Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20748
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิรมล กุลศรีสมบัติ | - |
dc.contributor.author | ศิระษา สัมฤทธิ์ผลเกิด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคกลาง) | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-11T14:10:43Z | - |
dc.date.available | 2012-07-11T14:10:43Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20748 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลกระทบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่มีต่อชุมชนริมน้ำบริเวณปากคลองชักพระ กรุงเทพมหานคร โดยค้นหาว่าการสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อลักษณะทางกายภาพและสังคมของชุมชนหรือไม่ อย่างไร โดยมีสมมติฐานคือ แนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมทำให้ระดับการเข้าถึงของชุมชนจากทางน้ำลดน้อยลง และการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางกายภาพส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย (1) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพประกอบด้วยมวลอาคาร พื้นที่ว่างและองค์ประกอบที่สำคัญของชุมชนริมน้ำในระดับชุมชนและระดับอาคาร โดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และการสำรวจกายภาพตัวเรือนพื้นที่ริมน้ำ (ตามลำดับ) และ (2) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม โดยการสำรวจแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ก่อนและหลังการสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของลักษณะทางกายภาพและสังคม เพื่อหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้าน โดยการตรวจสอบองค์ประกอบทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และวัดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพนั้น จากผลการศึกษาพบว่า แนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนริมน้ำบริเวณปากคลองชักพระได้รับประโยชน์คือ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและลดปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งได้จริง อย่างไรก็ตามแนวเขื่อนได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและสังคมของชุมชน ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงกายภาพในระดับชุมชน พบว่าพื้นที่บริเวณตลิ่งริมน้ำถูกแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมตัดผ่าน ทำให้ความสัมพันธ์ของคนกับน้ำถูกปิดกั้น การเข้าถึงจากทางน้ำของชุมชนลดน้อยลง ส่งผลให้ต้องใช้เส้นทางคมนาคมทางบกเป็นหลัก มวลอาคารในพื้นที่ริมน้ำหายไป (ศาลาท่าน้ำ) ส่งผลให้พื้นที่สาธารณะริมน้ำของกลุ่มบ้านลดน้อยลง ทำให้พื้นที่การใช้งานในการทำกิจกรรมร่วมกันในด้านต่างๆ บริเวณริมน้ำของชุมชนลดลงตามไปด้วย ทางสัญจรด้านในหรือทางในมีบทบาทสำคัญ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของที่ว่างระหว่างอาคารและบริเวณลานศาสนสถาน จึงเป็นพื้นที่สาธารณะในการรวมกลุ่มของชุมชนในปัจจุบัน (2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในระดับตัวเรือน พบว่าองค์ประกอบที่ลดจำนวนลงมากที่สุด คือ ช่องเปิดสู่น้ำ (อู่จอดเรือ) ที่ตั้งตัวอาคารที่มีความสัมพันธ์กับน้ำ ศาลาท่าน้ำ การวางแนวอาคาร ชานบ้านริมน้ำ และบันไดขึ้น-ลงสู่น้ำ (ตามลำดับ) ส่วนองค์ประกอบทางกายภาพที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ รั้วบ้าน และ (3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางกายภาพที่ได้กล่าวมา ได้แก่ ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ ด้านการปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ด้านกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณี ด้านการเดินทาง ด้านการอุปโภค ด้านการประกอบอาชีพและด้านความปลอดภัย โดยพบว่าในชุมชนริมน้ำบ้านที่อยู่ติดเขื่อน จะได้รับผลกระทบมากกว่าบ้านที่ไม่ติดเขื่อนและพบว่าการเปลี่ยนแปลงกายภาพระดับตัวเรือน ส่งผลกระทบสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ตามมาดังกล่าว จากผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานภาครัฐควรมีมาตรการชดเชยสำหรับกายภาพระดับตัวเรือนที่เสียหายหรือสูญหายไป เช่น การก่อสร้างบันไดขึ้น-ลงเพิ่มเติมในส่วนที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้การติดต่อทางน้ำเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบตัวเรือนที่สำคัญในการทำกิจกรรมด้านต่างๆ ของชุมชนริมน้ำ รวมทั้งควรมีการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของหน่วยงานภาครัฐ ในการก่อสร้างหรือใช้งานในแต่ละพื้นที่ เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากการศึกษาและนำผลที่ได้ ไปใช้ในการวางแผนการสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมให้มีความเหมาะสม และประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | To study the impact of the flood prevention dike with the waterfront community of PAK Khlong Chak Phra area, Bangkok. We want to find out that constructing the flood prevention dike affect whether the physical and social community. There are assumtions that flood prevention dike reduce the level of community access to the water and changes in physical factors that affect the waterfront community’s life. There are research methods (1) studying building mass and space, and the key elements of the waterfront community in the community level and house level by using Geographic Information Systems (GIS) and using Physical Survey in house level of waterfront area and (2) studying social changes with questionnaire and in-depth interviews. Then, the findings are analyzed and related to compare changes before and after constructing the flood prevention dike in the physical and social side. We find the relationship of changing between the two sides with prove changes of physical factors and measuring the social impacts caused by that physical changes. The results are showed that the flood prevention dike affects the people who live in the waterfront community of Pak Khlong Chak Phra get benefits. Flood prevention dikes can alleviate flooding and can reduce the bank erosion. However, the flood prevention dike impacts changing of physical and social changes of the community. (1) Physical changes in the community are found that waterfront area is cut through with the flood prevention dike. The relationships between human and water are blocked. Access to water from the community are decrease that resulting to the need for land transport as the major routes. The lost of buildings mass(pier) in the waterfront area reduces the public areas of house’s groups. The area of activities in the waterfront community are decrease accordingly. The routes in community are important role as the cause of grouping the inter-buildings space and religion building’s area that is the public space for grouping community at the present time. (2) Physical changes in the house level occurred by most to minimum : the opening channel to water(boat parking), the location of the building in water, pier, building orientations, waterfront area and the up-down stair into the water. The physical factor that is increase is the fence. And (3) social changes are due to the changes in the physical elements that mentioned above. Social changes are the rest, the interaction of the community, cultural activities, the travel, the consumption, the career and safety. It is found that the houses that is close to the dike are affected more than the house that is not. Also, it is found that changing of physical elements in the house level is important result that affects social changes consequently. The findings lead to suggestions that the government agency should consider serverance pay for the damage or lost of the physical elements such as the construction of up-down stair to the water in the need area for serving residents that are important to the various activities of waterfront community. Also, the government agency should study the components of flood prevention dike of the state in construction’s purpose or using’s purpose in each area to compare the result of the studies and using for planning the flood prevention dike that is appropriate and applicable to other areas. | en |
dc.format.extent | 8085585 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การป้องกันน้ำท่วม | - |
dc.subject | ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | - |
dc.subject | ชุมชนปากคลองชักพระ (กรุงเทพฯ) | - |
dc.subject | Flood control | - |
dc.subject | Waterfronts -- Thailand -- Bangkok | - |
dc.subject | Pak Khlong Chak Phra Community (Bangkok) | - |
dc.title | ผลกระทบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่มีต่อชุมชนริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนปากคลองชักพระ กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Impacts of flood prevention dike on water-based communities : a case study of Pak Khlong Chak Phra Community, Bangkok | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาคและเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Niramol.K@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirasa_su.pdf | 7.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.