Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19429
Title: การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทภาคกลาง: กรณีศึกษาหมู่บ้านเขาน้อย อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Community facilities improvement for the elderly in rural central region : a case study of Kao Noi Village, Tha Tako, Nakhonsawan Province
Authors: วนัสรินทร์ สุยสุวรรณ
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@Chula.ac.th
Subjects: หมู่บ้านเขาน้อย (นครสวรรค์)
อำเภอท่าตะโก (นครสวรรค์)
การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก -- ไทย -- นครสวรรค์
ผู้สูงอายุ -- บริการที่ได้รับ
ผู้สูงอายุในชนบท -- บริการที่ได้รับ -- ไทย -- นครสวรรค์
Kao Noi Village (Nakhon Sawan)
Tha Tako (Nakhon Sawan)
Facility management -- Thailand -- Nakhon Sawan
Older people -- Services for
Rural elderly -- Services for -- Thailand -- Nakhon Sawan
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดให้ ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือ การบริการสาธารณะอื่น โดยการจะส่งเสริมหรือสนับสนุนการบริการเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้ต้องมีการศึกษาวิจัยถึงลักษณะ ทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบของสังคมที่มีอยู่ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ประชากร และสภาพการอยู่อาศัย ตลอดจนลักษณะสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ชุมชนของผู้สูงอายุในชนบท ภาคกลาง เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยที่ เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทให้เอื้อต่อการเข้าไปใช้ประโยชน์ การสัญจร การสันทนาการ สำหรับผู้สูงอายุและ ผู้ใช้งานทุกสถานะ ทุกวัย จากกระบวนการวิจัยได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษา คือ หมู่บ้านเขาน้อย ตำบลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 137 คน ผลการศึกษา พบว่า สาธารณูปโภค/สิ่งแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุมาก คือ สวนสาธารณะ/สวนสุขภาพ สำหรับการพักผ่อนออกกำลังกาย และวัด/สถานปฏิบัติกิจกรรมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในด้านการใช้พื้นที่ สถานที่ที่ ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไปมากที่สุด ได้แก่ ศาสนสถาน สวนสาธารณะ ศาลา/ป้ายรถโดยสาร ลานกีฬา/สถานที่ออก กำลังกาย และสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนภาคเอกชนที่ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไปมากที่สุด ได้แก่ ร้านขายของชำ/ ร้านสะดวกซื้อ ตลาดละแวกหมู่บ้านซึ่งการเดินทางภายในชุมชนผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้การเดินเท้าเป็นหลัก และสามารถ เดินทางด้วยตัวเองได้ แต่การเดินทางไปยังภายนอกชุมชนผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้จักรยานยนต์เป็นหลักและผู้สูงอายุที่มีอายุ มากต้องการได้รับการช่วยเหลือในการเดินทาง การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทเพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถออกมาใช้พื้นที่สาธารณะภายนอกที่อยู่อาศัยนั้นต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับทางเดินและทางสัญจรมากที่สุด เนื่องจากทางเดินและทางสัญจรที่มีความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความปลอดภัยนั้น เป็นการเอื้ออำนวย ให้ผู้สูงอายุอยากที่จะออกมาทำกิจกรรมมากขึ้น โดยแนวทางในการปรับปรุงทางเดินและทางสัญจร คือ ถนนต้องไม่มีสิ่ง กีดขวาง มีการให้ร่มเงาทางเดิน มีแสงสว่างที่ทั่วถึงเพื่อความปลอดภัย และมีที่นั่งพักเป็นระยะให้ผู้สูงอายุ และถ้าทางเดิน มีระดับพื้นที่ต่างกันควรทำทางลาด ส่วนการปรับปรุงให้พื้นที่ทางศาสนาและพื้นที่ราชการเป็นศูนย์กลางชุมชนนั้นมี ความสำคัญรองลงมาโดยแนวทางในการปรับปรุง คือ ควรมีการทำทางลาด ห้องน้ำ และที่จอดรถให้กับผู้สูงอายุเพื่อให้ ผู้สูงอายุสามารถเข้าไปทำกิจกรรมทางศาสนาและติดต่อกับหน่วยงานราชการได้สะดวก โดยงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่ การใช้ต่อยอดในการศึกษาเรื่องการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนสำหรับผู้สูงอายุในเมือง ซึ่งลักษณะของ ผู้สูงอายุในชนบทกับเมืองมีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ การอยู่อาศัยและลักษณะทางกายภาพของชุมชน
Other Abstract: The Act for Older Persons B.E. 2546 (2003 A.D.), Section 11 stipulates that older persons shall be entitled to protection, promotion and support through the direct provision of facilities and the maintenance of safety in buildings, open areas, and vehicles as well as in the provision of public services. To this end, research must be conducted regarding the physical characteristics of the local population and environment. The research aims to study social, economic, and housing conditions, population density, the local environment and facilities provided for the elderly in the rural central region so as to community facilities improvement for the elderly in such areas. These facilities will provide convenience for the elderly in terms of walkways and recreation facilities for both older persons and users of all ages and statuses. The selected study area for the research is Kao Noi village, Tha Tako district, Nakhonsawan, and the sampling population consists of 137 persons over 60 years old who live in the study area. The results of the study show that the infrastructure/environment deemed most essential for the elderly is parks or gardens for exercise, and temples or communal places where the elderly may meet and participate in activities. Regarding the use of space, the places that older persons go to the most comprise religious sites, public parks, bus stops and exercise facilities. The community facilities in the private sector that older persons frequent the most are grocery or convenience stores and the local fresh markets. Traveling within the community, the elderly travel mainly on foot by themselves. On the other hand, when traveling outside the community, the elderly travel most often by motorcycle and may require assistance on the road. In community facilities improvement for the elderly in rural areas so that they can benefit from public spaces, the primary focus must be placed on footpaths and walkways.This is because if footpaths and walkways are easily accessible and safe, they will help encourage older persons to want to be outside and more engaged in activities. The main concepts regarding improving the footpaths and walkways require that there be no obstructions on the roads and that the footpaths should be shaded and adequately illuminated for safety, with benches placed at intervals to provide rest stops. If the track is multi-leveled, ramps should be installed. Second in importance are improvements to the religious and governmental facilities so they can serve as community centers. The improvement suggest that there should be ramps, restrooms and parking for the elderly so they can easily access religious and government facilities and participate in activities there. This research could lead to an extension of the study to community facilities improvement for the elderly in urban areas with characteristics different from rural in terms of social, economic, lifestyle and physical characteristics.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2101
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2101
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanasarin_so.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.