Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร พุ่มจันทร์-
dc.contributor.authorไกรวิทย์ ปุญโญกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialสระบุรี-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.date.accessioned2012-05-10T12:43:04Z-
dc.date.available2012-05-10T12:43:04Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553en
dc.description.abstractนำเสนอการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดของมวลหินเชิงความน่าจะเป็น วิธีวิเคราะห์ถูกพัฒนาจากการจำลองโครงสร้างชั้นหินคือ มุมเอียงเทและทิศทางของมุมเอียงเท รวมกับวิธีวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดเชิงกำหนดและจลนศาสตร์เข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์เป็นโอกาสของการพังทลาย (Probability of failure) ข้อมูลที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์ประกอบด้วย แผนที่แสดงโครงสร้างของชั้นหิน ซึ่งถูกจำลองมาจากการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางธรณีสถิติที่ชื่อว่า แบบจำลองเกาส์เชียน (Sequential Gaussian simulation) รูปร่างและขนาดของความลาด และคุณสมบัติเชิงกลของมวลหิน การวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดเชิงความน่าจะเป็นถูกนำมาวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดของเหมืองหินปูนเขาวง จ.สระบุรี ผลการศึกษาปรากฎว่า การวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดเชิงจลนศาสตร์และเชิงกำหนดบ่งบอกว่า พื้นที่ศึกษามีโอกาสเกิดการพังทลายในรูปแบบของแบบระนาบและแบบรูปลิ่ม ขณะที่การวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดเชิงความน่าจะเป็นบ่งบอกว่า พื้นที่เสี่ยงต่อการพังทลายในรูปแบบการพังทลายแบบระนาบ ปรากฎในบริเวณทางด้านเหนือของบ่อเหมือง โดยมีโอกาสของการเกิดสูงสุดที่ 22% การศึกษาในครั้งนี้จึงได้นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเสถียรภาพความลาด ในบริเวณที่อาจจะเกิดปัญหาในรูปของการลดความชันของผนังบ่อเหมือง และความสูงขั้นบันได กล่าวโดยสรุปการศึกษาในครั้งนี้ได้นำวิธีการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดในรูปของความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของสภาพความลาด และให้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการประเมินสถานภาพของการพังทลายของความลาดทั้งสามรูปแบบคือ การพังทลายแบบระนาบ การพังทลายแบบรูปลิ่ม และการพังทลายแบบคะมำ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำเหมือง เพื่อป้องกันปัญหาด้านเสถียรภาพขอบ่อเหมืองen
dc.description.abstractalternativeA probabilistic rock slope analysis is introduced in this study. The probabilistic rock slope analysis was developed by combining the structural model of dip angle and dip direction of rock mass, the deterministic slope analysis and kinematic slope analysis. The measure of safety is expressed in terms of the probability of failure. Input to the model consists of rock structure realization maps generated from Sequential Gaussian Simulation (SGS), the slope geometry and rock strength properties. The model was applied to the rock slope at Khaowong limestone quarry at Saraburi province. The results of kinematic and deterministic slope analysis indicate the potential of plane failure and toppling failure in the studied area. The probabilistic rock slope analysis indicates potential plane failure in the northern area of the pitwall with maximum probability of failure of 22%. Recommendations for rock slope stabilization were also made by reducing the slope angle and bench height. In conclusion, the proposed method provides a powerful tool for drawing a detailed and realistic picture of rock slope stability condition under 3 slope failure modes which are plane failure, wedge failure and toppling failure. This information will benefit the mine planning in relation to slope stability prevention program.-
dc.format.extent4052800 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความลาดเอียง (ปฐพีกลศาสตร์)-
dc.subjectการกร่อนของดิน-
dc.subjectเหมืองหินปูน -- ไทย -- สระบุรี-
dc.subjectSlopes (Soil mechanics)-
dc.subjectSoil erosion-
dc.subjectLimestone mines and mining -- Thailand -- Saraburi-
dc.titleการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดของมวลหินเชิงความน่าจะเป็น กรณีศึกษาเหมืองหินปูนเขาวง จังหวัดสระบุรีen
dc.title.alternativeProbabilistic rock slope stability analysis : a case study of Khaowong limestone quarry Saraburi provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมทรัพยากรธรณีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kraiwit_pu.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.