Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20839
Title: ประสิทธิผลของการวางสินค้าในละครซิทคอมต่อการจดจำ ความชื่นชอบและความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้ชม
Other Titles: The effect of product placement in situation comedy toward audiences' recollection, satisfaction and intention to buy
Authors: จิตติมา บุญเรือง
Advisors: สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Suthiluck.V@Chula.ac.th
Subjects: โฆษณาแฝง
การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
Product placement in mass media
Marketing
Consumer behavior
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการจดจำสินค้าที่วางในละครซิทคอมของผู้บริโภค ศึกษาความชื่นชอบของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบการวางสินค้าและสินค้าที่วางในละครซิทคอม และศึกษาความตั้งใจซื้อสินค้าที่วางในละครซิทคอม ใช้ระเบียบวิธีวิชัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร และรับชมละครซิทคอมอย่างน้อย 1 เรื่อง จากทั้งหมด 4 เรื่อง คือ บ้านนี้ที่บางรัก นัดกับนัด เป็นต่อ และเนื้อคู่อยากรู้ว่าใครที่ออกอากาศในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2553 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 25-35 ปี ระดับการศึกษาชั้นปริญญาตรี ทำงานรับราชการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาทและมีสถานภาพโสด กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับชมละครซิทคอมจากการชื่นชอบละครตลกเบาสมอง ส่วนใหญ่รับชมละครเรื่องเป็นต่อ รับชม 4 ครั้งต่อเดือน และรับชมมาแล้วกว่า 3 ปี เพราะชื่นชอบเนื้อเรื่องของละครซิทคอม มีลักษณะในการเปิดรับชมแบบตั้งใจชมบ้างไม่ตั้งใจบ้าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกิดการรับรู้ต่อการวางสินค้าในละครซิทคอมโดยการสังเกตเห็นรูปแบบการวางสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก เกิดการรับรู้จากการสังเกตเห็นสินค้าที่ปรากฏในละครซิทคอมและสังเกตเห็นภาพตัวละครทั่วไปหยิบ จับ ถือสินค้าอย่างชัดเจน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้และจดจำรูปแบบการวางสินค้าในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความชื่นชอบรูปแบบการวางสินค้าในละครซิทคอมและความชื่นชอบสินค้าที่วางในละครซิทคอมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบรูปแบบการนำเสนอภาพสินค้าและตราสินค้าที่ฉากหลังของละครซิทคอมมากที่สุด ส่วนความชื่นชอบสินค้าที่วางในละครซิทคอมพบว่ากลุ่มตัวอย่างชื่นชอบเมื่อเห็นสินค้าอยู่ในละครซิทคอมเพราะจะสามารถจดจำสินค้าและตราสินค้าได้มากที่สุด ส่วนความตั้งใจซื้อสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่รับรู้ตราสินค้าจากละครซิทคอมมีความตั้งใจซื้อตราสินค้าดังกล่าวต่อไป
Other Abstract: The objective of this research aimed to study the perception and recollection of the audiences toward the products which are placed in the situation comedy, the satisfaction of the audiences toward the type of product placement and products in the situation comedy and the intention to buy the products in situation comedy. The sample population consisted of 400 viewers domiciled in Bangkok metropolis who watched at least one from four situation comedies: BanneeteeBanrak, NutkubNut, Pentor and Neukooyarkruwakrai which broadcasted in 15th November to 15th December 2010. The techniques of descriptive statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. F-test, Pearson correlation, chi-square and one-way analysis of variance (ANOVA) were also used for testing purposes. The results show that the majority of subjects of this investigation were female who were between the ages of twenty-five to thirty-five and who were unmarried and graduated a bachelor’s degree and were governors whose monthly income was more than 25,000 baht. Viewers of the advertising placement exhibited differences in their exposure behaviors in regard to the situation comedy. Most of them had the behavior of viewing this type of drama in a favorable manner. They enjoyed watching for 4 times a month. Most of them viewed the drama for more than 3 years with the reason preferring the story of this type of drama. The characteristics of viewing was sometimes attentive, other times not. Most of the viewers had the perception of products from the placement of the products as set and prop. They had the perception from advertising due to seeing the product and symbols and seeing the general performing touching, holding and carrying the products clearly. Most of the viewers had the perception and recollection toward the placement and products in medium average. They preferred seeing products and symbols clearly in the background or noticeable setting. The intention to buy product in situation comedy is in medium average. Most of the viewers had the perception of the products from the drama and had strong intention to buy the products.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20839
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.654
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.654
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittima_bo.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.