Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20851
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธ : การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
Other Titles: Factors affecting the effectiveness of the Buddhist school : quantitative and qualitative analyses
Authors: พัชรพร เทอดธรรมไพศาล
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.b@chula.ac.th
Subjects: พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
พุทธศาสนากับการศึกษา
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธตามภูมิภาคและขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธ และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธที่มีประสิทธิผลต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 314 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม และการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโปรแกรมสิสเรล 2) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกรณีศึกษา 2 โรงเรียน โดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ในการวิจัยมีโมเดลแข่งขัน 2 แบบ ซึ่งผลการเปรียบเทียบพบว่าโมเดล ข มีความสอดคล้องมากกว่าโมเดล ก จึงสรุปผลการวิจัยตามโมเดล ข ดังนี้ 1. ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ประสิทธิผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 และประสิทธิผลด้านผลกระทบที่มีต่อบ้าน วัดและโรงเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธระหว่างภูมิภาคและขนาดโรงเรียน พบว่า ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธตามภูมิภาคและขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ X²=19.478, df=41, p=0.998, GFI=0.991, AGFI=0.977 และ RMR=0.00426 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธ ได้ร้อยละ 85 3. ผลการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิถีพุทธ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้ายกายภาพของสถานศึกษา ประกอบด้วย สภาพแวดล้อม ความเพียงพอของสื่อ/วัสดุ 2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ระบบการบริหารงาน การนิเทศติดตาม วัฒนธรรมองค์การ 3) ปัจจัยด้านบุคลากร ประกอบด้วย ความรู้ความสามารถในการสอนและจัดกิจกรรม ขวัญและแรงจูงใจ ขวัญและแรงใจของบุคลากรความสัมพันธ์ระหว่างบุคลกร 4) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ความร่วมมือสนับสนุนของชุมชน 4. แนวทางการพัฒนาของโรงเรียนวิถีพุทธที่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับสูง มีการพัฒนาในทุกด้านอย่างชัดเจน ผู้บริหารให้การสนับสนุน และทุกฝ่ายให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ แต่โรงเรียนวิถีพุทธที่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับต่ำ พบว่ามีข้อจำกัดบางประการ โครงการไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และบุคลากรไม่มีส่วนร่วมทุกคน ด้านที่ยังไม่มีการพัฒนา ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ และขวัญและแรงจูงใจของบุคลากร
Other Abstract: The purposes of this research were to study and to compare the effectiveness of the Buddhist school among schools with different sizes and regions, to study factors affecting the effectiveness of the Buddhist school and to present the effectiveness of the Buddhist school development guideline. The participants were 314 Buddhist schools in Thailand and perimeter using 2-stage random sampling. Data collection was 2 stages, the first stage was quantitative data collected by using questionnaires. Data analyses were basic statistics, MANOVA and path analysis by LISREL program. The second stage was qualitative data from two case study data collected by related documents, observations and interviews. Data analysis was content analysis. The research had two competitive models, Model B was fitter than Model A. The research results were summarized from model B as follows: 1. The effectiveness of the Buddhist schools was in the high level. The effectiveness of students’ characteristic under the Principle of development 4 items and impact to community-family, temples and schools were in the high level. The effectiveness of the Buddhist school among schools with different sizes and regions were not different significantly at .01 level. 2. The model of the effectiveness Buddhist school was fit to the empirical data with X²=19.478, df=41, p=0.998, GFI=0.991, AGFI-0.977 and RMR=0.00426. The model could explain the variance in the effectiveness of the Buddhist school about 85 percent respectively. 3. The synthesis of quantitative and qualitative data were as follows: Factors affecting the effectiveness of the Buddhist school were 1) physical factor of the schools composed of environment, the sufficiency of equipments. 2) administration factor composed of administrator’s leadership, system of administration, supervision, organizational culture. 3) personnel factor composed of knowledge and ability about teaching and activity provision, personnel’s morale and motivation, personnel relationship. 4) external factor composed of coordination and support from community. 4. The development guideline of the high effectiveness level of the Buddhist school were distinctly, the administrator supported and all departments had full participation. On the other hand, the low effectiveness level of the Buddhist school had some limitations, the administrator didn’t support each project and all personnel weren’t participation. The factors which no development were administrator’s leadership, organizational culture and personnel’s morale and motivation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20851
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1045
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharaporn_te.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.