Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19815
Title: การเสนอรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษา : การศึกษาเฉพาะกรณีในจังหวัดตรัง
Other Titles: A proposed model for enhancing home-school relations in elementary schools : a case study in Trang province
Authors: กิจ เจือกโว้น
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: บ้านกับโรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา
ผู้ปกครอง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย1.เพื่อศึกษาสภาพความสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษาของจังหวัดตรัง2.เพื่อเสนอรูปแบบที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษา โดยอาศัยการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ และการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดตรัง จากนั้นผู้วิจัยได้นำสาระสำคัญของรูปแบบมาสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามซึ่งมีข้อกระทงทั้งสิ้น 115 ข้อกระทง ตัวอย่างประชากรของการวิจัยนี้มี 2 กลุ่มคือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 244 คน และบุคลากรในชุมชน จำนวน 236 คน รวมเป็น 480 คน ผู้วิจัยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของกลุ่มตัวอย่างประชากรมาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนที่สมบูรณ์ ผลการวิจัย 1.องค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษาประกอบด้วย หลักการและเหตุผลของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน วัตถุประสงค์วิธีดำเนินงาน ลักษณะของกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน การประสานงานกับบุคคลต่าง ๆ หน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ การจัดหาและจัดสรรงบประมาณใช้จ่ายในกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน การประเมินโครงการของการจัดกิจกรรมและการเสนอแนะวิธีการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษา 2.กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เห็นด้วยกับรูปแบบการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นว่า มีความเหมาะสม คลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ มีขั้นตอนแนวการดำเนินงานที่ดี และสามารถนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพิ่มเติมคือการนำรูปแบบของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษาไปใช้ในนั้น ควรปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมควรใช้อย่างประหยัดและไม่ควรเรี่ยไรจากผู้ปกครอง กล่าวคือ ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อเวลาเรียนของนักเรียน และควรเป็นระยะเวลาที่ผู้ปกครองว่างจากการประกอบอาชีพ ครูจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนและชุมชน ผู้วิจัยได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้มาปรับปรุงรูปแบบที่สร้างขึ้นเป็นรูปแบบส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนประถมศึกษาของจังหวัดตรัง
Other Abstract: The purposes of the research were 1.To study the relationships and the activities that enhance home-school relations in the elementary schools in Tang Province. 2. To propose the model that enhances home-school relations in elementary school. Procedure The researcher constructed the model for enhancing home-school relationships in the elementary schools by studying related documents and basic data obtained from the rating-scale questionnaire was constructed. There were 115 items in the questionnaire. These items were generated from the eminent concept derived from the constructed model. There were 2 groups of samples in this study, 244 school personnel and 236 layperson. Thus, there were 480 people altogether. The obtained data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The researcher, then adjusted the model by using the obtained data and suggestions to improve the previous constructed model. Findings 1.The model for enhancing home-school relations were composed of the principles and rationale for enhancing home-school relations in elementary school, objectives, procedure, type of activities, strategies for getting cooperation among organizations and concerned parties, budget management, project evaluations and the suggestions for improvement. 2.Both groups of samples agreed that the model was appropriate and valid. They showed positive attitude towards the model. In addition, they suggested that the model should take into account the immediate environment of each locality. The budget spending shouldn’t request chip-in funding from parents. Readiness for an activity-participating among parents and school personnel should be brought into consideration. Furthermore, they suggested that teachers should demonstrate good action towards home-school relations to public. The researcher considered all suggestions and improved the constructed model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19815
ISBN: 9745639893
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kit_Ch_front.pdf541.83 kBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_ch1.pdf539.7 kBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_ch3.pdf461.62 kBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_ch5.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Kit_Ch_back.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.