Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20991
Title: การศึกษาการบริหารงานบุคคลด้านสวัสดิการพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน
Other Titles: A study on personnel management with respect to employees' benefits in Bangchan Industrial Estate
Authors: ปรีชา นภาพฤกษ์ชาติ
Advisors: สมบูรณ์ ศรีสุพรรณดิฐ
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
การบริหารงานบุคคล
สวัสดิการลูกจ้าง
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน การสรรหา และเลือกสรรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความพฤติดีเข้ามาทำงานนั้น มิได้เป็นหลักประกันที่แน่นอนว่า เขาจะอุทิศความรู้ ความสามารถ ทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การเสมอไป องค์การจะต้องมีมาตรการอื่นช่วยเสริมสร้างด้วย เช่น การให้ประโยชน์เกื้อกูล การเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่นับว่ามีความสำคัญเป็นอันมาก ได้แก่ การจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการเสริมสร้าง บำรุงขวัญที่ฝ่ายบริหารจะละเลยเสียมิได้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้คือ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลในด้านสวัสดิการของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เพื่อเสนอแนะแนวทางที่จะปรับปรุงระบบงานด้านสวัสดิการให้รัดกุมยิ่งขึ้น และเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง ลดจำนวนของเสียหายให้ลดลง ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลทั้งสองฝ่าย คือ ทางฝ่ายบริหารใช้วิธีแจกแบบสอบถามควบคู่กับการสัมภาษณ์ และทางฝ่ายคนงานก็ใช้วิธีเดียวกัน คือการแจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นการสัมภาษณ์โรงงานที่ให้ความร่วมมือ 45 โรงงาน จากโรงงานทั้งหมด 50 โรงงาน และการสุ่มแจกแบบสอบถามให้แก่ฝ่ายคนงานในอัตราร้อยละ 14 ของจำนวนคนงานทั้งหมด จากการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้จากทั้งสองฝ่าย ให้คำตอบใกล้เคียงกัน ผู้บริหารในปัจจุบันได้เห็นความสำคัญของสวัสดิการที่ให้แก่คนงานในโรงงาน และตัวคนงานเองก็มีความพอใจในสวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้างหรือเจ้าของโรงงาน และมีจำนวนคนงานถึงร้อยละ 87.91 ของคนงานทั้งหมดที่ยอมรับว่า จากผลของความพอใจในสวัสดิการที่ได้รับทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีและจำนวนของเสียลดน้อยลงไป
Other Abstract: The recruitment and selection of individuals with knowledge, abilities and good behavior into the organization do not ensure that such individuals will fully devote themselves for the maximum benefit to the organization. Organizations need to create supportive measures such as fringe benefits, promotion, salary administration, etc. One means that is very important and must not be ignored is the fringe benefit programs in order to maintain and improve the morale of their personnel. The purpose of this dissertation .is to study the effects of fringe benefits in personnel management in Bangchan Industrial Estate in order to find suitable ways to improve this aspect of personnel management and increase worker's productivity and reduce production loss. The researcher gathered information by questionnaires and by interview from two parties: the management and the personnel of 45 out of 50 industrial organizations in the Estate and by sending the questionaires to about 14% of total personnel of those organizations. Data gathered from interview and questionnaires obtained from both parties are very similar; they showed that the management today recognized the importance of fringe benefits programs for their personnel. On the otherhand, the personnel are satisfied with the fringe benefits received from the employers or the owners of organizations. 87.91% of the employees stated that they were satisfied with the fringe benefits programs and said this program helped raise their productivity and reduce the production loss.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20991
ISBN: 9745661996
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pricha_Na_front.pdf307.83 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_Na_ch1.pdf248.31 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_Na_ch2.pdf441.9 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_Na_ch3.pdf598.46 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_Na_ch4.pdf290.8 kBAdobe PDFView/Open
Pricha_Na_back.pdf793.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.