Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19132
Title: ความแตกต่างของการประเมินระดับความเห็นใจของผู้ประเมินที่ทราบข้อมูล และไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาของปรึกษา
Other Titles: The difference of empathy ratings between raters knowing and raters not knowing information about clients
Authors: สุทธิลักษณ์ อินทรทัต
Advisors: พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paranrai.s@chula.ac.th
Subjects: การแนะแนว
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ผู้ประเมินที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษากับผู้ประเมินที่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษาจะประเมินระดับความเห็นใจแตกต่างกันหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาชายหญิง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่กำลังศึกษาวิชา เทคนิคในการให้คำปรึกษาแนะแนว ในภาคปลายปีการศึกษา 2523 ซึ่งไม่เคยใช้มาตรความเห็นใจมาก่อน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกประเมินระดับความเห็นใจ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษาและแบบประเมินระดับความเห็นใจ เครื่องมือเหล่านี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเองผู้วิจัยได้ฝึกกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คน ให้ใช้มาตรความเห็นใจโดยแบบฝึกประเมินระดับความเห็นใจที่สร้างขึ้น จากนั้นจึงสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน สำหรับผู้รับการทดลองกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยเสนอแบบประเมินระดับความเห็นใจให้ประเมินทันที ส่วนผู้รับการทดลองกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาของปรึกษาให้ศึกษาเป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงให้ประเมินระดับความเห็นใจ สมมุติฐานในการวิจัยคือ ผู้ประเมินที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษา และผู้ประเมินที่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษา จะประเมินระดับความเห็นใจแตกต่างกัน วิเคราะข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ( t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการประเมินแบบประเมินระดับความเห็นใจของผู้รับการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้ประเมินที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษา กับผู้ประเมินที่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาขอปรึกษา ประเมินระดับความเห็นใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this research was to study whether raters knowing and raters not knowing information about clients would differ in their empathy ratings. The subjects in this research were 30 male and female students of the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University who were enrolled in the course “Techniques in Counseling” for the second semester of the academic year 1980 and who had never used any empathy scale before. The instruments constructed by the researcher to be used in this research were the Empathy Rating Training From Information about clients and the raters not knowing information about clients would differ in their empathy ratings. The subjects were trained to use the empathy scale by the Empathy Rating training From which was constructed for this purpose. Then they were deviled at random into experimental and control groups with 15 subjects each. The control group was presented the Empathy Rating From to rate immediately. The experimental group was presented the Information about the clients to study for 20 minutes. Afterwards they were asked to rate the Empathy Rating From. T-test was computed to Test the difference in the mean ratings of Empathy Rating From between the 2 groups. Results showed that ratters whether they had or did not have any information about clients did not produce different ratings on the Empathy Rating From.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19132
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttiluck_In_front.pdf426.13 kBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_ch1.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_ch2.pdf571.14 kBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_ch3.pdf279.71 kBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_ch4.pdf544.5 kBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_ch5.pdf303.5 kBAdobe PDFView/Open
Suttiluck_In_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.