Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20169
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิสา วัชรสินธุ-
dc.contributor.authorณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-08T11:52:52Z-
dc.date.available2012-06-08T11:52:52Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20169-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองกับรูป แบบการอบรมเลี้ยงดูของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู และแบบประเมินความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า เด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย จำนวน 64 คน ร้อยละ 62.7 โดยเด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะมีความรู้สึก ภาคภูมิใจในตนเองแตกต่างกับเด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อย ปละละเลยและแบบใช้อำนาจควบคุม แต่ไม่แตกต่างจากเด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักตามใจ และพบว่าปัจจัยพยากรณ์ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองนั้นได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 26.9en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to evaluate the correlation of self-esteem and parenting styles of children with attention deficit/hyperactivity disorder attending child psychiatric outpatient unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital. 102 ADHD children completed self-report questionnaires, parenting style questionnaires and self-esteem assessment. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, one way ANOVA and multiple regression analysis. The result of this study revealed that 80.4% children with ADHD attending Child Psychiatric outpatient unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital have high and moderate-high level of self-esteem and 62.7% children are gotten democracy parenting styles by children with ADHD that gotten different parenting styles have significant different self-esteem in 0.05. Democracy parenting style ADHD children have different self-esteem from Rejection and Authoritarian parenting style but it is not different from ADHD children that receive Permissive parenting style. Self-esteem predicting factors are relationship between father and mother and parenting style that predict is 26.9%.en
dc.format.extent865609 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.770-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความภาคภูมิใจในตนเองในเด็กen
dc.subjectเด็กสมาธิสั้นen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeThe correlation between self-esteem and parenting styles of children with attention-deficit/hyperactivity disorder attending child psychiatric outpatient unit of King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAlisa.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.770-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattika_sr.pdf845.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.