Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20182
Title: ความสามารถด้านการสืบพันธุ์และอาหารของเต่าแก้มแดง Trachemys scripta elegans (Wied, 1839) ในบ่อเลี้ยง ณ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
Other Titles: Reproductive capability and diets of Red-Eared Slider Trachemys scripta elegans (Wied, 1839) in captivity at Pathumthani Province, Thailand
Authors: ชัยสุภา อินทรประพงศ์
Advisors: กำธร ธีรคุปต์
วรัญญา อรัญวาลัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kumthorn.T@Chula.ac.th
Varanya.A@Chula.ac.th
Subjects: เต่าแก้มแดง -- การสืบพันธุ์
เต่าแก้มแดง -- อาหาร
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เต่าแก้มแดง Trachemys scripta elegans เป็นเต่าพื้นเมืองในทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบันมีรายงานการรุกรานในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเรื่องความสามารถด้านการสืบพันธุ์และอาหารของเต่าแก้มแดงในประเทศไทย เพื่อวางแนวทางการจัดการผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อาจจะเกิดขึ้นจากเต่าแก้มแดงในอนาคต การทดลองในครั้งนี้ได้ศึกษาเต่าแก้มแดงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 12 คู่ ในที่เลี้ยงที่จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าเต่าแก้มแดงมีฤดูสืบพันธุ์ เริ่มตั้งแต่เกี้ยวพาราสีจนถึงช่วงวางไข่ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งต่างจากข้อมูลในถิ่นกำเนิดคือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ไข่ของเต่าแก้มแดงที่ฟักเองในหลุมดินธรรมชาติจะใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 97 วัน ซึ่งมากกว่าที่ฟักในวัสดุฟักที่ใช้เวลาเฉลี่ย 57 วัน และไข่ในหลุมดินฟักเป็นตัวเพียง 13.5% เมื่อเทียบกับการฟักในวัสดุฟักที่สูงถึง 92.1% การศึกษาด้านอาหารของเต่าแก้มแดงเพศผู้ เพศเมียและวัยอ่อน ชนิดละ 3 ตัว โดยเต่าแต่ละชนิดจะถูกทดสอบด้วยอาหารธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ พืชน้ำและสาหร่าย 29 ชนิด และสัตว์น้ำ 25 ชนิด พบว่าเต่าแก้มแดงเพศผู้สามารถกินพืชน้ำและสาหร่าย 14 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 16 ชนิด เต่าแก้มแดงเพศเมียสามารถกินพืชและสาหร่ายได้ 20 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 13 ชนิด และเต่าแก้มแดงวัยอ่อนสามารถกินพืชและสาหร่ายได้ 6 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 13 ชนิด เมื่อทำการทดสอบอาหารเปรียบเทียบกับเต่านา Malayemys macrocephala ซึ่งเป็นเต่าพื้นเมืองของไทยพบว่า จำนวนชนิดอาหารที่เต่าแก้มแดงสามารถกินได้นั้นหลากหลายกว่าและครอบคลุมอาหารทั้งหมดของเต่านา การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า เต่าแก้มแดงในพื้นที่ศึกษามีความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำกว่าในถิ่นกำเนิด แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถอยู่รอดและเพิ่มขนาดประชากรได้นอกจากนี้เต่าแก้มแดงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ และสามารถกินอาหารได้หลากชนิด จึงมีความเป็นไปได้ที่เต่าชนิดนี้จะสามารถอยู่รอดและหากินอาหารตามธรรมชาติในแหล่งน้ำของประเทศไทยและอาจเกิดการแข่งขันกับเต่าพื้นเมืองของไทยได้
Other Abstract: The red-eared sliders, Trachemys scripta elegans (Wied, 1839) is a native turtle of the American Continent. At present, it establishes in many parts of the world and is considered an invasive species in many countries including Thailand. Therefore, it is necessary to study its reproductive capability and diets for proper management in the future. For the reproductive capability study, 12 pairs of T. s. elegans were observed in captivity at Rangsit agricultural area, Pathum Thani Province, Central Thailand. Results showed that T. s. elegans had the reproductive period from courtship to egg laying during January to August which was different from its native area where the reproductive period was from May to July. In addition, hatching time and hatching rate of T. s. elegans eggs placed in natural condition were 97 days and 13.5 % whereas those in incubation material were 57 days and 92.5 %. For the experiment on diets, T. s. elegans were divided into three groups; adult males, adult females and juveniles, with three turtles in each group. They were tested with natural food, 29 aquatic plant/algae and 25 aquatic animals collected in the study area. It was found that male and female turtles consumed 14 and 20 aquatic plants/algae and 16 and 13 aquatic animals, respectively, while hatchlings consumed only 6 aquatic plants/algae and 13 aquatic animals. Comparing with the snail-eating turtles Malayemys macrocephala (Gray, 1895) which is a native turtle of Thailand, T. s. elegans can consume more variety of food which covers all items of food of M. macrocephala. Results on reproductive capability and diets suggest that T. scripta elegans establishment in natural condition of Thailand is possible and it may compete with native turtles of Thailand
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20182
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1839
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1839
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaisupa_in.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.