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ต้องการให้อธิการบดีมีพฤติกรรมด้านโครงสร้างการริเริ่มอยู่ในเกณฑ์สูง ในขณะที่ด้านจินตอาทรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีมหาวิทยาลัย 4 แห่งที่ต้องการให้อธิการบดีมีพฤติกรรมทั้งสองด้านอยู่ในเกณฑ์ต่ำทั้งคู่ 3. มีมหาวิทยาลัย 5 แห่ง จาก 10 แห่งเท่านั้นที่ได้อธิการบดีที่มีพฤติกรรมที่เป็นจริงตรงกับความคิดเห็นของผู้บริหารตามที่ควรจะเป็น 4. อธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนกลางกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคมีพฤติกรรมที่เป็นจริงกับที่ควรจะเป็นเป็นทุกด้านตามทัศนของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน ยกเว้นพฤติกรรมที่ควรจะเป็นในด้านจินตอาทร ผู้บริหารมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารส่วนภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามทัศนะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนกลาง 5. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของรองอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าศูนย์/สถาบัน/สำนัก และหัวหน้ากองในสำนักงานอธิการบดีที่มีต่อพฤติกรรมของอธิการบดีในเรื่องต่างๆ 46 ข้อพบว่า พฤติกรรมที่เป็นจริงมีเพียง 8 ข้อที่ผู้บริหารทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพฤติกรรมที่ควรจะเป็นทั้ง 46 ข้อนั้นผู้บริหารทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 6. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของ อธิการกับผู้บริหารทั้งสามกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมของอธิการบดีในเรื่องต่างๆ 46 ข้อ พบว่า พฤติกรรมที่เป็นจริงมีเพียง 5 ข้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพฤติกรรมที่ควรจะเป็นมีเพียง 2 ข้อเท่านั้นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 7. รูปแบบพฤติกรรมผู้นำของอธิการบดีที่ควรจะเป็น จากผลที่ได้จาการวิจัยมีดังนี้ ด้านโครงสร้างการริเริ่ม ควรมีพฤติกรรมดังนี้คือ (1) เลิศวิชาการ (2) บริหารรักษาประโยชน์ผล (3) อดทนกล้าเผชิญเหตุการณ์ (4) ปฏิบัติงานอย่างกระตือรือร้น (5) ท่วมท้นบรรยากาศวิชาการ (6) มอบงานมีหลักเกณฑ์ (7) แจ้งชัดเจนนโยบาย (8) ขยายเหตุผลได้เหมาะสม (9) วิเคราะห์เรื่องถูกต้อง (10) คล่องทางเกณฑ์การปกครอง (11) ทดลองแนวคิดใหม่ (12) ใกล้ชิดติดตามผล (13) ทำงานทุกคนตรงเวลา (14) เจรจาให้ทำตามกฎเกณฑ์ ด้านจินตอาทร ควรมีพฤติกรรมดังนี้คือ (1) สร้างขวัญและกำลังใจ (2) ให้เสรีภาพในการทำงาน (3) ประสานความเป็นมิตร (4) คิดเอื้อเฟื้อผู้ร่วมงาน (5) บริหารด้วยน้ำใจ (6) สนับสนุนให้ก้าวหน้า (7) ยอมให้ตัดสินปัญหา (8) ใช้ปรัชญาปกครอง (9) ตามครรลองประชาธิปไตย (10) รู้กลไกเป็นตัวแทน
Other Abstract: Objectives of the study: This investigation was to survey rectors’ leadership behavior from the point of view of university administrators. The purpose of this study was fivefold: firstly, to study rectors’ actual and expected leadership behavior, secondly, to compare actual and expected rectors’ leadership behavior in the central universities and in the provincial universities, thirdly, to compare the opinions of three groups of administrators on actual and expected rectors’ behavior, fourthly, to compare opinions of the rectors and three groups of administrators on actual and expected behavior, and lastly, to present an expected rectors’ leadership behavioral model. Procedures: The instrument used in this study was a questionnaire constructed by the researcher from an extensive analysis of related literature. The coefficient of reliability for the section on actual leadership behavior was 0.79 and on expected leadership behavior was 0.83. Data were collected from a population of 222 administrators in ten universities. A total of 167 questionnaires were returned, 75.23% of the population surveyed. Data were analyzed by suing arithmetic means, standard deviations, percentages, one-way analysis of variance and t-tests. Findings: 1. On actual rectors’ leadership behavior, four rectors (40%) ranked above the mean for both Initiating Structure and Consideration behavior. Tow rectors (20%) ranked on both behaviors below the mean. Three rectors (30%) ranked above the mean on Initiating Structure behavior but below the on Consideration behavior. One rector (10%) ranked below the mean on Initiating Structure behavior but above the mean on Consideration behavior. 2. On expected rectors’ leadership behavior, rectors in five universities (50%) ranked above the mean for both Initiating Structure and Consideration behavior. Rectors in four universities (40%) ranked below the mean on both Initiating Structure and Consideration behavior. One rector (10%) ranked above the mean on Initiating Structure behavior but below the mean on Consideration behavior. 3. There were five universities where rectors real and expected behaviors ranked at the same level. 4. Rectors’ leadership behavior in the universities of the central area and of the provinces were not different significant at the .05 level, except for expected Consideration behavior which showed differences significant at the .05 level. 5. As for the opinions of the three groups of administrators on actual rectors’ behavior, eight behavior-items were significantly different at the .01 or .05 level. All behavior-items on expected rectors’ behavior were not significantly different at the .01 level. 6. As for the opinions of rectors and administrators on actual rectors’ behavior, there were five behavior-items that were significantly different at the .05 level. For opinions on expected rectors’ behavior, there were only two behavior-items that were significantly different at the .05 level. 7. Findings on a model for expected rectors’ leadership behavior were as follow: 7.1 Expected behavior on Initiating Structure: promote academic excellence, concern for the good of the institution, courage in facing facts, eagerness in performing one’s duties, promote academic climate, delegate authority, formulate clear policies, point out rationale, criticize properly, govern efficiently, experiment with new ideas, follow-up work closely, see that work be done on time, and according to regulations. 7.2 Expected behavior on Consideration: promote morale, give freedom of action, foster friendship, assist colleague, be considerate in one’s own administrative, encourage promotion, be willing to settle problems, use a philosophy of government, be democratic, know to how to delegate authority.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19129
ISBN: 9745608882
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttanu_Sr_front.pdf669.81 kBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_ch1.pdf863.92 kBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_ch2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_ch3.pdf563.37 kBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_ch5.pdf837.3 kBAdobe PDFView/Open
Suttanu_Sr_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.