Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21037
Title: ความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายอันเกิดจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย
Other Titles: Civil liability on nuclear damage in Thailand
Authors: วารีรัตน์ ธาราบุญรัตน์
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
นารี ตัณฑเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chayanti.G@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความรับผิดทางแพ่ง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ความรับผิดสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์
ละเมิด
พลังงานนิวเคลียร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลักษณะความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หรือความเสียหายทางนิวเคลียร์ (Nuclear damage) มีความแตกต่างจากความเสียหายที่เกิดจากการใช้สารกัมมันตรังสี สารเคมีหรือวัตถุอันตรายในกิจการประเภทอื่น ดังนั้น การนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบความรับผิดชอบทางละเมิดของไทยมาปรับใช้ อาทิประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด หรือบทบัญญัติความรับผิดชอบทางแพ่งตามร่างพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ส่งผลให้ผู้เสียหายทางนิวเคลียร์มีภาระอย่างมากในการพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้กระทำละเมิด และความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวคิดของหลักความรับผิดชอบทางนิวเคลียร์ (Nuclear liability principles) ที่ปรากฏในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์ พ.ศ. 2506 (The Vienna Convention on Civil Liability for Nuclear Damage 1963) และกฎหมายของญี่ปุ่นคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์ พ.ศ. 2504 (Law on Compensation for Nuclear Damage 1961) ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict liability) หรือรับผิดโดยสมบูรณ์ (Absolute liability) ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องรับผิดแต่ผู้เดียว (Exclusive liability) และห้ามโอนความรับผิดของตน (No channeling) ไปยังผู้เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์รายอื่น อาทิ บริษัทที่ปรึกษา ผู้เลือกสถานที่ตั้ง ผู้ออกแบบ ผู้จัดหาวัสดุทางนิวเคลียร์ ผู้ก่อสร้าง หรือผู้ขนส่งทางนิวเคลียร์ อันจะทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องไปฟ้องบุคคลดังกล่าวทั้งหมด ส่งผลให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม สำหรับผู้ประกอบการก็สามารถไล่เบี้ยจากผู้ทำความเสียหายได้ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการรับผิดอย่างจำกัด (Limitation of liability in amount) ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องจัดหาประกันภัยครอบคลุมความรับผิดทางนิวเคลียร์ (Congruence of liability and coverage) ให้ครบถ้วนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายทั้งหมด จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบความรับผิดทางละเมิดของไทย มีแนวคิดที่แตกต่างจากหลักความรับผิดทางนิวเคลียร์ ทั้งยังไม่เหมาะสมที่จะปรับใช้กับกรณีความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฉะนั้น เพื่อให้ปรับใช้กฎหมายเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ประเทศไทยควรบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางนิวเคลียร์ หรือบัญญัติหมวดความรับผิดทางนิวเคลียร์เพิ่มเติม ในร่างพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยนำแนวคิดในอนุสัญญาและกฎหมายของญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย เพื่อให้สามารถเยียวยาผู้เสียหายทางนิวเคลียร์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพความเสียหาย
Other Abstract: Since the damage of nuclear power plant incident or nuclear damage is different from the damage which results from radiation sources, chemicals or hazardous materials in the other businesses. According to the existing legislations relating to civil liability for tort Thai Civil and Commercial Code and Draft Atomic Law, the burden of proof to the willful or negligence of the operator and causation of damage will be with the injured person. ln this thesis, the author has studied the nuclear liability principles recognized in the Vienna Convention on Civil Liability for Nuclear Damage'1963 and the Japanese Law on Compensation for Nuclear Damage 1961 which require the operator must have strict liability or absolute liability. Meanwhile, the operator is exclusively liable for nuclear damage and cannot channel this liability to any person who involve in, consult, site, design, supply, construct and transport. The claimants as injured person are not required to prove negligence or any other type of fault on the part of the operator. Consequently, the victims will be compensated efficiently and impartially. The operator has a right of recourse against those who has acted or omitted to act with intent. The principles of limitation of liability in amount for the nuclear liability cause the operators to insure the legal liability to cover the nuclear damage as required by the law. It is found that the concept of Thai legislations relating to the system of civil liability in Tort differs from the nuclear liability principles and it is not appropriate to be applied to the damage caused by nuclear accident. The application of nuclear power in this country can take place only if the legislation relating to nuclear liability as required by the Vienna Convention on Civil Liability for Nuclear Damage '1963 is recognized, therefore, the concept of nuclear liability in the Japanese Law on Compensation for Nuclear Damage '1g61 is proposed by this author.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21037
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.608
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.608
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wareerat_ta.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.