Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19495
Title: การเประเมินเชิงเปรียบเทียบระหว่างการปฏิบัติการการขนส่งแบบเต็มคันชนิดปกติและชนิดการเดินรถต่อเนื่อง
Other Titles: A comparative evaluation between truckload regular and continuous move operations
Authors: ธัชนันท์ โล่ห์สถาพรพิพิธ
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manoj.L@Chula.ac.th
Kamonchanok.s@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งสินค้า -- การประเมิน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานเชิงเปรียบเทียบระหว่างการขนส่งสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ การขนส่งรูปแบบปกติและการขนส่งรูปแบบต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงข้อดีและข้อควรแก้ไขปรับปรุงเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการขนส่งต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าจ้างขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุกและพนักงานขับรถ โดยอาศัยข้อมูลจากผู้ขนส่งตัวอย่างจริงรายหนึ่ง การวิจัยได้ใช้แนวทางในการประเมินเพื่อเปรียบเทียบการขนส่งทั้งสองรูปแบบ ภายใต้สามมุมมองหลักได้แก่ (1)มุมมองด้านการเงิน ซึ่งเปรียบเทียบรายได้และต้นทุนของแต่ละรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกัน (2)มุมมองด้านลูกค้า ซึ่งเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าในบริการขนส่งภายใต้รูปแบบที่ต่างกัน โดยใช้ปัจจัยสำคัญที่พัฒนามาจากผลการสัมภาษณ์ลูกค้า จากนั้นจึงวิเคราะห์หาปัจจัยที่ลูกค้าให้ความสำคัญแต่ยังไม่ได้รับความพึงพอใจ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า 5 อันดับปัจจัยแรกที่ลูกค้าให้ความสำคัญแต่ยังไม่พึงพอใจนั้น ได้แก่ การจัดตารางเวลาการจัดส่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดส่ง อัตราค่าขนส่งถูกกว่าที่อื่น ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และความสามารถในการจัดส่งตรงเวลามาทำการเปรียบเทียบต่อไป และ (3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน เป็นการวิเคราะห์รายกิจกรรมการขนส่งของทั้งสองรูปแบบ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากการดำเนินงานขนส่งที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในมุมมองด้านการเงิน ผู้ว่าจ้างขนส่งและพนักงานขับรถได้ประโยชน์จากการขนส่งรูปแบบต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ประกอบการขนส่งกลับเสียประโยชน์เมื่อเทียบกับการขนส่งรูปแบบปกติ สำหรับมุมมองด้านลูกค้าพบว่าลูกค้าพึงพอใจกับรูปแบบการปกติมากกว่าเพราะการจัดตารางเส้นทางและเวลาการขนส่งของรูปแบบต่อเนื่อง รวมทั้งการขนส่งข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการและพนักงานขับรถยังมีอุปสรรค และจากการสำรวจในมุมมองด้านกระบวนการภายในพบว่า การขนส่งรูปแบบต่อเนื่องยังไม่มีความแตกต่างจากรูปแบบปกติ
Other Abstract: The objective of this thesis is to evaluate performance between truckload regular and continuous move operations in order to identify the issues occurred during the work processes and to provide recommendation for shippers, truck carriers, and drivers about pros and cons of the difference in transportation approaches. The study utilizes actual data of a transportation carrier. The study aims to evaluate the following three perspectives: (1) financial perspective, which provides a financial analysis of all participants under two operating strategies: (2) customer perspective, which provides a view on how the customers perceive their service difference; and (3) internal process perspective, which reflects internal operations with different transportation approaches. The results from the study indicate that shippers and drivers benefit financially, however, truck operators are at disadvantageous. The results of customer perspective study indicate that clients prefer the regular operation to the continuous move operation. Lastly, the results in internal process perspective show that the truckload continuous move operation has not been effective compared to the regular truckload operation because the number of delivery shipments and the percentage of deadhead do not significantly differ.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19495
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.431
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.431
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tachanun.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.