Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19830
Title: ความถนัดทั่วไปของนักเรียนมัธยมศึกษาที่พิการทางกาย
Other Titles: General aptitudes of secondary school physically handicapped students
Authors: กิตติศักดิ์ อุบล
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
เบญจา ชลธาร์นนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความสามารถ -- การทดสอบ
เด็กพิการ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถนัดทั่วไปของนักเรียนท่าบกพร่องทางร่างกายที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบความถนัดทั่วไป 9 ด้าน ของนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกาย 3 กลุ่ม และเปรียบเทียบกับความถนัดทั่วไปของนักเรียนปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบควมข้อมูล คือ แบบสอบความถนัดทั่วไปฉบับภาษาไทยของกรมวิชาการ ซึ่งใช้วัดความถนัดทั่วไป 9 ด้าน ได้แก่ เชาวน์ทั่วไป ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางเลขจำนวน ความสามารถในการมองภาพมิติ การรับรู้รูปฟอร์ม การรับรู้ทางงานเสมียน ความสัมพันธ์กันของการเคลื่อนไหว ความคล่องแคล่วในการใช้นิ้ว และความคล่องแคล่งในการใช้มือ กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาที่บกพร่องทางร่างกาย 283 คน เป็นนักเรียนร่างกายพิการ 43 คน หูตึง 94 คน และหูหนวก 146 คน พร้อมด้วยนักเรียนปกติ 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยศึกษาเปรียบเทียบกับปรกติวิสัของกลุ่มปรกติ และการทดสอบค่าที (t-test) ได้ข้อค้นพบดังนี้ 1.จากการศึกษาเปรียบเทียบความถนัดทั่วไปของนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายกับปรกติของกลุ่มปรกติ พบว่า นักเรียนที่บกพร่องทางร่างกาย (ร่างกายพิการ หูตึง และหูหนวก) มีความถนัดทั่วไปต่ำกว่าปรกติวิสัยของกลุ่มปรกติ เมื่อแยกศึกษาแต่ละด้านของความถนัดทั่วไป พบว่า ต่ำกว่าในด้านเชาวน์ทั่วไป ความสามารถทางภาษา และความสามารถทางเลขจำนวนแต่สูงกว่าในด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ ส่วนด้านอื่น ๆ ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาแต่ละกลุ่มของนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกาย พบว่า นักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายทั้ง 3 กลุ่ม (ร่างกายพิการ หูตึง และหูหนวก) มีความถนัดทั่วไปต่ำกว่า ปรกติวิสัยของกลุ่มปรกติ เมื่อแยกศึกษาแต่ละด้านของความถนัทั่วไปพบว่า นักเรียนร่างกายพิการมมีความถนัทั่วไป ต่ำกว่า ปรกติวิสัยของกลุ่มปรกติในด้านความสัมพัน์กันของการเคลื่อนไหว ความคล่องแคล่วในการใช้นิ้วและความคล่องแคล่วในการใช้มือ ส่วนด้านอื่นๆ ใกล้เคียงกัน นักเรียนหูตึงมีความถนัดทั่วไป ตำกว่าปรกติวิจัยของกลุ่มปรกติในด้านเชาวน์ทั่วไป ความสามารถทางภาษา และความสามารถทางเลขจำนวน แต่สูงกว่าในด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ ส่วนดานอื่น ๆ ใกล้เคียงกัน นักเรียนหูหนวกมีความถนัดทั่วไป ตำกว่าปรกติวิสัยของกลุ่มปรกติในด้านเชาว์นทั่วไป ความสามารถทางภาษา และความสามารถทางเลขจำนวนแต่สูงกว่าในด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ ส่วนด้านอื่น ๆ ใกล้เคียงกัน 2.จากการเปียบเทียบความถนัดทั่วไปของนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายกับของของนักเรียนปกติ พงว่า นักเรียนที่บกพร่องทางกาย (ร่างกายพิการ หูตึง และหูหนวก)มีความถนัดทั่วไปต่ำกว่าของนักเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อแยกศึกษาแต่ละด้านของความถนัดทั่วไป พบว่าต่ำกว่าเชาวน์ทั่วไป ความสามารถทางภาษา ความสามารถทางเลขจำนวน และการรับรู้ทางงานเสมียน แต่สูงกว่าในด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาแต่ละกลุ่มของนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกาย พบว่านักเรียนร่างกายพิการ และนักเรียนหูหนวกมีความถนัดทั่วไปตำกว่าของนักเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความถนัดทั่วไปของนักเรียนหูตึง กับของนักเรียนปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อแยกศึกษาแตะละด้านของความถนัดทั่วไป พบว่า นักเรียนร่างกายพิการมีความถนัดทั่วไปของนักเรียนปกติในด้านการรับรู้รูปฟอร์ม และความคล่องแคล่วในการใช้นิ้ง อย่างมีนันสำคัญทางสถิติส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนหูตึงมีความถนัดทั่วไปต่ำกว่าของนักเรยนปกติในด้านเชาวน์ทั่วไป ความสามารถทางภาษา และความสามารถทางเลขจำนวน แต่สูงกว่าในด้าน ความสามารถในการมองภาพมิติ การรับรู้รูปฟอร์ม ความคล่องแคล่วในการใช้นิ้ว และความคล่องแคล่วในการใช้มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนหูหนวกมีความถนัดทั่วไปสูงกว่า ของนักเรียนปกติในด้านความคล่องแคล่วในการใช้นิ้ว และความคล่องแคล่วในการใช้มือ ส่วนด้านอื่นๆ ต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The main purpose of this study was to study general aptitudes of secondary school physically handicapped students by means of comparisons with norm of normal students and with a group of normal students. The instrument used in the study was a Thai General Aptitude Test Battery (TGATB) which was to measure 9 aspects. Viz. General Intelligence, Verbal Ability, Numerical Ability, Special Ability, Form Perception, Clerical Perception, Motor Coordination, Finger Dexterity and Manual Dexterity. The samples used were 283 physically handicapped students, composing of 43 Crippled and Other Health Impaired (COHI) , 94 partially hearing and 146 deaf students, and 283 normal students from the same educational level. The data were analyzed by means of t-test. The analyses were aimed at making comparison of what were found form the handicapped students with a norm of normal students. The main findings were as follows : 1.Physically handicapped students’ general aptitudes were lower than a norm of the normal students in the aspects of General Intelligence, Verbal Ability and Numerical Ability. However, They had higher Manual Dexterity than the norm and had more as less the same abilities in the rest aspects as the norm of the normal students. In addition, when different groups of the physically handicapped students (COHI, partially hearing and deaf) were compared with a norm of normal students, it was found that: a)For the COHI students, their Motor Coordination, Finger Dexterity and Manual Dexterity were lower than those of the norm. Their abilities in the rest were more or less the same however. b)For the partially hearing students, their General Intelligence, Verbal Ability and Numerical Ability were lower than those of the norm, but their Finger Dexterity was higher. The abilities of the 2 groups in the rest were more or less the same. c)For the deaf students, their General Intelligence, Verbal Ability and Numerical Ability were lower than those of the norm, but their Finger Dexterity was higher. The abilities of the 2 groups in the rest were or less the same. 2.When compared with the normal students, the handicapped students’ general aptitudes were significantly lower in the aspects of General Intelligence, Verbal Ability, Numerical Ability and Clerical Perception, but higher in Manual Dexterity. Their abilities in the rest were insignificantly different. However, when different groups of the physically handicapped students were compared with the normal students, it was found that: a)For the COHI and deaf students, their general aptitudes were lower than those of the normal students significantly, but the partially hearing and normal students had each aptitudes insignificantly different b)The COHI students had significantly lower ability than the normal students in the aspects of form Perception and Finger Dexterity, but their abilities in the rest were insignificantly different. c)The Partially hearing students had significantly lower abilities than the normal students in the aspects of General Intelligence, Verbal Ability and Numerical Ability, but higher significantly in Special Ability, Form Perception, Finger Dexterity. Their abilities in the rest were significantly different. d)The deaf students had significantly higher abilities than the normal students in Finger Dexterity and Manual Dexterity, but lower significantly in the rest aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19830
ISBN: 9745649899
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittisak_Ub_front.pdf561.75 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_Ch1.pdf483.02 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_Ch2.pdf674.63 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_Ch3.pdf911.24 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_Ch4.pdf716.66 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_Ch5.pdf527.79 kBAdobe PDFView/Open
Kittisak_Ub_back.pdf390.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.